ชวนส่อง มาตรการผ่อนปรน กิจกรรมไหนกลับมาเปิดได้

ชวนส่อง มาตรการผ่อนปรน กิจกรรมไหนกลับมาเปิดได้ 3 พ.ค. นี้

มาตรการผ่อนปรน ระยะที่ 1 ของ สบค.

วันที่ 30 เมษายน 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศบค. มีมติเห็นชอบ มาตรการผ่อนปรน ให้มีมาตรฐานกลางบางกิจการและกิจกรรม เช่น แผงลอย หาบแร่ กิจกรรม เช่น การออกกำลังกายในสวนสาธารณะ มาดูรายละเอียดกันเลยค่ะ

ว่าด้วยมาตรการระยะที่ 1

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. ระบุว่า ศบค.วางแผนการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคเป็น 4 ระยะ ครอบคลุมระยะเวลา 2 เดือน สำหรับระยะแรกนั้น กำหนดให้ผ่อนปรนเฉพาะกิจการและกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่ำทั้งหมด 6 กลุ่ม โดยจะประเมินผลหลังจากครบ 14 วัน หากมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม อาจพิจารณาให้ปิดกิจการหรือสถานที่ตามเดิม แต่หากยังรักษาจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ให้อยู่ในระดับต่ำได้ ก็จะพิจารณาเพิ่มประเภทกิจการและกิจกรรมที่สามารถเปิดดำเนินการได้ในระยะที่ 2

สำหรับมาตรการควบคุมโรคและข้อปฏิบัติสำหรับกิจการและกิจกรรมที่ได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดได้นั้นจะต้องยึดตามข้อ 11 ของข้อกำหนดฉบับที่ 1 ที่ออกตามมาตรา 9 ของ พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่มีการระบุถึงมาตรการต่าง ๆ ทั้งการใส่หน้ากากอนามัย การทำความสะอาดพื้นที่ การเว้นระยะห่างทางสังคม และอื่น ๆ

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค.อธิบายเพิ่มเติมถึงมาตรการผ่อนปรน 6 กลุ่มกิจการและกิจกรรม ดังนี้

1. ตลาด ได้แก่ ตลาดสด ตลาดนัด ตลาดน้ำ ตลาดชุมชน ถนนคนเดิน แผงลอย

2. ร้านอาหาร ได้แก่ ร้านอาหารทั่วไป ร้านเครื่องดื่ม ขนนหวาน ไฮศรีม (นอกห้าง) ร้านอาหารริมทาง รถเข็นและหาบเร่

3. กิจการค้าปลีก-ส่ง ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อบริเวณพื้นที่นั่ง/ยืนรับประทาน รถเร่ หรือ รถวิ่งขายสินค้าอุปโภคบริโภค ร้านค้าปลีกขนาดย่อย/ร้ายอาหารปลีกชุมชน ร้านขายปลีกธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม

4. กีฬาสันทนาการ ได้แก่ กิจกรรมในสวนสาธารณะ ได้แก่ เดิน,รำไทเก็ก สนามกีฬากลางแจ้งที่เป็นการออกกำลังกายโดยไม่ได้เล่นเป็นทีมและไม่มีการแข่งขัน ได้แก่ เทนนิส ยิงปืน ยิงธนู จักรยาน กอฟล์และสนามซ้อม

5. ร้านตัดผม-เสริมสวย ได้แก่ ร้านตัดผมเฉพาะตัด สระ ไดร์ผม

6.อื่น ๆ เช่น ร้านตัดขน ร้านรับเลี้ยงรับฝากสัตว์

ทุกประเภทกิจการเริ่มเปิดดำเนินการได้ 3 พ.ค.2563

มาตรการผ่อนปรย

“ทาง ศบค. จะเป็นผู้กำหนดมาตรการผ่อนปรนโดยกำหนดมาตรฐานกลางของแต่ละกิจการและกิจกรรมในทุกพื้นที่ให้ยึดถือปฏิบัติ แล้วให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชกรุงเทพมหานครกำหนดรายละเอียดต่อไป ทั้งนี้รายละเอียดของการปฏิบัติในแต่ละจังหวัดอาจมีความเข้มข้นมากกว่ามาตรฐานกลางของ ศบค. ได้ แต่มีความเข้มข้นน้อยกว่าไม่ได้” นพ.ทวีศิลป์กล่าว

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงข้อซักถามเรื่องการห้ามขายเหล้าในช่วงประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ว่า ​ช่วงที่ผ่านมา เหล้าเป็นปัจจัยนำไปสู่ความเสี่ยงในการชุมนุมคน ซึ่งประกาศเดิมงดขายถึงวันที่  30 เม.ย.​ แต่เนื่องจาก ศบค. ออกข้อสั่งการให้ถึง 30 เม.ย.​ให้มีผลต่อไป ซึ่ง มท.​จะสั่งการให้เป็นไปตามนั้น

อะไรทำได้-ทำไม่ได้

นอกจาก นพ.ทวีศิลป์แล้ว การแถลงข่าวเพื่ออธิบายเรื่องการผ่อนปรนมาตรการในวันนี้ ยังมีนายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และ พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ร่วมชี้แจงด้วย โดยได้ตอบคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมและกิจการบางอย่าง เช่น

การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : ยังคงห้ามขายต่อไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเหตุให้คนมารวมตัวกัน เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ

การบินภายในประเทศ : การเดินทางด้วยเครื่องบินภายในประเทศสามารถทำได้ แต่ ศบค.ขอให้มีการเดินทางน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น และสายการบินจะต้องมีมาตรการป้องกันโรค เช่น ฆ่าเชื้อในห้องโดยสารและไม่ให้บริการอาหารบนเครื่อง เป็นต้น

นั่งรับประทานอาหารในร้าน : กรณีร้านขนาดไม่เกิน 2 คูหาสามารถเปิดให้นั่งรับประทานอาหารในร้านได้ แต่ต้องจัดโต๊ะให้ห่างกันเกิน 1 เมตร และแม้ลูกค้าจะมาด้วยกันก็ต้องนั่งแยกกัน อย่างไรก็ตาม ศบค.แนะนำให้ซื้อกลับบ้านเป็นหลัก

ที่มา ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19), ประชาชาติธุรกิจ, BBC


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

COVID-19 หายแล้วติดอีกได้ไหม เชื้อลงปอด น่ากลัวแค่ไหน สาเหตุการตายมาจากอะไร

คู่มือ COVID-19 เช็กอาการน่าสงสัย ตรวจฟรี ได้ที่ไหน อยากตรวจเองค่าใช้จ่ายเท่าไร

เคล็ดลับ ดูแลผิวมือ ช่วง Covid-19 ระบาด

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.