STOP SWEET หยุดเซลล์สมองพัง อัลไซเมอร์ถามหา

STOP SWEET หยุดเซลล์สมองพัง อัลไซเมอร์ถามหา

เราได้ติดตามเรื่องราวของ “ผู้สูงอาย” กันอย่างที่ เพราะคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มชนที่นำพาชาติเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบประเทศร่ำรวยอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา เยอรมนี แต่ก็มีความกังวลอยู่ เพราะเคยได้ยินคำกล่าวต่อๆ กันมาว่า เมื่อแก่ตัวคนกลุ่มนี้ก็จะหลงๆ ลืมๆ ไปตามวัย หรือมักจะเป็นโรค อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ทำให้เราต้องสนใจหันมาศึกษาเรื่องนี้เป็นพิเศษ

ผู้เขียนได้อ่านเจอข้อมูลจากนิตยสารชีวจิต เล่มวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2561เขียนโดย ดร.ณิชมน สมันตรัฐ ถึงสาเหตุหนึ่งของการเกิดอาการอัลไซเมอร์ เป็นเพราะพฤติกรรมการกินที่ไม่ดี โดยเฉพาะการกินหวาน ดังนั้น จึงคิดว่าแฟนๆ ชีวจิตออนไลน์ควรต้องทราบเรื่องนี้ไว้บ้าง

โรคที่มีสาเหตุมาจากการกินของหวานโรคแรกที่มักจะนึกถึงคือ เบาหวาน แต่จริงๆ แล้วอาการนำก่อนจะเป็นเบาหวานคือ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin Resistance) ซึ่งเริ่มจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ คือ สูงเกินหรือต่ำติดต่อกัน จนฮอร์โมนอินซูลินทำงานไม่ได้ตามปกติ ซึ่งก็ไม่ได้พัฒนาไปเป็นเบาหวานเสมอไป แต่อาจจะเป็นสาเหตุของโรคอื่นๆ ได้ด้วย

ในความคิดของหมอนั้น น้ำตาลไม่มีอะไรดีต่อชีวิตหรือสุขภาพเลย ขาดได้ไม่ตาย เพราะว่าร่างกายของเราสามารถย่อยแป้งเป็นน้ำตาลเพื่อใช้งานได้เองอยู่แล้ว

ตกหลุมรักของหวานเสี่ยงระบบร่างกายรวน

เมื่อกินน้ำตาลเข้าไป สมองของเราจะมีระบบการให้รางวัล (Rewarding System) โดยการหลั่งสารพาโดพามีนออกมาทำให้เรารู้สึกดี เหมือนเวลาตกหลุมรัก ซึ่งก็คือการเริ่มต้นของกระบวนการเสพติดนั่นเอง ร่างกายก็จะเรียกร้องหาน้ำตาลอีก เพราะรู้ว่าจะต้องรู้สึกดีแบบนั้นอีก โดยสิ่งที่น่ากลัวก็คือ เรามักจะเพิ่มระดับความหวานขึ้นเรื่อยๆ จากที่เคยกินขนมชิ้น เล็กๆ แล้วรู้สึกดี ก็เริ่มรู้สึกว่าต้องการในปริมาณที่มากกว่าเดิม เพราะชิ้นเท่าเดิมไม่ทำให้รู้สึกมีความสุขอีกแล้ว กลับทำให้หงุดหงิดเสียด้วยซ้ำ จึงกลายเป็นที่มาว่าทำไมการกินน้ำตาลเชื่อมโยงกับสมองค่ะ

เมื่อเริ่มตกหลุมรักหรือเสพติดความหวานแล้ว น้ำตาลก็จะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน โดยน้ำตาลเป็นโมเลกุลที่มีขนาดเล็กมากจนร่างกายหรือระบบทางเดินอาหารดูดซึมเข้าสู้ร่างกระแสเลือดได้ง่ายและรวดเร็ว เราจะเห็นว่าน้ำตาลในเลือดพุ่งขึ้นเร็วมาก หลังจากการกินของหวานเพียง 5 นาที ปกติเราอาจจะมีระดับน้ำตาลในเลือดประมาณ 80-100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แต่เมื่อกินน้ำตาลเดี่ยวๆ ที่ไม่มีสารอาหารอื่น ๆ มาช่วยชะลอการดูดซึมเข้าไปปุ๊บระดับน้ำตาลก็พุ่งไปถึง 300-500 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ได้ในเวลาอันรวดเร็ว

