ตั้งครรภ์ ภูมิแพ้ หืด หอบ หวัด แพ้อากาศ ตั้งท้อง

โรคภูมิแพ้ ในคุณแม่ ตั้งครรภ์

ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์

มีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว ปริมาณน้ำในร่างกาย ปริมาณเลือดเกลือโซเดียม ทำให้หัวใจต้องทำงานมากขึ้น

ในระยะแรกของการตั้งครรภ์ จะพบว่ามีการหายใจลำบากในช่วงเวลานอนได้สูงถึง 75 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่พบว่ามีอาการไอหรือหอบร่วมด้วย

ในระยะท้ายๆ ของการตั้งครรภ์ จะพบว่าปริมาตรของอากาศที่เหลือค้างอยู่ในปอดหลังจากหายใจออกตามปกติลดลง ทำให้ปอดบางบริเวณไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้สมบูรณ์ ซึ่งอาจทำให้อาการของโรคหืดเลวลง

นอกจากนี้ร่างกายยังมีการสร้างสารต่างๆ ที่อาจมีผลต่อการหดหรือขยายตัวของหลอดลม เช่น สารที่สร้างจากรก อาจทำให้โรคหืดมีอาการกำเริบขึ้น ร่างกายจะสร้างสารสเตียรอยด์บางอย่างเพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเดือนสุดท้ายและในตอนคลอด ซึ่งอาจทำให้โรคหืดดีขึ้น แต่ก็พบว่าอวัยวะต่างๆ อาจตอบสนองต่อสเตียรอยด์ดังกล่าวน้อยลงด้วย

 

ตั้งครรภ์ ภูมิแพ้ หืด หอบ หวัด แพ้อากาศ ตั้งท้อง

ผลกระทบของการตั้งครรภ์ต่อโรคหืด

เมื่อผู้ป่วยโรคหืดตั้งครรภ์ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคไปได้ 3 แบบ คือ

หนึ่งในสามของผู้ป่วยอาการคงเดิม

หนึ่งในสามอาการทุเลาลง

และอีกหนึ่งในสามอาการกำเริบมากขึ้น ซึ่งส่วนมากมักมีอาการกำเริบในช่วงสัปดาห์ที่ 29-36 ของการตั้งครรภ์

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักมีอาการดีขึ้นในช่วง 36-40 และรวมถึงระหว่างการคลอดด้วย

มีคนไข้ไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นั ที่โรคกำเริบระหว่างคลอด

หลังคลอดแล้วประมาณ 3 เดือน 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจะกลับมีอาการแบบเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์

ส่วนการตั้งครรภ์ครั้งต่อมา 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วย จะมีลักษณะการดำเนินโรคของโรคหืดระหว่างตั้งครรภ์คล้ายคลึงกับการตั้งครรภ์ครั้งก่อน

 

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.