โรคเกาต์ผู้สูงอายุ

โรคเกาต์ในผู้สูงอายุ ต้องรู้อะไรบ้าง ถ้าไม่อยากเป็น

โรคเกาต์ในผูัสูงอายุ ควรต้องรู้

โรคเกาต์ในผู้สูงอายุ เกิดจากการกินโปรตีนบางชนิดมากเกินไป ซึ่งโปรตีนดังกล่าวจะย่อยสลายเป็นกรดยูริคไปตกตะกอนในข้อ ทำให้ข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆ ข้ออักเสบเฉียบพลันการเกิดโรคเก๊าท์ผู้ป่วยมักมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยเฉลี่ยมากกว่า 20 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าระดับกรดยูริกยิ่งสูง อุบัติการณ์การเกิดโรคจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เกิดอาการได้เร็วยิ่งขึ้น ในเพศชายพบโรคนี้ได้บ่อยกว่าเพศหญิงประมาณ 10 เท่า แต่วัยหลังหมดประจำเดือน เพศหญิงจะพบโรคสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเพศชาย

โรคเกาต์ มีอาการอย่างไร

การอักเสบ ของข้อครั้งแรกมักพบในเพศชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ย 40-60 ปี แต่ในเพศหญิงมักพบหลังวัยหมดประจำเดือนแล้ว ข้ออักเสบในระยะแรกมักเป็นเพียง 1-2 ข้อ จะมีการอักเสบรุนแรงเป็นเฉียบพลัน จากระยะเริ่มปวดจนอักเสบเต็มที่ภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนมากจะเกิดขึ้นทีละ 1 ข้อ ข้อที่พบบ่อย ได้แก่ โคนนิ้วโป้งเท้า ข้อเท้า ข้อกลางเท้า ข้อเข่า ข้อนิ้วมือ ข้อกลางมือ ข้อมือ ข้อศอก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง จำนวนข้อที่อักเสบจะเพิ่มขึ้น เริ่มพบที่ข้อมือ ข้อนิ้วมือ และข้อศอก การอักเสบรุนแรงขึ้น เป็นถี่ขึ้นและนานขึ้น จนกลายเป็นการอักเสบเรื้อรังไม่มีช่วงหายสนิท

โรคเกาต์ในผู้สูงอายุ

ระยะแรกข้ออักเสบมักเป็นไม่นาน 2-5 วัน บางรายมีไข้ได้ ในผู้สูงอายุบางครั้งอาจมีข้ออักเสบหลายข้อพร้อมกันโดยเฉพาะเป็นที่ข้อนิ้วมือ 2 ข้างตั้งแต่ระยะแรกของโรคซึ่งอาจได้ประวัติได้รับยาขับปัสสาวะร่วมด้วย หลังจากข้ออักเสบหายแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเกิดข้ออักเสบซ้ำภายใน 6 เดือนถึง 2 ปี ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง จำนวนข้อที่อักเสบจะเพิ่มขึ้น เริ่มพบที่ข้อมือ ข้อนิ้วมือ และข้อศอก การอักเสบรุนแรงขึ้น เป็นถี่ขึ้นและนานขึ้น จนกลายเป็นการอักเสบเรื้อรังไม่มีช่วงหายสนิท

โรคเกาต์ในผู้สูงอายุ

ระยะนี้มักพบตุ่มโทฟัส (tophus) ใต้ผิวหนัง ตามเนื้อเยื่อต่างๆรอบข้อ ระยะเวลาตั้งแต่ข้ออักเสบครั้งแรกจนถึงระยะนี้ใช้เวลาเฉลี่ย 11.6 ปี แต่ถ้าเริ่มมีข้ออักเสบเป็นครั้งแรกในวัยสูงอายุ ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ข้ออักเสบครั้งแรกจนถึงระยะที่เกิดตุ่มโทฟัสจะสั้นลง คือมีแนวโน้มเกิดตุ่มโทฟัสเร็วและมักพบตามนิ้วมือแทนที่จะพบบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อศอก หรือข้อเข่าก่อน

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดข้ออักเสบหรือทำให้ข้ออักเสบหายช้าได้แก่อะไรบ้าง

สำหรับปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดข้ออักเสบ ได้แก่ การได้รับยาบางชนิดเช่นยาลดกรดยูริก ยาขับปัสสาวะ หรือยาแอสไพริน เป็นต้น ดังนั้นไม่ควรเริ่มยาหรือปรับเปลี่ยนยาดังกล่าวขณะที่มีข้ออักเสบ เพราะจะทำให้มีอาการมากขึ้นหรือหายช้า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นได้แก่ การบาดเจ็บที่ข้อ การบีบนวดข้อ การดื่มแอลกอฮอล์ การผ่าตัด การเสียเลือด การเสียน้ำ และการติดเชื้อ เป็นต้น

