ตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิง ตรวจสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง โรคของผู้หญิง ผู้หญิง

ตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิง เรื่องเฉพาะที่ควรตรวจเพิ่ม

วิธีตรวจเต้านมด้วยตนเอง

  • การตรวจเต้านมด้วยตนเอง (Breast Self – exam) แนะนำให้ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจเต้านมอย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้งเพื่อค้นหาก้อนที่ต้องสงสัยใหม่ แนะนำให้ตรวจหลังจากเริ่มมีประจำเดือนวันแรกประมาณ 7 -10 วัน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่มีอาการคัดเต้านมน้อย จึงไม่เจ็บ และตรวจพบก้อนได้ง่าย
  • การตรวจด้วยตนเอง แนะนำให้นั่งหรือยืนหันหน้าเข้ากระจก แล้วปล่อยแขนแนบลำตัวทั้ง 2 ข้าง หรือยกมือเท้าสะเอว หรือยกมือประสานกันไว้ที่ต้นคอ หรือยกมือชูขั้นเหนือศีรษะ เพื่อดูและปฏิบัติดังต่อไปนี้
  • ตรวจหัวนมว่ามีรูปร่างและสีผิวเหมือนเดิมหรือไม่ อยู่ระดับเดียวกันหรือไม่มีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลหรือไม่
  • ตรวจลานนมและผิวเต้านมว่าสีผิวเนียนปกติหรือไม่ มีรอยนูนหรือมีรอยบุ๋มหรือไม่จากก้อนมะเร็งดึงรั้งลงไป มีแผลถลอกหรือแผลเกิดจาก้อนนูนแตกหรือไม่
  • การคลำเต้านม (ในห้องมิดชิด มีกระจกหรือไม่ก็ได้) ให้ทำการตรวจคลำทั้งในท่านั่งและท่านอน (ท่านอนให้ใช้หมอนหรือผ้าห่มหนุนตรงสะบัก เพื่อให้หน้าอกแอ่นขึ้นและยกแขนหนุนศีรษะ) วิธีคลำให้ใช้ปลายนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางด้านตรงข้ามกดคลำเต้านมด้านตรงข้าม (อย่าบีบ) โดยให้กดลงไปเบาๆ ถึงแรงปานกลางและหมุนเป็นวงเล็กๆ เคลื่อนที่ไปเรื่องๆ จนทั่วบริเวณเต้านมข้างนั้น จากนั้นก็ให้บีบหัวนมดูว่ามีน้ำเหลืองหรือเลือดไหลออกมาจากหัวนมหรือไม่ เมื่อคลำเต้านมเสร็จแล้วก็ให้คลำบริเวณรักแร้และเหนือไหปลาร้าทั้ง 2 ข้างด้วยว่ามีก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองโตหรือไม่
  • หาคลำแล้วเป็นไตแข็งผิดปกติ รีบถ่ายภาพหรือมาร์กกำกับจุดนั้นไว้ แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจเต้านมโดยแพทย์

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม

  1. ยืนหน้ากระจก สังเกตความเปลี่ยนแปลงของขนาดรูปร่าง สีผิว ตำแหน่งของเต้านม และหัวนม
  2. ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะทั้ง 2 ข้าง หมุนตัวช้าๆ เพื่อดูความผิวปกติบริเวณด้านข้างของเต้านม
  3. ใช้มือเท้าเอวแล้วโน้มตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย ดูความเปลี่ยนแปลงซ้ำอีกครั้ง
  4. ใช้นิ้วมือบีบที่หัวนมเบาๆ ดูว่า มีเลือด หนอง หรือน้ำไหลออกมาจากหัวนมหรือไม่
  5. เริ่มคลำเต้านมทีละข้างตั้งแต่กระดูไหปลาร้าลงมา ให้ใช้นิ้วชี้นิ้วกลาง และนิ้วนางทั้ง 3 นิ้วค่อยๆ กดลงบนผิวหนังเบาๆ และกดแรงขึ้น คลำเต้านมให้ทั่วถึงบริเวณรักแร้ใต้วงแขน
  6. เปลี่ยนเป็นคลำในท่านอน ใช้หมอนหนุนไหล่ข้างที่จะทำแล้วคลำซ้ำเหมือนท่ายืน

ตรวจสุขภาพสำหรับผู้หญิง ตรวจสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง โรคของผู้หญิง ผู้หญิง มะเร็ง มะเร็งเต้านม มะเร็งในผู้หญิง

วิธีการตรวจเต้านมโดยแพทย์

  • การตรวจเต้านมโดยแพทย์ อาจทำโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญของสถานพยาบาลนั้นๆ แม้จะไม่ได้ใช้อุปกรณ์ แต่ความชำนาญของผู้ตรวจอาจทำให้พบความผิดปกติได้มากกว่าการตรวจด้วยตนเอง แนะนำให้ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปตรวจเต้านมเป็นประจำทุกปี
  • การสังเกตระหว่างการตรวจของแพทย์
  • สังเกตสีผิว ขนาด รูปร่าง ตำแหน่งของเต้านมและหัวนมในแต่ละท่า เช่น ท่าวางแขนทั้งสองข้างไว้ข้างลำตัว ท่ายกแขนทั้งสองข้างให้สูงเหนือศีรษะ ท่าวางมือทั้งสองข้างที่สะโพก และท่าเอนลำตัวส่วนบนไปข้างหน้า
  • ตรวจต่อมน้ำเหลืองเหนือและใต้ไหปลาร้า และตามด้วยการคลำต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้
  • คลำเต้านมเพื่อหาก้อนที่ผิดปกติ (บางท่านที่ตรวจครั้งแรกอาจจะเขินแพทย์มาก โดยเฉพาะแพทย์ผู้ชาย ขอให้ทำใจให้สบาย อาจจะหันหน้ามองไปทางอื่น จะได้ไม่เกร็ง แพทย์บางท่านก็จะชวนคุยเพื่อไม่ให้ผู้เข้ารับการตรวจเครียดมากจนเกินไป

 

 

 

 

 

<< การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.