การอ่าน อ่านหนังสือ รักการอ่าน ชอบอ่านหนังสือ หนังสือบำบัดโรค

บำบัดป่วยด้วย การอ่าน หนังสือ

หนังสือ…โอสถเยียวยาใจ

เฮเลน ฮาร์ทลี นักการศึกษาผู้หนึ่ง ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของการบำบัดด้วยการอ่านในด้านของการป้องกันโรคไว้ค่อนข้างชัดเจนว่า

การอ่านหนังสือจะทำให้ผู้อ่านพบว่า ความไม่แน่ใจของตน ความทุกข์โศก และความผิดหวัง มิได้เกิดขึ้นกับตนเองแต่เพียงผู้เดียว บุคคลอื่นๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ต่างก็มีประสบการณ์เช่นเดียวกับตน เขาจะรู้สึกโล่งอกเมื่อปัญหาที่ทำให้ตนเองต้องแยกตัวออกจากสังคมสู่โลกเปล่าเปลี่ยวแห่งความผิดหวัง ความคับข้องใจ ความทุกข์โศกหรือความสงสัย ถูกขจัดให้หมดไปภายหลังจากการอ่านหนังสือ

 

บำบัดสมองเสื่อมด้วยหนังสือ    

ความมหัศจรรย์จากการอ่านนั้นไม่เพียงเกิดเฉพาะกับเด็กและวัยทำงานที่ต้องการทั้งหาความรู้ ผ่อนคลายจิตใจ ตลอดจนสร้างกำลังใจให้ตัวเองเท่านั้น สำหรับผู้สูงอายุ หนังสือก็เป็นยาอีกขนานหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานด้วยความกระชุ่มกระชวยได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยอัลไซเมอร์

นายแพทย์อุดม เพชรสังฆาต เสริมความรู้ในเรื่องดังกล่าวไว้ว่า

อย่างที่รู้กันว่า สมองสามารถงอกใหม่ได้ การอ่านหนังสือก็ช่วยทำให้สมองทำงานได้ดีขึ้น คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมนั้น สิ่งที่คนไข้ต้องทำ คือ การอ่าน เพราะทำให้เกิดความจำและสมองได้ทำงาน เมื่อใด

สมองได้ทำงาน กลไกต่างๆ ในสมองจะทำงานดีขึ้น ผู้ที่ยังไม่ป่วยก็จะช่วยป้องกันได้ ส่วนผู้ป่วย การอ่านจะช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว

ส่วนหนังสือที่ใช้สำหรับอ่านไม่จำเป็นต้องระบุว่าเป็นหนังสืออะไร ขอเพียงแต่เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาไม่เลวร้าย เป็นหนังสือที่เราชอบและมีคุณค่าก็พอ

ดังนั้น ยิ่งอ่านมาก เซลล์สมองได้ทำงานมาก เปรียบเทียบกับกล้ามเนื้อยิ่งใช้งานมากยิ่งแข็งแรง แต่ถ้าไม่ใช้งาน ไม่อ่าน ไม่คิดตาม มันจะฝ่อ แต่ถ้าใช้บ่อยๆ ก็จะแข็งแรง และจะมีบางส่วนที่งอกออกมา เกิดวงจรใหม่ๆ ขึ้น

 

การอ่าน อ่านหนังสือ รักการอ่าน ชอบอ่านหนังสือ หนังสือบำบัดโรค

เจ็บป่วยเรื้อรัง หนังสือช่วยได้

ความมหัศจรรย์ของหนังสือยังไม่หมดเพียงเท่านั้น หนังสือยังเป็นยาแก้ไข้ บรรเทาปวดให้กับเด็กป่วยเรื้อรังได้อีกด้วย

อาจารย์จิราพร ศรีวันดี อาจารย์ประจำโครงการสอนเด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ อธิบายถึง คุณประโยชน์จากการอ่านหนังสือว่า

จากประสบการณ์ที่สอนเด็กป่วยในโรงพยาบาลจุฬาฯ เพื่อให้เด็กเรียนทันเพื่อนในชั้นเรียน เด็กๆ ที่ป่วยเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคหัวใจและโรคเลือด เด็กกลุ่มนี้จะไม่สามารถลุกออกไปทำกิจกรรมอย่างอื่นได้มากนัก เพราะสภาพร่างกายไม่แข็งแรง เขาจะนอนอยู่บนเตียง ซึ่งทำให้รู้สึกว่าเบื่อ และบางทีทำให้มีอาการเครียด

กิจกรรมที่เรามักให้ทำคือ การอ่านหนังสือ ซึ่งช่วยคลายความเครียดความวิตกกังวลได้ แต่หนังสือที่ให้เขาอ่านต้องเป็นหนังสือที่เขาสนใจ เด็กบางคนชอบการ์ตูน เขาจะอ่านเพลินจนลืมนอน เราต้องบอกให้นอนพัก แต่เด็กบางคนชอบการทดลอง ชอบวิทยาศาสตร์ เราก็จะจัดหนังสือกลุ่มนี้ให้ เขาจะซักถามว่าทำไมเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องการให้ครูช่วยอธิบาย

แต่ที่เห็นค่อนข้างชัดเจนคือ เด็กบางคนที่เริ่มบ่นว่าปวดหัว มึนหัว เราก็จะหาหนังสือให้อ่าน ซึ่งเมื่อได้อ่านหนังสือที่ชอบ เขาก็ลืมอาการป่วย ถามอีกทีก็บอกครูว่า ผมหายแล้ว หนูหายแล้ว ซึ่งหนังสือช่วยเบี่ยงเบนความสนใจ ทำให้จิตใจผ่อนคลาย บางทีทำให้อาการป่วยทางร่างกายทุเลาได้ แต่ในบางกรณีที่ปวดมากๆ หนังสือก็ไม่สามารถช่วยเบี่ยงเบนความสนใจได้เหมือนกัน

และที่สำคัญมากคือ ต้องรู้ว่าเด็กชอบและสนใจหนังสืออะไร


บทความน่าสนใจอื่นๆ

อ่านหนังสือเบิร์นไขมัน อ่านอย่างไรให้ผลาญแคล

ทำไมสมองต้องการให้เราอ่านหนังสือทุกวัน

7 เทคนิคอ่านหนังสืออย่างไร ให้จำแม่น

10 ข้อดีของการอ่านหนังสือ ที่ทำให้องค์กรอยากจ้างงานคุณ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.