โซเดียม และผลเสียต่อไต

ชวนรู้จักโซเดียม และผลเสียต่อไตที่ไม่ควรมองข้าม

โซเดียมกับโรคไต

อาหารที่มีส่วนผสมของโซเดียม หากเรารับประทานเข้าไปในปริมาณที่มาก จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายได้หรือไม่ และควรรับประทานอย่างไรให้เกิดประโยชน์ มารู้จัก โซเดียมกับโรคไต กันดีกว่าค่ะ

โซเดียมคืออะไร

โซเดียม คือ เกลือแร่ชนิดหนึ่งที่มีความสําคัญต่อการควบคุมสมดุลนําและของเหลวในร่างกาย ซึ่งสามารถควบคุมระบบความดันโลหิต การทํางานของเซลล์ประสาทและกล้ามเนื้อ ตลอดจนถึงการดูดซึมสารอาหารและเกลือแร่ในไตและลําไส้เล็ก โซเดียมพบในอาหาร เนื้อสัตว์ อาหารจากธรรมชาติ นอกจากนั้นเราบริโภคโซเดียมในรูปแบบของเกลือแกง อาหารสําเร็จรูป วัตถุปรุงรส ตลอดจนถึงขนมกรุบกรอบทีใส่ผงฟูทุกชนิด

ร่างกายต้องการปริมาณโซเดียมแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับสภาวะของร่างกาย เพศ และอายุ โดยทัวไปแล้วสามารถบริโภคโซเดียมสูงสุดโดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอยู่ที่ 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน เมือเทียบเป็นเกลือป่นอยู่ทีประมาณ 1 ช้อนชาหรือ 6 มิลลิกรัม โดยปกติแล้วอาหารจากธรรมชาติทีบริโภคทุกวันก็มีปริมาณโซเดียมที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว

หากกินโซเดียมเกิน

หากบริโภคโซเดียมเกินปริมาณทีร่างกายต้องการแล้ว จะก่อให้เกิดการเสื่อมของไต เพราะไตทําหน้าทีขับโซเดียม เมือไตทํางานได้ลดลงจะทําให้มีการคั่งของเกลือ มีการบวมนํ้า ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง และเกิดโรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือดตามมาได้

โรคไต
ผู้ป่วยโรคไต ควรเลือกกินอาหารที่ดี เพื่อชะลอความเสื่อมของไต

นิสัยบริโภคที่ควรระวัง

คนไทยส่วนใหญ่มักติดการรับประทานอาหารรสจัดโดยเฉพาะ “การติดเค็ม” แบบไม่รู้ตัว  เนื่องจากอาหารบางประเภทมีความเค็มแฝงอยู่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมหลักของการเกิดโรคไตเรื้อรัง คนไทยประมาณ 17.6% ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง คิดเป็นอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 7,800 คน/ปี หรือประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรืออายุน้อยกว่า 60 ปี

โรคไตเรื้อรัง คือ

การที่ไตมีภาวะการทำงานผิดปกติ หรือมีการทำงานของไตลดลง โดยดูจากค่าอัตราการกรองของไตที่ผิดปกติในระยะเวลามากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ระยะเริ่มแรกมักไม่มีอาการ แต่เมื่อไตทำงานเสื่อมลงจนหน่วยไตเหลือน้อยกว่าร้อยละ 10 ทำให้มีของเสียคั่งในกระแสเลือด และส่งผลให้มีอาการต่างๆ ตามมา

อาการของโรคไตเรื้อรัง

  • ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน
  • ขาบวมและกดบุ๋ม
  • ความดันโลหิตสูง

เครื่องปรุงรส/อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง

  • เครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำเปล่า ซอสปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำปลาร้า ผงหรือก้อนปรุงรส ซอสมะเขือเทศ ซอสพริก ผงชูรส
  • อาหารมักดอง อาหารแปรรูป  เช่น ผักกาดดอง มะนาวดอง หน่อไม้ดอง ผลไม้กระป๋อง ฝรั่งดอง ไข่เค็ม กะปิ หมูแฮม เบคอน เต้าเจี้ยว น้ำจิ้มไก่ น้ำพริก ขนมกรุบกรอบ สาหร่ายปรุงรส
  • สารปรุงแต่งอาหารที่ไม่มีรสเค็ม เช่น ผงฟูที่ใช้ทำเบเกอรี่ แป้งที่ใช้ชุบเนื้อหรือผักทอด สารกันบูด สารกันเชื้อราในขนมปัง
  • อาหารสำเร็จรูป เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปบรรจุแบบซองและถ้วย

คำแนะนำ

  • ควรบริโภคโซเดียมให้น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/วัน
  • บริโภคเกลือให้น้อยกว่า 5 กรัม/วัน
  • บริโภคน้ำปลาน้อยกว่า 3 ช้อนชา/วัน

ข้อมูลจาก

-อ.นพ.สุกิจ รักษาสุข ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

-บทความสุขภาพ เว็บไซต์ โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เช็คอาการ คัดกรอง ป้องกัน และรู้ทัน โรคไตเรื้อรัง

โรคไตอาการ ที่ควรรู้ รู้เร็ว รู้ก่อน ป้องกันได้

วิธีกินช่วยผู้ป่วย โรคไต แข็งแรง อายุยืน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.