นั่งรถสาธารณะปลอดภัย

โดยสารรถสาธารณะอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

โดยสารรถสาธารณะอย่างไรให้ปลอดภัยที่สุด

นั่งรถสาธารณะปลอดภัย ต้องทำอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ต้องให้เกิดการสูญเสีย เเต่ก่อนอื่นเราลองมาดูสถิติที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นกันก่อนค่ะ

ในปีพ.ศ. 2558 องค์การอนามัยโลก(WHO) ระบุว่าประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เท่ากับ 36.2 คน ต่อประชากรแสนคน รองจากประเทศลิเบีย และเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน

นอกจากนี้แล้วในรายงานของ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ แตะกระโทก อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ระบุไว้ในเอกสารรายงาน Global Report on Road Safety  ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่อันตรายสูงที่สุดในโลกสำหรับรถจักรยานยนต์ โดยมีอัตราการเสียชีวิตต่อประชากรแสนคนอยู่ที่ 26.3  คน[1] ซึ่งยังมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่สูงมากจากเป้าหมายที่ประเทศไทยได้วางไว้ว่า ในระหว่างปี พ.ศ.2554-2563 ต้องลดอัตราการเสียชีวิตทางถนนให้ต่ำกว่า 10 คน ต่อประชากรแสนคน

แต่ล่าสุดผลการวิจัยกลับสวนทางกับเป้าหมายที่ประเทศไทยต้องการ ซึ่งข้อมูลงานวิจัยจากโครงการวิจัยการประเมินคุณภาพให้บริการและความปลอดภัยของระบบรถโดยสารสาธารณะ ของนัชชา โอเจริญและคณะ นักวิจัยด้านนโยบายขนส่ง และโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย[2] พบว่า ในช่วงเดือนมกราคมพ.ศ.2557-เดือนมิถุนายน พ.ศ.2558 สถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถตู้ผู้โดยสารสาธารณะสูงขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 41 และพบว่าพบว่าจำนวนผู้โดยสารสาธารณะกลับเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

เนื่องจากผู้ใช้บริการต้องการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และประหยัด จนละเลยความปลอดภัย ทำให้สาเหตุของอุบัติเหตุ ซึ่งเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งนั้นมาจากพฤติกรรมของผู้โดยสารและผู้ขับเอง โดยเฉพาะผู้โดยสารมากว่าครึ่งไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย ถึงเเม้ว่ารัฐจะออกกฏหมายให้บังคับก็ตาม  เพราะรู้สึกว่าการคาดเข็มขัดนิรภัยนั้นทำให้อึดอัด  อายคนอื่น และไม่เคยชินกับการถูกดึงรั้งไว้กับเบาะ เป็นต้น

ดัังนั้นเพื่อลดการสูญเสียชีวิต เเละการเกิดอุบัติเหตุให้น้อยลง นอกเหนือจากการบังคับใช้กฏหมายของรัฐแล้วนั้น ผู้ใช้บริการจำเป็นต้องตระหนักเรื่องความปลอดภัยมากกว่าความสะดวกสบาย เช่น เดียวกับผู้ประกอบการ และผู้ที่ขับขี่ที่ต้องใส่ใจ มีจิตสำนึกในการใช้ถนนอีกด้วย

            สำหรับการลือกใช้บริการรถโดยสารให้ปลอดภัยนั้นสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)[3]  ได้ออกแนวทางในการปฏิบัติเพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจเช็คความปลอดภัยของโดยสารสาธารณะได้ด้วยตัวเอง ดังต่อไปนี้

1.ก่อนเลือกใช้บริการ

(1) การซื้อบัตรโดยสารควรตรวจสอบความถูกต้องทุกครั้ง โดยเฉพาะกรณีของรถตู้ที่ให้บริการระหว่างจังหวัด จดจำชื่อของผู้ประกอบการหรือบริษัทก่อนทุกครั้ง เพื่อเป็นประโยชน์ในการร้องเรียนเมื่อมีปัญหา และเก็บบัตรโดยสารไว้ทุกครั้งเพื่อใช้เป็นหลักฐานเอาผิดผู้ประกอบการที่ทำผิดกฏหมาย

