โรคติดต่อ โรคหน้าฝน หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลืดออก ฉี่หนู ไข้หวัด

5 โรคติดต่อ ควรเฝ้าระวังพิเศษ และกลุ่มโรคที่พบบ่อยในหน้าฝน

5. โรคเยื่อบุตาอักเสบหรือโรคตาแดง

โรคนี้ติดต่อได้ง่ายด้วยการสัมผัส ไม่ว่า จะเป็นมือ แขน เสื้อผ้า หรือของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า หากสิ่งเหล่านี้ไปสัมผัสเชื้อไวรัส ตามที่ต่างๆ หรือในน้ำสกปรก แล้วเผลอมาป้ายตา เข้า เชื้อไวรัสจะเข้าสู่ดวงตาทันที ทำให้เกิดอาการ เคืองตา คันตา รู้สึกเหมือนมีสิ่งแปลกปลอม อยู่ในตา น้ำตาไหลตามมา และหากติดเชื้อ แบคทีเรียร่วมด้วยจะทำให้มีขี้ตามากหลังตื่นนอน ทำให้แทบจะลืมตาไม่ขึ้น

วิธีป้องกันคือ หมั่นดูแลความสะอาดของ ร่างกาย ล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสหรือขยี้ตา หากมีสิ่งแปลกปลอมเข้าดวงตา ควรล้างด้วยน้ำ สะอาดหรือน้ำยาล้างตา ไม่ใช้เสื้อผ้า ของใช้ ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และหลีกเลี่ยงการว่ายน้ำ ในช่วงตาแดงระบาด

โรคติดต่อ โรคหน้าฝน หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลืดออก ฉี่หนู ไข้หวัด

Did you know?

มีประกาศของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงหน้าฝนของประเทศไทย พ.ศ. 2562 เพื่อให้ประชาชนเฝ้าระวังและดูแลตัวเองโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง คือ กลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ซึ่งมีกลุ่มโรคที่พบได้บ่อยและควรเฝ้าระวัง ดังนี้

  • กลุ่มโรคติดต่อทางระบบหายใจ โรคที่ควรจับตา ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ พบได้ในทุกช่วงวัย ส่วนโรคปอดบวม หรือ โรคปอดอักเสบ เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อทางการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรือไอจามรดกัน ป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำร่างกายให้อบอุ่น หมั่นล้างมือไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • กลุ่มโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ โรคที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ อหิวาตกโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนในอาหาร น้ำดื่ม หรือจากแมลงวันที่เป็นพาหะนำโรค ส่วน โรคไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่ง น้ำลาย เลือดจากผู้ป่วย ทั้ง 2 โรคป้องกันด้วยการกินอาหารปรุงสุกใหม่ไม่มีแมลงวันตอม หลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ ดื่มน้ำสะอาด และฉีดวัคซีนป้องกันโรค
  • กลุ่มโรคที่มียุงเป็นพาหะ โรคที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่ โรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบ โรคมาลาเรีย โรคไข้ปวดข้อยุงลาย และ โรคติดเชื้อไวรัสซิกา ทั้งหมดป้องกันได้ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงและป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด
  • กลุ่มโรคติดต่ออื่นๆ ที่มักพบบ่อย ได้แก่ โรคมือเท้าปาก พบมากในเด็ก ระบาดทุกปีช่วงฤดูฝนหรือเปิดเทอม ติดต่อจากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระของผู้ป่วย ส่วน โรคเลปโตสไปโรซิสเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนังที่แช่น้ำนานจนอ่อนนุ่ม
  • กลุ่มภัยสุขภาพในฤดูฝน ภัยสุขภาพดังกล่าว ได้แก่ เห็ดพิษ จึงไม่ควรกินเห็ดที่ไม่รู้จัก ส่วนอันตรายจากสัตว์มีพิษ ป้องกันโดยจัดบ้านให้สะอาด ระมัดระวังเมื่อต้องเข้าไปในที่รก หรือเมื่อฝนตกฟ้าคะนองให้หลบในที่ปลอดภัย เช่น อาคารขนาดใหญ่ ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือกลางแจ้ง เพราะจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามาในโทรศัพท์มือถือได้ สุดท้ายคืออุบัติเหตุทางรถ ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง เพราะฝนตกถนนลื่นทำให้ระยะการหยุดรถยาวกว่าปกติ การมองเห็นลดลง

 

ข้อมูลจาก คอลัมน์ HOT ISSUE นิตยสารชีวจิต ฉบับ 498


บทความน่าสนใจอื่นๆ

เช็กโรคมากับหน้าฝน ไข้เลือดออก อาการ ที่ต้องสังเกต

ดูแลผิวหน้าฝน รับมือเชื้อรา แบคทีเรีย ที่มากับความชื้นทำร้ายผิว

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.