ถุงชา ปล่อยไมโครพลาสติก ถุงชาพลาสติก

โลกโซเชียลวิตก ถุงชา ปล่อยไมโครพลาสติก ออกมา อันตรายไหม

ถุงชา ปล่อยไมโครพลาสติก อันตรายหรือไม่

เชื่อว่าช่วงนี้หลายคนคงได้ยินข่าวเรื่อง ถุงชา ปล่อยไมโครพลาสติก ทำให้เกิดความวิตกกังวลไปทั่วโลกโซเชียลเลยทีเดียวในประเด็นนี้ ว่าจะเกิดอันตรายไหม บางรายถึงกับจะเลิกดื่มชาซองกันเลยล่ะ แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนจะเข้าใจไปอย่างนั้น ลองมาฟังข้อมูลจากนักวิทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่าง ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ โดยจะขออ้างอิงข้อมูลจาก เพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์

ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ

“อย่าเพิ่งแตกตื่นครับ งานวิจัยเค้าเจอไมโครพลาสติกในถุงชาพลาสติก ไม่ใช่ถุงชากระดาษ”

มีผู้นิยมดื่มน้ำชาส่งข้อความมาถามหลังไมค์เยอะมากๆๆ ว่า ที่มีข่าว มีงานวิจัยพบว่า เจอ “ไมโครพลาสติก” ออกมาจากถุงชาเป็นล้านๆชิ้น นั้นจริงหรือไม่  อันตรายแค่ไหน

คำตอบคือ มีงานวิจัยเรื่องนั้นจริง แต่เขาใช้ถุงชาที่ทำจากพลาสติกมาทดลอง ไม่ใช่ถุงชากระดาษ และองค์การอนามัยโลกก็บอกว่า ยังไม่มีหลักฐานแต่อย่างใดว่า การกินไมโครพลาสติกเข้าไปวง (จากข่าวที่เจอในน้ำดื่มบรรจุขวด) จะเป็นอันตรายต่อร่างกาย

ประเด็นเรื่องไมโครพลาสติก (หมายถึงพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ลงไป) กำลังเป็นที่สนใจมากขึ้นในกลุ่มของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ เนื่องจากปัจจุบันเราตรวจพบไมโครพลาสติก อยู่ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม ไม่เว้นแม้แต่ในน้ำดื่มบรรจุขวด

องค์การอนามัยโลก (หรือ WHO) ได้บอกว่า ไมโครพลาสติกที่พบในน้ำดื่มบรรจุขวดนั้น ยังไม่มีอะไรชี้บ่งว่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพขึ้น แต่ก็ระบุด้วยว่า ยังจะต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก

ล่าสุดนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย McGill University ในประเทศแคนาดา ได้ลองศึกษาไมโครพลาสติกอาจจะออกมาจากถุงพลาสติกที่ใช้ชงน้ำชา 4 ยี่ห้อที่มีขายตามท้องตลาด (ไม่เปิดเผยยี่ห้อ)

ถุงชา ปล่อยไมโครพลาสติก ถุงชากระดาษ
ถุงชากระดาษ
ถุงชา ปล่อยไมโครพลาสติก ถุงชาพลาสติก
ถุงชาพลาสติก

ถุงชายี่ห้อส่วนใหญ่นั้นทำมาจากกระดาษ (โดยอาจจะมีพลาสติกปนอยู่เล็กน้อย ตรงที่ใช้ซีลปิดปากถุง) แต่ชายี่ห้อดังหลายยี่ห้อ หันมาใช้ถุงชาที่ทำจากพลาสติกแทน ให้มันคงเป็นรูปพีระมิด โดยอ้างว่าจะทำให้น้ำร้อนเข้าไปละลายน้ำชาออกมาได้ดีขึ้น

นักวิจัยได้เอาใบชาออกจากถุง แล้วเอาถุงไปแช่น้ำร้อนจัดอุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส คล้ายที่ใช้ชงน้ำชา พบว่ามีปริมาณของไมโครพลาสติกออกมาถึง 11.6 พันล้านชิ้น ซึ่งมีปริมาณมากมายมหาศาลกว่าที่เคยตรวจพบในอาหารใดๆ

คำสรุปจากเรื่องนี้ก็คือ ถ้ากังวลว่าจะดื่มน้ำชาที่มีไมโครพลาสติกเยอะๆ เข้าไป ก็ให้หลีกเลี่ยงชายี่ห้อที่ใช้ “ถุงชาทำจากพลาสติก” และไปใช้ชนิดที่ทำจากกระดาษแทน แค่นั้นล่ะครับ


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ชาขาว VS ชาเขียว เลือกอะไรสุขภาพเลิศสุด!

ปรับสมดุลตรีธาตุ ช่วยลดปัญหาการย่อยและดูดซึมอาหาร ในผู้สูงอายุ

จิบ “ ชาเขียว ” ช่วยลดมะเร็งระบบย่อย

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.