สุราเป็นพิษ ลัลลาเบล แอลกอฮอลเป็นพิษ

ภาวะสุราเป็นพิษ คร่าชีวิตลัลลาเบล

สุราเป็นพิษ ดื่มแอลกอฮอลมากจนเกินไป

สุราเป็นพิษ  (alcohol poistion)   หรือภาวะที่ร่างกายได้รับปริมาณแอลกอฮอลมากจนเกินไป จนถึงระดับอันตราย ทำให้เกิดการเสียชีวิต  ในทางการแพทย์เรียกภาวะเสียชีวิตด้วยแอลกออฮอลนี้ว่า “Alcohol intoxication” เราจะมีวิธีการสังเกตุและช่วยเหลือคนรอบข้างได้อย่างไรบ้าง มาดูกันค่ะ

สัญญาณเตือน ภาวะสุราเป็นพิษ

การดื่มแอลกอฮอลจนเกินปริมาณระดับร่างกายที่สามารถรับได้จนใทำให้เสียชีวิต คือระดับเเอลกอฮอลในเลือดมากกว่า 400 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ในระหว่างนั้นมีสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่จะต้องระวัง ก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

  • ลมหายใจที่มีกลิ่นเหมือนแอลกอฮอล
  • หน้ามืดหรือชัก
  • รูม่านตาขยาย
  • การเคลื่อนไหวของดวงตาที่เร็วกว่าปกติ
  • หัวใจเต้นเร็วและลมหายใจช้า
  • สูญเสียความสมดุลหรือไม่มีความสามารถในการเดินตรงหรือหยุดนิ่ง
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • เสียงพูดพร่าหรือเสียงดัง

วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น “ผู้ป่วยสุราเป็นพิษ”

  1. ให้รีบโทร 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ
  2. พยายามปลุกผู้ป่วยให้ตื่นและพยุงให้อยู่ในท่านั่ง
  3. ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเปล่าหากสามารถดื่มได้
  4. จัดให้ผู้ป่วยนอนตะแคง  และคอยตรวจดูลมหายใจ
  5. พยายามทำให้ร่างกายของผู้ป่วยอบอุ่น
  6. คอยสังเกตอาการจนกว่ารถพยาบาลจะมารับ
  7. ไม่แนะนำให้ปล่อยให้ผู้ป่วยนอนหลับ
  8. ไม่ควรให้ผู้ป่วยดื่มกาแฟ
  9. ห้ามนำผู้ป่วยอาบน้ำ

เช็คระดับแอลกอฮอล ที่ส่งผลให้เกิดความมึนเมา

ข้อมูลจากเครื่องดื่มมาตรฐานในสหรัฐอเมริกาที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล มีดังต่อไปนี้

  1. เบียร์ 12 ออนซ์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 5 เปอร์เซ็นต์
  2. แอลกอฮอล์มอลต์ 8 ออนซ์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 7 เปอร์เซ็นต์
  3. ไวน์ 5 ออนซ์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 12 เปอร์เซ็นต์
  4. สุรา เหล้ากลั่น รัม วอดก้า หรือวิสกี้ ขนาด 1.5 ออนซ์ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 40 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตามวิธีหลีกเลี่ยงและป้องกันที่ดีที่สุด คือการดื่มแอลกอฮอลติดต่อกันเป็นเวลานาน เเละดื่มในปริมาณที่มากจนเกินไป เมาหัวราน้ำ ก็สามารถป้องกัน ภาวะสุราเป็นพิษ หรือแอลกอฮอลเป็นพิษได้

บทความที่เกี่ยวข้อง

สรุปแล้ว ลัลลาเบล เสียชีวิตเพราะดื่มแอลแกฮอลล์เกินขนาด

จากคดีลัลลาเบล มาทำความรู้จัก  ยาเสียสาว คืออะไร โดนยาแล้วอาการเป็นอย่างไร

อ้างอิง : www.drugs.com และ www.healthline.com

    

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.