นั่งเครื่องบิน ปวดเมื่อย นอนบนเครื่องบิน

รวมเทคนิคแก้ปัญหา ปวดเมื่อยตอนนั่งเครื่องบิน

ปวดเมื่อยตอนนั่งเครื่องบิน ทำอย่างไรดี

เชื่อว่ายุคสมัยปัจจุบัน ใครๆ ก็ล้วนแต่เดินทางไกล ไปเที่ยว ไปทำงานด้วยเครื่องบินทั้งสิ้น แต่การเดินทางโดยเครื่องบินนั้นมีสิ่งหนึ่งที่หลายคนลงความเห็นตรงกันคือ เบาะนั่งที่ไม่ค่อยสบายตัวเท่าไรนัก วันนี้เราจึงมาแนะนำการแก้ปัญหา ปวดเมื่อยตอนนั่งเครื่องบิน ค่ะ

ความไม่สบายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่างไรก็ดี การเดินทางบ่อยๆ อาจสร้างปัญหาเกี่ยวกับภาวะกระดูกเสื่อมได้ เพราะสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่เปลี่ยนไปและไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ที่นั่งบนเครื่องบิน เป็นที่นั่งที่แย่มาก พนักพิงโค้งบุ๋มทำให้หลังงอ แล้วยังมีเบาะรองศีรษะที่ยื่นมาก กดคอให้ก้มมากขึ้น คนที่นั่งเครื่องบินนานๆ อาการปวดจึงอาจกำเริบได้

วิธีแก้ไขเฉพาะหน้า

เราคงไปเปลี่ยนเยาะเครื่องบินไม่ได้ วิธีแก้ง่ายๆ คือ ให้เตรียมหมอนใบใหญ่ขึ้นไปบนเครื่องด้วย เมื่อวางหมอนพิงหลังแล้วก็นำผ้าห่มที่แจกมาทำหมอนรองต้นคอให้สูงเสมอกับเบาะรองศีรษะที่ยื่นออกมา จะทำให้คอก้มน้อยลง

คนที่ชอบนอนหลับบนเครื่องนานๆ บางครั้งตัวจะส่ายไปมา ทำให้คอเอียงตามจนพักพับตอนนั่งหลับได้ การใช้หมอนหรือผ้ารองต้นคอแล้วพับม้วนด้านข้างให้สูงขึ้น จะป้องกันการหักพับของคอได้

นั่งเครื่องบิน ปวดเมื่อย นอนบนเครื่องบิน  ปวดเมื่อยตอนนั่งเครื่องบิน

ปัญหาจากการเดินทางอื่นๆ

การไปพักโรงแรมจะมีเครื่องเรือน ฟูกที่นอน หมอน ซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมที่ใหม่ทั้งหมด ถ้าของใหม่แย่กว่าของที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับคนที่กำลังอยู่ในช่วงเสื่อมของกระดูกก็จะทำให้เกิดอาการปวดรุนแรงขึ้นได้ ตามปกติแล้ว การเดินทางไกลๆ ไม่ว่าจะไปท่องเที่ยว หรือติดต่อธุระ จะทำให้อิริยาบถทั้งวันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมด้วย เพราะมีการเดิน ยืนเพิ่มมากขึ้น จึงไม่ควรทำให้มีอาการปวดเรื้อรังเหมือนตอนอยู่บ้าน

ถ้าเดินทางแล้วกลับมาอาการมากขึ้น ต้องหาสาเหตุให้ได้ เพราะอยู่ในสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ ที่เพิ่งผ่านมา ย่อมหาสาเหตุได้ง่ายกว่าสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยและใช้มานาน โดยนำหลักการตรวจสอบท่าทางการนั่งและการนอนมาใช้

โดยภาพรวมทั่วไปแล้ว เครื่องเรือน ของใช้ หมอน และที่นอนในโรงแรมมักผิดสุขลักษณะมาก เนื่องจากผ่านการใช้งานมามาก เช่น เตียงนิ่มเกินไป โซฟานิ่มมาก หมอนสูงเกินไป (เพื่อให้ใช้งานได้นานๆ) คนที่เข้าใจเรื่องกระดูกเสื่อมจึงต้องระวังการใช้อย่างมาก

การตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ปวดขณะเดินทางนั้น อย่ามองเฉพาะสิ่งที่เราเห็นเท่านั้น เพราะนั่งอาจจะหลอกเราได้ ควรมองให้ลึกลงไปถึงต้นเหตุอื่นด้วย เพราะปัญหาที่เกิดจากท่าทางที่ไม่ถูกจะแทรกอยู่ในการกระทำทุกๆ เรื่อง ยกตัวอย่างเช่น เวลาเดินทางต้องหิ้วหรือยกกระเป๋าเดินทาง อาจที่ให้ปวดเอ็นที่ข้อศอก ข้อมือ หรือที่นิ้วได้ การหิ้วหรือยกกระเป๋าต้องกลายเป็นจำเลยอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่ต้องสังเกตลึกลงไปคือลักษณะการหิ้ว ว่าทำให้หลังกับคอไม่ตรงด้วยหรือไม่ เพราะถ้าทำถูกวิธีแล้ว อาการปวดก็รุนแรงน้อยลงได้

แต่การแก้ไขเพียงช่วงสั้นๆ บางครั้งก็ไม่สามารถทำให้หายขาดได้เลยทันที เพราะต้องไปแก้ท่าที่ผิดในช่วงอื่นทั้งวันด้วย อาการที่เกิดจากภาวะกระดูกเสื่อมนั้นสามารถสะสมและไปเกิดอาการในช่วงอื่นของวันก็ได้ โดยเฉพาะตอนที่มีแรงกระทำมากๆ เช่น ใช้แรงยกกระเป๋าแล้วปวดข้อศอก เพราะตอนกลางคืนนอนขดทับแขนข้างที่ปวด การแก้ไขจึงต้องทำให้ถูก ครบทุกจุด และต่อเนื่องกัน

ข้อมูลจากหนังสือ เรียนรู้ สู้กระดูกเสื่อม โดย นายแพทย์ถาวร สุทธิยุทธ์ สำนักพิมพ์ AMARIN Health


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

เทคนิคขยับกาย คลายปวดข้อรูมาตอยด์

เกาต์ โรคปวดข้อที่ป้องกันได้

ปวดข้อ– ปวดเข่า รู้จักดี รับมือได้

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.