โรคติดต่อ โรคหน้าฝน หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลืดออก ฉี่หนู ไข้หวัด

5 โรคติดต่อ ควรเฝ้าระวังพิเศษ และกลุ่มโรคที่พบบ่อยในหน้าฝน

2. โรคไข้หวัดใหญ่

โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ซึ่งเกิดจากเชื้อไข้หวัด ชนิดเอช 1 เอ็น 1 (H1N1) ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากไวรัสชนิดเดิม มาก นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่าสายพันธุ์ A สายพันธุ์ B เชื้อที่ เปลี่ยนไปนี้เองทำให้คนส่วนใหญ่ไม่มีภูมิคุ้มกัน จึงเกิดการระบาด ได้ง่าย อีกทั้งอาการรุนแรง เช่น ไข้สูง 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว ปวดศีรษะ หนาวสั่น อ่อนเพลีย เจ็บคอ และบางรายอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยวิธีการรักษา นอกจากรักษาตามอาการแล้ว ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับยาต้าน ไวรัสด้วย

อย่างไรก็ดี วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีนป้องกัน ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เพื่อลดความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะ ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์ เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคปอด โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคไตวาย โรคมะเร็ง โรคทาลัสซีเมีย โรคอ้วน และผู้ติดเชื้อเอชไอว

 

3. โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกจัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อที่เกิดจาก ยุง ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเด็งกี (Dengue Virus) ซึ่งมีด้วยกัน 4 สายพันธุ์ มียุงลายตัวเมีย เป็นพาหะนำโรค ในช่วงหน้าฝนมียุงลายเติบโตเป็น จำนวนมาก ส่งผลให้โรคไข้เลือดออกมักแพร่ระบาด ในช่วงหน้าฝนมากที่สุด ผู้ป่วยที่เคยได้รับเชื้อไวรัส สายพันธุ์ใดจะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น ดังนั้น หากได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่ต่างออกไปก็ย่อมมีโอกาส เป็นไข้เลือดออกได้อีก ที่สำคัญการติดเชื้อครั้งที่สอง มักรุนแรงกว่าครั้งแรก บางรายอาจเกิดภาวะไหลเวียน เลือดล้มเหลว ความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง และ มีโอกาสเสียชีวิตได้

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสสำหรับโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะ ส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการและรักษา แบบประคับประคอง จึงควรป้องกันด้วยการกำจัด ลูกน้ำยุงลายในบ้านให้หมด และอย่าลืมป้องกันยุงกัด ด้วยการจุดยากันยุงหรือกางมุ้งนอน

โรคติดต่อ โรคหน้าฝน หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลืดออก ฉี่หนู ไข้หวัด

4. โรคฉี่หนู

โรคฉี่หนูหรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคในกลุ่ม โรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง ระบาดมากที่สุดในช่วงหน้าฝน เพราะน้ำฝนจะชะล้างเชื้อโรค สิ่งสกปรกจากทุกแห่ง รวมถึงเชื้อแบคทีเรีย เลปโตสไปรามารวมกันในจุดที่น้ำท่วมขัง โดยเชื้อที่มีชีวิตจะอยู่ในแหล่งน้ำ ได้นานถึง 30 วัน สาเหตุที่เรียกว่าโรคฉี่หนู เนื่องจากเชื้อเลปโตสไปราอยู่ใน ปัสสาวะของสัตว์ที่เป็นพาหะโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนู นอกจากนี้ยังพบในหมู วัว ควาย และสุนัขด้วย การติดต่อของโรค หากผู้มีบาดแผลหรือรอย ขีดข่วนที่ผิวหนัง หรือผิวหนังเปื่อยจากการแช่น้ำนาน ๆ ไปสัมผัสเชื้อนี้เข้า จะสามารถติดเชื้อได้ โดยอาการคือมีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อโดยเฉพาะบริเวณน่อง หลัง และต้นคอ คลื่นไส้ อาเจียน ตาเหลือง ตัวเหลือง ความดันโลหิตต่ำ ต่อมาตับและไตจะทำหน้าที่ผิดปกติ บางรายพบอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ กำจัดขยะไม่ให้เป็นที่อาศัยของหนู หากมีบาดแผล ที่ผิวหนังควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ สัมผัสแหล่งน้ำที่ท่วมขัง โดยเฉพาะ เกษตรกรหรืออาชีพที่ต้องสัมผัสกับน้ำบ่อย ๆ ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เช่น สวมรองเท้าบู๊ตยาง และควรทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งที่สัมผัส น้ำท่วมขัง

 

 

 

 

 

<< โรคติดต่อหน้าฝนมีอีกหนึ่งโรค อ่านต่อหน้าที่3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.