 การดูแลรักษาโรคนี้มีอย่างไรบ้าง

การรักษาในระยะที่มีการอักเสบของข้อ ควรพักการใช้งานของข้อนั้น หลีกเลี่ยงการบีบนวดข้อ การประคบข้อ และเริ่มรักษาโดยเร็วโดยใช้ยาลดการอักเสบของข้อ ปัจจุบันที่นิยมใช้มียาโคลชิซิน (colchicine) และยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) ยาโคลชิซิน ขนาดยาที่ใช้ 1 เม็ด (0.6 มิลลิกรัม ) รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงในวันแรก และลดเหลือวันละ 2 เม็ดในวันต่อมา ( ทั้งนี้ขึ้นกับการทำงานของไต สำหรับผู้สูงอายุอาจต้องลดขนาดยาลงโดยเฉพาะในวันแรก ) ให้นาน 3-7 วันหรือจนกว่าการอักเสบของข้อจะหายดี ผลข้างเคียงคือท้องเดินหรือคลื่นไส้อาเจียน ถ้ามีอาการดังกล่าวให้หยุดยา

โรคเกาต์ในผู้สูงอายุ

สำหรับยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) สามารถให้ได้เช่นกัน ควรเลือกยาชนิดที่ค่าครึ่งชีวิตสั้น ออกฤทธิ์เร็ว จะให้ นาน 3-7 วัน หรือจนกว่าข้อที่อักเสบจะหายดี ข้อห้ามในการใช้ยาต้านการอักเสบคือผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร การทำงานของไตบกพร่อง หรือมีโรคตับเป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องใช้จะต้องประเมินปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ไม่ควรให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับยูริกในระยะนี้เช่นผู้ป่วยที่ทานยาลดกรดยูริกในเลือดอยู่ไม่ควรให้หยุดยาหรือปรับเปลี่ยนขนาดยา หรือยังไม่ได้รับยาลดกรดยูริกมาก่อนแพทย์ไม่ควรเริ่มยาลดกรดยูริกในระยะนี้

อาหารที่ควรกิน

ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเก๊าท์ สามารถกินอาหารที่มี สารพิวรีนต่ำได้ไม่จำกัด ได้แก่ นม ไข่ ธัญพืช     ต่าง ๆ ผักสดต่าง ๆ ผลไม้ อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง กินได้น้อย (หากกินรวมกันต้องไม่เกิน 100 กรัมต่อวัน ) ได้แก่ เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัวที่ไม่ติดมัน ปลากระพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ข้าวโอ๊ต พืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วลันเตา สะตอ ดอกกะหล่ำ ผักโขม

อาหารที่ไม่ควรกิน

ไม่ใช่แค่ไก่อย่างเดียว ที่ไม่ควร แต่คนเป็นเกาต์ก็ไม่ควรกินอาหารเหล่านี้

  • เนื้อสัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ เครื่องในสัตว์ต่างๆ หัวใจ ตับอ่อน ไต ปลาดุก ปลาอินทรีย์ ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ไข่ปลา กุ้ง หอย กะปิ
  • ผักที่มีพิวรีนสูง เช่น เห็ด กระถิน ชะอม ขี้เหล็ก หน่อไม้
  • ถั่วต่างๆ เช่น ถั่วแดง ถั่วแระ ถัวเขียว ถั่วเหลือง
  • เบียร์ ขนมปังผสมยีสต์ น้ำต้มกระดูก

คำแนะนำอื่นๆ โรคเก๊าท์มักสัมพันธ์กับการมีโรคร่วมอื่น ได้แก่ ภาวะไขมันสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคอ้วน ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องรับการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคร่วมด้วยเสมอ ต้องลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักตัว ดื่มน้ำพอสมควร งดการดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับอาหารนั้นผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่จำป็นต้องจำกัดอาหารประเภทสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ หรือยอดผัก เพราะอาหารประเภทดังกล่าวมีผลทำให้เกิดข้ออักเสบได้น้อย ยกเว้นต้องจำกัดอาหารเพื่อควบคุมความดันโลหิต หรือไขมันเป็นต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรจะต้องได้รับการประเมินการทำงานของไตและนิ่วของทางเดินปัสสาวะเสมอ

ข้อมูลจาก: เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

งานวิจัยเผย การเลี้ยงหมา ทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีขึ้น

เรียนรู้เรื่อง…วิตามินดีกับผู้สูงอายุ

รับมือหน้าหนาว โรคข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.