กินอาหารเป็นยา เครื่องยาจีน อาหารจีน สมุนไพรจีน แพทย์แผนจีน แพทย์จีน ยาจีน

กินอาหารเป็นยา ตามตำราชาวจีน

5. เง็กเต็ก

รสชาติและสรรพคุณ ประกอบด้วยแอลคาลอยด์ กรดนิโคติน วิตามินเอ มีสรรพคุณแก้ร้อนใน กระหายน้ำ บำรุงอวัยวะภายใน บำรุงหัวใจ

วิธีปรุง เป็นส่วนประกอบในอาหารประเภทตุ๋นและข้าวต้ม

ข้อควรระวัง กินเพียงเล็กน้อยจะช่วยให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น แต่ถ้ากินมากเกินไปอาจมีผลร้ายได้

 

6. ลูกเคียมซิก

รสชาติและสรรพคุณ รสหวานอมฝาด มีธาตุเป็นกลาง สรรพคุณที่เด่นที่สุดคือการบำรุงม้ามและขับน้ำในร่างกาย ระงับอาการน้ำอสุจิหลั่งเร็ว แก้ท้องเดินมักใช้บำบัดโรคหนองใน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

วิธีปรุง

  1. ลูกเคียมซิกและแป๊ะฮะอย่างละ 60 กรัม ห่วยซัว 100 กรัม ต้มเป็นโจ๊กกินช่วยบำบัดอาการท้องเดินเรื้อรัง
  2. ลูกเคียมซิก 30 กรัม เม็ดบัว 15 กรัม ต้มกับน้ำและปรุงรสด้วยน้ำตาล กินวันละ 2 ครั้ง ใช้บำบัดอาการตกขาวและน้ำอสุจิเคลื่อนบ่อย
  3. ใช้เคียมซิกต้มเป็นซุปดื่ม แก้ปวดศีรษะ ปวดประสาท ปวดเมื่อยตามข้อกระดูก

ผู้ไม่ควรบริโภค เคียมซิกมีฤทธิ์ลดเหงื่อแรงมาก ผู้มีอาการปัสสาวะขัดและท้องผูกเป็นประจำไม่ควรกิน

 

กินอาหารเป็นยา เครื่องยาจีน อาหารจีน สมุนไพรจีน แพทย์แผนจีน แพทย์จีน ยาจีน

 

7. แป๊ะฮะ

รสชาติและสรรพคุณ แป๊ะฮะขาวถือว่าดีที่สุด รสหวานอมขม มีธาตุเป็นกลาง ชุ่มปอด แก้ไอ ทำให้จิตใจสงบ มักใช้กับผู้ป่วยวัณโรค และแก้อาการนอนไม่หลับได้ผลดี

วิธีปรุง

  1. แป๊ะฮะสด 200 กรัมผสมน้ำผึ้งครึ่งถ้วย นึ่งให้นิ่ม อมจะช่วยให้ชุ่มคอ
  2. แป๊ะฮะและลูกพุทราเปรี้ยวอย่างละ 50 กรัม ต้มน้ำดื่ม บำบัดอาการนอนไม่หลับ

ผู้ไม่ควรบริโภค ผู้ที่ม้ามและกระเพาะพร่อง – เย็นไม่ควรกิน

 

8. ตังกุย

รสชาติและสรรพคุณ รสหวานอมเผ็ด มีธาตุอุ่น บำรุงเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียน แก้ปวดประจำเดือน หล่อลื่นลำไส้ ระบายท้อง เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง ร่างกายเหลืองซูบ ประจำเดือนขาด และแก้อาการบวมได้อีกด้วย

วิธีปรุง

  1. ตังกุย 9 กรัม อึ่งคี้ 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม ต้มได้ 2 ครั้ง บำบัดโรคโลหิตจาง
  2. ทำซุปน้ำข้นใส่ปลาไหล

ผู้ไม่ควรบริโภค ผู้มีอาการปอดพร่อง ร้อนใน หรือเพิ่งหายจากการอาเจียนมีเลือดปนไม่ควรกิน และการกินตังกุยเป็นประจำจะทำให้มีอาการเจ็บคอและจมูกร้อนได้

 

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.