เทคนิคเตรียมตัวใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข

เทคนิคเตรียมตัวใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข

เทคนิคเตรียมตัวใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข

ในยุคนี้ที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ยิ่งต้องหาทางหนีทีไล่ให้ชีวิตหลังเกษียณ จากสถิติของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ บ่งชี้ว่า ภายในปี 2570 เราจะมีประชากรผู้สูงอายุมากถึง 30% ของประชากรทั้งประเทศ 68.86 ล้านคน กลายเป็นประเทศที่มีคนแก่มากกว่าเด็ก ถ้ารัฐบาลไม่เร่งหาทางแก้ปัญหา ก็จะลุกลามเป็นวิกฤติอนาคตของประเทศแน่นอน

การเตรียมตัวใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข ต้องเริ่มจากการปลดหนี้ปลดสินให้หมด ถ้าแก่แล้วยังต้องหาเงินผ่อนบ้าน เป็นใครก็คงเครียดจนนั่งไม่ติด นอกจากจะไม่มีหนี้แล้ว ยังต้องขยันหาเงินออมไว้ใช้หลังเกษียณ มีสูตรคำนวณว่า ให้วาดภาพหลังรีไทร์ว่าเราอยากมีชีวิตอย่างไร และแต่ละเดือนต้องใช้จ่ายเงินเท่าไหร่ แล้วเอาจำนวนเงินที่ต้องใช้คูณด้วยอายุที่เหลืออยู่หลังเกษียณ

นอกจากเรื่องเงินทองซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่แล้ว เรื่องสุขภาพก็สำคัญมากสำหรับคนวัยเกษียณ ปัจจุบันมีประกันสุขภาพเพื่อผู้สูงอายุให้เลือกหลากหลายขึ้น ช่วยให้อุ่นใจในยามบั้นปลายชีวิตมากทีเดียว

แพทย์หญิงศรีประภา ชัยสินธพ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ชี้ให้เห็นถึงแนวทางพัฒนาจิตใจผู้สูงอายุให้ห่างไกลปัญหาสุขภาพจิตไว้ 3 ข้อ ดังนี้

1 st Step Self Reflection ฝึกละวางและมองเชิงบวก    

แม้วัยเกษียณจะมีจุดด้อยด้านกําลังวังชา แต่ในด้านการพัฒนาจิตใจแล้ว นับเป็นช่วงเวลาที่มีต้นทุนชีวิตสูงสุด เพราะได้สั่งสม ประสบการณ์ผ่านวัยรุ่นและวัยทํางานมาแล้วหากนํามาพัฒนาต่อ จะนําไปสู่ความมีวุฒิภาวะและปัญญาในท้ายที่สุดต้นทุนดังกล่าวจะช่วยให้ผู้สูงอายุมองเห็นและเข้าใจความ เปลี่ยนแปลงในชีวิตตามความเป็นจริงได้สามารถละวางและลด ความยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ได้ เรียกว่ามองเห็นธรรมหรือสภาวะ ธรรมชาติของสรรพสิ่งซึ่งเป็นความรู้สากลไม่จํากัดศาสนาหากผู้สูงอายุนําประสบการณ์ที่ผ่านมาของตนใช้พิจารณา

ความเป็นไปรอบตัวได้เช่นนี้จิตใจก็จะโปร่งเบาตัดห่วงกังวลได้ หากรักษาใจให้ผ่องใสเช่นนี้ได้อยู่เสมอความทุกข์ใจก็จะลดลง แนวทางดังกล่าวช่วยให้ผู้สูงอายุหลายท่านมีมุมมองชีวิตเชิงบวก ทั้งยังพลิกเป็นอารมณ์ขันและไหวพริบในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ มากกว่าวัยรุ่นและวัยทํางาน เรียกว่ามีประสบการณ์ชีวิตเป็นแต้มต่อในการทําความเข้าใจธรรมะนั่นเอง

