Did you know? ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุใน 10 ปี

Did you know? ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุใน 10 ปี

Did you know? ไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุใน 10 ปี

สถิติจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า ในปี 2583 ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึง 20.5 ล้านคนหรือ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32 ของจำนวนประชากรไทยทั้งหมด แต่จะมีประชากรวัยแรงงานเพียง 35.18 ล้านคน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 ที่มีประชากรวัยแรงงานจำนวน 42.74 ล้านคน หรือลดลง 7.6 ล้านคน

การประเมินจากข้อมูลสถิติระบุว่าภายในปีพ.ศ.2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) โดยสมบูรณ์โดยมีจํานวนผู้สูงอายุประมาณ 14.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด หมายความว่า    ในประชากรทุกๆ 5 คน มีผู้สูงอายุ 1 คน พลิกมุมวิจัยโดยใช้อาร์เอ็นเอ

หากใช้แว่นขยายส่องสํารวจเซลล์จะพบว่า ณ ใจกลางเซลล์มีอาร์เอ็นเอซ่อนอยู่เจ้าอาร์เอ็นเอนี้เกิดจากการคัดสําเนาข้อมูลจากดีเอ็นเอ หรือกรดนิวคลีอิก(Nucleic acid) ซึ่งอยู่ในใจกลางเซลล์และเก็บข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่ง มีชีวิตนั้นๆ เอาไว้อาร์เอ็นเอทําหน้าที่เหมือนแม่แบบแปลข้อมูลจากยีน ไปเป็นข้อมูลในโปรตีน หรือนําข้อมูลทางพันธุกรรมจากดีเอ็นเอไปใช้สร้างโปรตีนนั่นเอง ศาสตราจารย์เฮเลน โบลผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา และวิทยาภูมิคุ้มกันประจําห้องวิจัยด้าน สเต็มเซลล์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา

ทดลองเพาะเลี้ยงเซลล์ผิวหนังมนุษย์โดยใช้อาร์เอ็นเอที่มีการถอดรหัส โปรตีนแล้วกระตุ้นให้เทโลเมียร์ของเซลล์ขยายตัวได้มาก กว่าเซลล์ทั่วไปแต่ปฏิกิริยาดังกล่าวจะคงอยู่เพียง 48ชั่วโมงก่อนจะกลับสู่วงจรปกติซึ่งเทโลเมียร์จะหดสั้นลงเช่นเดิม จึงนับเป็นวิธีทำปลอดภัยเพราะเซลล์ไม่ได้มีการแบ่งตัวอย่างไม่จํากัด มิเช่นนั้นอาจมีโอกาสเสี่ยงเกิดมะเร็งได้ หลังจากได้รับอาร์เอ็นเอดังกล่าวเซลล์มีเทโลเมียร์ ยาวขึ้นอีกทั้งมีการแบ่งตัวโดยที่เทโลเมียร์ยังทํางานปกติ ไม่หดสั้นหรือหายไปเทคนิคนี้ทําให้เทโลเมอเรสยาวขึ้น ร้อยละ 10 และทําให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวเร็วกว่าเซลล์ทั่วไปที่ไม่ได้รับอาร์เอ็นเอ 10 เท่า

ส่วนเซลล์กล้ามเนื้อแบ่งตัวเร็ว กว่า 3 เท่า ศาสตราจารย์เฮเลนอธิบายว่า ผลสําเร็จในระดับห้องทดลอง ณ ขณะนี้นําไปสู่หนทางพัฒนายารักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับความเสื่อมของเซลล์โดยมุ่งเน้นการรักษาที่เฉพาะเจาะจงลงไปในเซลล์ที่ผิดปกติ เช่น โรคกล้ามเนื้อลีบดูเชน (Duchenne muscular dystrophy) ที่เกิดจากเซลล์กล้ามเนื้อเจริญเติบโตผิดปกติซึ่งเธอและทีมวิจัยเคยศึกษามาก่อน ที่จะพัฒนาเป็นเทคนิคการใช้อาร์เอ็นเอดังกล่าว

ฮอร์โมนโคลโทกุญแจสู่ความอ่อนเยาว์

สุดท้ายเราอาจใช้ฮอร์โมนช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ได้เช่นกันความก้าวหน้าในงานวิจัยด้านประสาทวิทยาเมื่อต้นปีนี้จุดประกาย ให้การใช้ชีวิตของคนในยุคมิลเลนเนียมมีสุขภาพสมบูรณ์จนอายุ 100 ปี ดูมีความหวังเรืองรองขึ้นมาอีกก้าวหนึ่งเมื่อผลวิจัยโดยทีมของผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงดร.เดนา ดูบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยามหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Annals of Clinical and Translational Neurology ผลวิจัยระบุว่า โคลโท(KlothoหรือKL) ซึ่งเป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ที่ผลิตจากไตและข่ายประสาทคอรอยด์ของสมองนั้นอาจเป็นหนทาง สู่การมีชีวิตยืนยาวและมีสุขภาพดีได้เนื่องจากหนูทดลองที่ได้รับการ ตัดต่อพันธุกรรมให้โคลโทมีการแสดงผลมากกว่าปกติ จึงมีอายุยืนกว่าหนูทั่วไปร้อยละ19 -31 สาเหตุมาจากโคลโทมีผลต่อการรับส่งสัญญาณของอินซูลินรีเซ็ปเตอร์การควบคุมระดับแคลเซียมให้คงที่และการควบคุม อาการอักเสบซึ่งแสดงผลออกมาเป็นความเสื่อมหรือ “แก่”ของเซลล์ นั่นเอง

นอกจากนี้ข้อมูลจากการศึกษาในงานชิ้นอื่นๆ ยังระบุว่าคนที่มียีน ซึ่งถอดรหัสโคลโทได้หรือKL-VS1 ชุด ซึ่งพบได้ทุกๆ 1 ใน 5 คน มักมีอายุยืนมีอัตราการเกิดโรคที่มักพบในผู้สูงวัย  เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจโรคอัลไซเมอร์ น้อยกว่า มีการทํางานของสมองและไตดีกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของคนทั่วไป แม้ผลวิจัยดังกล่าวจะยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ หรือวิธีชะลอความเสื่อมของเซลล์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ง่ายต่อการใช้ใน ชีวิตประจําวัน แต่ก็นับว่าเป็นความหวังใหม่ให้แก่ผู้คนทั่วโลกที่กําลังก้าว เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงได้แม้เข้าสู่ช่วงบั้นปลายชีวิต

ขึ้นชื่อว่าเป็นองค์ความรู้ที่ชีวจิตคัดสรรแล้ว รับรองว่าทันสมัยทําง่าย ได้ผลจริง แน่นอนค่ะ

ที่มา: นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 409

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

วิธี “ปรับตัว ปรับใจพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงวัย”

วัยเก๋ายุคดิจิทัล ทันสมัย ใส่ใจโลกโซเชียล

สร้างเสริมสุขภาวะของผู้สูงวัย ด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.