(2) ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานีและจุดจอดของแต่ละประเภทรถบริการ โดยจะต้องขึ้น/ลงรถ ณ จุดจอดเท่านั้น คือ ที่จุดจอดต้นทาง-ปลายทาง หรือ จุดที่ถูกกำหนดไว้เท่านั้น เพราะเสี่ยงต่ออุบัติเหตุทางถนน และถ้าจอดในที่เปลี่ยวอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้โดยสาร

(3) สังเกตภายนอกตัวรถให้บริการโดยเลือกใช้รถบริการรถป้าย “สีเหลือง” มีสัญลักษณ์แสดงการชำระภาษีรถ และเลือกรถที่มีสภาพภายนอกแข็งเเรงและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เช่น ล้อเเละยางไม่แบนไม่เบี้ยว ไฟเบรก ไฟหน้า ไฟท้าย ติดครบไม่เเตก เพราะหากสภาพรถมีการดัดแปลง หรือเสียหาย อาจทำให้การขับขี่ไม่ปลอดภัยได้

นั่งรถสาธารณะปลอดภัย
Palermo, Italy – June 18, 2018: Taxi rank for service or shared taxis in Piazza Castelnuovo, Palermo, Sicily.

2.ขณะรับบริการ

(1) ป้ายที่ควรสังเกตทุกครั้ง เช่น รายละเอียดคนขับและเบอร์ติดต่อรับร้องเรียน ป้ายเตือนความปลอดภัยต่างๆ เช่น การคาดเข็มขัดนิรภัย

(2) การสังเกตสภาพภายในรถ ควรเลือกรถที่สภาพสะอาด มีอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ครบสมบูรณ์พร้อมใช้งาน เช่น ก้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เข็มขัดนิรภัย ไม่มีเก้าอี้เสริม และเบาะอยู่ในสภาพดี

(3) ข้อควรปฏิบัติขณะใช้บริการรถโดยสาร

  • ไม่นั่งรถที่บรรทุกผู้โดยสารเกิน
  • เช็คชื่อ รูปถ่าย ข้อมูล ของคนขับ ว่าตรงกับป้านที่เเจ้งไว้หรือไม่
  • คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งขณะอยู่บนรถ ไม่ว่าจะเป็นระยะทางที่ใกล้ หรือระหว่างทาง
  • แจ้งพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ขับเร็ว เมาสุรา หลับใน โทร. 1584 (ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารสาธารณะ) หรือ 1508 (แจ้งร้องทุกข์เกี่ยวกับรถโดยสารของ บขส.และรถร่วมบริการ)

ท้ายที่สุดแล้วการช่วยกันพิจารณาความปลอดภัยนี้ นั่งรถสาธารณะปลอดภัย จะเป็นแนวทางยั่งยืนส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการมีความปลอดภัยมากขึ้น และให้บริการสามารถนำไปปรับบปรับปรุงคุณภาพ และการขับขี่อย่างปลอดภัยด้วย

อ้างอิง

[1]ทวีศักดิ์ แตะกระโทก (2558). Global Report on Road Safety 2015.มหาวิทยาลัยนเรศวร

[2]นัชชา โอเจริญและคณะ(2559).โครงการวิจัยการประเมินคุณภาพให้บริการและความปลอดภัยของระบบรถโดยสารสาธารณะ.สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

[3] สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(2559).รายงานการพิจารณาความปลอดภัยของรถตู้โดยสาร.ค้นเมื่อ1 มีนาคม พ.ศ.2559,จาก http://tdri.or.th/tdri-insight/tdri-factsheet-43/

 

บทความน่าสนใจ

“เครื่องสำอางจากธรรมชาติ” สวยด้วย ปลอดภัยด้วย ใครบ้างจะไม่ชอบ!

สธ. ทำโทษ! ต้องดูแลผู้บาดเจ็บทางสมอง หากขับขี่รถไม่สวมหมวก

สุดประทับใจตำรวจจราจรโครงการพระราชดำริ นำทางส่งแม่ถึงรพ.อย่างปลอดภัย

7 เทคนิค ดูแลรถ ต้อนรับหน้าฝน เตรียมรถให้พร้อมเพื่อความปลอดภัย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.