2 nd Step Get a Hobby งานอดิเรกรักษาใจให้สดชื่น

เสียดายว่าในช่วงวัยหนุ่มสาวและวัยทํางาน หลายคนมองข้ามประโยชน์ ของงานอดิเรก จึงปล่อยให้เวลาว่างผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์แต่คุณๆ ทราบหรือไม่ว่า การมีงานอดิเรกหรือกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ตนเองชอบและทําอย่าง ต่อเนื่องในยามว่าง มีส่วนช่วยให้บุคคลนั้นๆ ปรับตัวง่ายขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณ นอกจากได้รับความเพลิดเพลินแล้ว การทํางานอดิเรกยังช่วยขยายขอบเขตความรู้ความเชี่ยวชาญพิเศษอื่นๆ นอกเหนือไปจากการทํางานประจําด้วย หากทําได้ดีและเชี่ยวชาญมากพอยังเป็นที่มาของการสร้างรายได้เสริม อีกช่องทางหนึ่ง ซึ่งช่วยสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจลดความกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้สูงอายุมีได้อีกด้วยเมื่อมีองค์ความรู้อื่นๆ และหากมีรายได้พิเศษเสริมเข้ามาในช่วงบั้นปลาย ชีวิต งานอดิเรกสามารถนําไปสู่การขยายเครือข่ายทางสังคมช่วยให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือซึมเศร้า

3 rd Step Help the Community ช่วยเหลือสังคม

ผู้สูงวัยมีประสบการณ์ทั้งในด้านความรู้และทักษะสามารถเป็นที่ปรึกษาในแวดวงที่ตนมีความชํานาญ ได้ดี อีกทั้งมีเวลาว่างจึงเหมาะกับการทํางานเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ  เช่น  งานอาสาสมัครตามโรงพยาบาล หรือครูสอนวิชาชีพแก่ผู้ด้อยโอกาส

นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้ช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน เช่น เป็นอาสาสมัครออกเยี่ยมเยียน ผู้ป่วยในชุมชนที่ตนอาศัยอยู่จะได้ประโยชน์ทั้ง สองฝ่าย ฝ่ายรับความช่วยเหลือก็มีกําลังใจ ฝ่ายให้ความช่วยเหลือก็มีความภูมิใจ สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าและเป็นที่พึ่งพาแก่คนรอบข้างได้

Did you know? งานและธรรมชาติรักษาใจ

ผลสํารวจสุขภาพจิตของคนไทยโดยสํานักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ผู้สูงอายุที่ทํางานมีคะแนนสุขภาพจิตดีกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้ทํางานเล็กน้อย เมื่อจําแนกตามกลุ่มอาชีพพบว่าผู้สูงอายุที่ทํางานในภาคเกษตรกรรมมีคะแนนสุขภาพจิตเฉลี่ยสูงกว่าภาคบริการและภาคการผลิต นอกจากนี้กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุขยังแนะนําว่าควรให้ผู้สูงอายุได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ เช่น หาโอกาสทํางานในสวนดอกไม้สวนผักหรือท่องเที่ยวพักผ่อนสูดอากาศบริสุทธิ์จากป่าเขาลําเนาไพร สัมผัสสายลมและแสงแดดบ้างเพื่อผ่อนคลายจิตใจ อีกทั้งการเลี้ยงสัตว์ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว นกแก้ว เต่า ปลา ฯลฯ  ช่วยให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดีห่างไกลโรคซึมเศร้าและสมองเสื่อมเพราะได้มอบความรักความเอาใจใส่และสื่อสารกับสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นอยู่เสมอ

อย่างไรก็ตามสำคัญที่สุดคือคนวัยเกษียณต้องมองโลกในแง่ดี หางานอดิเรกที่ชอบทำ เพื่อสร้างคุณค่าในตัวเอง60 แล้ว ทำอะไรแล้วมีความสุขก็ลุยเลย ถึงเวลาได้ใช้ชีวิตอย่างที่อยากเป็น อย่าไปยึดติดกับอดีตให้ใจมันท้อจะดีที่สุดค่ะ

ที่มา: นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 407

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

เชื่อหรือไม่! คนเราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิแม้อายุมาก

กิจกรรมที่ผู้สูงอายุ ช่วยลดภาวะซึมเศร้า ชะลอภาวะสมองเสื่อมได้

ก่อนสู่สังคมสูงวัย…ถ้าจะให้ดี ควรวางแผนก่อนเกษียณจะดีที่สุด!

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.