ดังนั้นฮอร์โมนอินซูลินที่ร่างกายผลิตออกมาจึงต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อจัดการกับน้ำตาลที่เรากินเข้าไปในปริมาณมากเกินร่างกายก็ทำตัวไม่ถูกเมื่อได้เจอระดับน้ำตาลที่สูงผิดปกติ ไม่แน่ใจว่าต้องผลิตเตรียมไว้อีกแค่ไหน ร่างกายไม่สามารถทำตามระบบ เพราะระดับน้ำตาลในเลือดสูงบ้างต่ำบ้าง เกิดเป็นภาวะระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ซึ่งส่งผลเสียต่อทุกส่วนของร่างกายเลย

เช็กสัญญาณเสี่ยงเสพติดของหวาน

1.อารมณ์แปรปรวน ไม่เป็นตัวเอง

สัญญาณแรกที่เราพบเมื่อระบบร่างกายรวนก็คือ อารมณ์แปรปรวน ฉุนเฉียวง่าย เนื่องจากสารสื่อประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับความเครียดจะหลั่งออกมา เพราะได้รับผลกระทบจากการตกหลุมรักน้ำตาลหรือเสพติดน้ำตาลไปแล้วนั่นเองถ้ามองเป็นภาพกว้าง ๆ เมื่อเรากินของหวานเข้าไปน้ำตาลในเลือดจะพุ่งขึ้น และยังข้ามตัวกรองกั้นระหว่างเลือดไปที่สมองได้ ส่งผลให้เกิดอาการที่เรียกว่า “Sugar High” คือจะมีอาการตื่นตัว

แต่เมื่อระดัับน้ำตาลตก สมองก็จะดิ้นรนเพราะต้องการน้ำตาล ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด ซึ่งมีอันตรายเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางอารมณ์อยู่แล้ว เพราะจะทำให้เกิดอาการแย่ลง

ผลของการกินน้ำตาลที่มีต่อสารสื่อประสาทในสมองยังสังเกตได้ในเด็กที่มีปัญหาสมาธิสั้น เมื่อได้กินของหวาน เด็กกลุ่มนี้จะไม่อยู่นิ่ง ควบคุมสมาธิไม่ได้

  1. ลืมสิ้นซาก

โดยธรรมชาติแล้วสมองของเราสามารถสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาได้เอง แต่ในกระบวนการนี้สมองต้องการสารอาหารจากเลือดผ่านทางเส้นเลือด ดังนั้น ถ้าเรามีภาวะดื้อต่ออินซูลินเป็นเวลานาน ๆ เลือดก็จะข้นขึ้น ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือด เลือดจะไหลเวียนได้ยากขึ้น  หลอดเลือดก็จะมีปัญหา โดยเฉพาะทำให้ไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดได้ง่ายมาก ทำให้มีอาการเส้นเลือดตีบ สมองก็จะสร้างเซลล์ใหม่ไม่ได้ ความจำแย่ลง ลืมแล้วลืมเลย

เป็นสาเหตุว่าทำไมสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์หรือผู้ที่มีความบกพร่องในส่วนอื่นๆ ของสมองถึงไม่สามารถฟื้นฟูกลับมาได้ สำหรับคนทั่วไปในระยะนี้การทำงานของสมองจะเสื่อมสมรรถภาพ ไม่สามารถสร้างเซลล์ใหม่ได้ ทำให้เราคิดอะไรไม่ค่อยออก รู้สึกว่าสมองไม่ปลอดโปร่ง

ภาวะที่แย่ที่สุดคือ ถ้าหลอดเลือดในสมองจุดไหนมีไขมันอุดตันมาก จนเลือดไม่สามารถไหลผ่านไปได้ สมองส่วนนั้นก็จะตาย ทำให้เป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบ หรือภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด โรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ก็จะตามมาได้หมด

ถ้าเรามองภาพเล็ก ๆ มันก็จะดูเหมือนไม่มีอะไร แต่ถ้ามองในภาพกว้างจะเห็นว่าน้ำตาลส่งผลกระทบต่อร่างกายทุกส่วนเลย ทำให้เกิดโรคนี้โรคนั้น ซึ่งจุดเริ่มต้นส่วนใหญ่นั้นก็มาจากอาหารที่กินเข้าไปนั่นเอง

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

เบาหวานเป็นได้ในคนทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงวัยยิ่งเป็นง่าย!

ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงวัย สิ่งที่ผู้ดูแลต้องรู้ไว้ก่อนสายเกินแก้!

ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างถูกวิธี

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.