ส่งความสุขแบบออนไลน์ สำหรับผู้สูงวัย ยุค 4.0

ส่งความสุขแบบออนไลน์ สำหรับผู้สูงวัย ยุค 4.0

ส่งความสุขแบบออนไลน์ สำหรับผู้สูงวัย ยุค 4.0

สังคมไทยเป็นสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงนโยบายของรัฐบาลที่เสนอให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จากข้อมูลการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2560 พบว่า มีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 4.2 ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต หรือโซเชียลมีเดีย ผู้สูงอายุไทยในอนาคตจึงต้องรู้เท่าทันและสามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย และสมาร์ทโฟน ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โปรแกรมการดูแลสุขภาพต่างๆ ตลอดจนการทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ตกเป็นผู้เสียหาย

นอกจากนี้ภาครัฐยังได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในด้านการป้องกันและการดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้น ส่งเสริมและสนับสนุนสื่อทุกประเภทให้มีรายการเพื่อผู้สูงอายุ และให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและสื่อความรู้ได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งปัจจุบันสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำของกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเกิดการนำความรู้ใหม่มาพัฒนาองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ การพัฒนาสื่อความรู้ทางด้านสุขภาพ โดยอาศัยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุสามารถนำความรู้มาดูแลสุขภาพของตนเองได้

คงเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อยหากเราจะก้าวข้ามผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุในช่วงพอที่จะเริ่มต้นนี้ได้ก็คงเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง  ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวของเรากำลังขับเคลื่อนด้วยยุคที่เรียกว่า ดิจิทัล ผ่านนโยบายไทยแลนด์ 4.0

การผลักดันกลุ่มผู้สูงอายุให้เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ เป็นแนวทางหนึ่งของยุคการสร้างนวัตกรรม เพื่อพลิกจากวิกฤตของสังคมสูงวัยให้เป็นโอกาส หากมองความเป็นไปได้ของแนวทางนี้ก็นับว่าเป็นแนวคิดที่เป็นไปได้ค่อนข้างมากเลยทีเดียว เพราะกลุ่มผู้สูงอายุในบางกลุ่มอาจเป็นกลุ่มที่มีเงินทุนอยู่บ้าง มีเครือข่ายมีความรู้รวมไปถึงมีประสบการณ์ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าเสียเปรียบ หากแต่มองดังที่กล่าวมาคือข้อดีที่อาจทำให้เป็นไปได้ แต่สิ่งหนึ่งที่กลุ่มผู้สูงอายุยังขาดอยู่คือ เรื่องของความรู้ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้นเอง

ทั้งนี้ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล จึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอีกเช่นเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์ต่อการใช้งานสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ อีกทั้งยังมีความรู้เท่าทันโลก สามารถหาข้อมูลที่ถูกต้องได้ด้วยตนเอง และไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

นอกจากนี้ในด้านของสุขภาพจิต การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลก็ยังมีส่วนสร้างเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่นการพักผ่อนและคลายความเครียดจากภาวะการไม่ได้ทำงาน อีกทั้งยังช่วยสร้างความสัมพันธ์กันในครอบครัวอีกด้วยตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายายจนถึงลูกถึงหลาน โดยจะเห็นได้จากการติดต่อสื่อสารกันในครอบครัวผ่านช่องทางออนไลน์

แน่นอนว่าแนวทางที่ให้ความสำคัญกับการให้การศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างมาก สังคมโลกในอนาคตก็จะมีแต่พลเมืองที่ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้สูงอายุแต่ก็จะเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพอย่างแน่นอน สามารถมีความสุขและพึ่งพาตนเองจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้

นอกจากนี้  เมื่อเกษียณอายุจากการทำงาน กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีเวลาว่างมาก  จนทำให้เกิดความเหงา หรือมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นกลุ่มที่ต้องการการพูดคุย  การเอาใจใส่และต้องการสื่อสารกับคนในครอบครัวมากกว่ากลุ่มคนอื่นๆ ทำให้สื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะแอปพลิเคชั่นไลน์เป็นที่นิยมมากขึ้นในกลุ่มคนเหล่านี้ ทั้งนี้ สำหรับผู้สูงอายุนั้นสื่อสังคมออนไลน์ เป็นช่องทางการสื่อสารที่ช่วยให้คลายความเหงา ความคิดถึงลูกหลาน ที่อาจมีเวลามาพบปะไม่บ่อยนัก การสื่อสารของกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะถนัดในการส่งภาพ คลิปวิดีโอ หรือการคุยแบบเห็นหน้ากันผ่านสื่อสัมคมออนไลน์มากกว่าการพิมพ์ข้อความ ดังนั้นลูกหลานเมื่อจะสื่อสารกับผู้สูงอายุในครอบครัว จึงควรเลือกใช้วิธีดังกล่าวมากกว่าพิมพ์ข้อความที่ผู้สูงอายุอาจจะติดขัดด้านการอ่าน

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

4 แพลตฟอร์ม ดูแลผู้สูงอายุ ใช้งานง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว

วัยเก๋ายุคดิจิทัล ทันสมัย ใส่ใจโลกโซเชียล

เกมพาเพลิน เสริมระบบความจำวัยเก๋า

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.