เพชรสังฆาต สมุนไพร

เพชรสังฆาต สู่งานวิจัยอาหารเสริมบำรุงกระดูก

เพชรสังฆาต สู่อาหารเสริมบำรุงกระดูก

เพชรสังฆาต สมุนไพรไทย โบราณบอกว่า ถ้าอยากกระดูกแข็งแรงต้องกินอาหารพวกกระดูก อย่างพวกกระดูกหรือก้างปลา หรือสมุนไพรรูปร่างคล้ายกระดูก เช่น เพชรสังฆาต นอกจากใช้ในการรักษาริดสีดวงตามที่ระบุในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว หมอยาพื้นบ้านในเมืองไทย อินเดีย พม่า แอฟริกา ใช้เป็นสมุนไพรเพื่อประสานกระดูกในกรณีกระดูกหัก มีการศึกษาวิจัยมากมาย ในการต้านการอักเสบ   ต้านอนุมูลอิสระ ลดปวด ลดการสลายตัวของกระดูก ช่วยซ่อมแซมและประสานกระดูกที่แตกหัก ช่วยเปลี่ยนไขมันเป็นกล้ามเนื้อ และควบคุมนำ้หนัก

ซึ่งในสหรัฐอเมริกาก็มีผลิตภัณฑ์จำหน่าย เป็นอาหารเสริมบำรุงกระดูกและข้อ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ควบคุมน้ำหนัก เราจึงให้ทุนและสนับสนุนวัตถุดิบให้กับนักวิจัยที่สนใจไปทำ และพบว่า สมุนไพรชนิดนี้ มีศักยภาพที้จะนำมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหากระดูกและข้อ

ทุก 3 วินาที กระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน 1 ราย

ทั่วโลกมีผู้หญิงที่เป็นโรคกระดูกพรุนประมาณ 200 ล้านคน และคาดการณ์ว่าทุกๆ 3 วินาที จะมีคนกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน 1 ราย และทุกๆ 22 วินาที จะมีคนกระดูกสันหลังทรุด 1 ราย ในกลุ่มคนที่อายุเกิน 50 ปีทั่วโลก จะมีผู้หญิงอย่างน้อย 1 ใน 3 คน และผู้ชายอย่างน้อย 1 ใน 5 คน เคยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ส่วนสถานการณ์ในประเทศไทย ยังไม่มีการศึกษาสถิติโรคกระดูกพรุนเป็นรายปี แต่จากสถิติจำนวนประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ความชุกของโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นเช่นกันโดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป จะพบโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าร้อยละ 50 ข้อมูลที่น่าสนใจกว่านั้นคือ ผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกพรุนมีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งปากมดลูก

การรักษาในปัจจุบันแม้จะได้ผลดี แต่ก็ยังมีข้อจำกัดการใช้ยาในผู้ป่วยบางกลุ่ม  และผลข้างเคียงของการใช้ยาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต นอกจากนั้นแล้วค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคนี้สูงมาก ทั้งราคายา หรือแม้กระทั่งค่าผ่าตัดในกรณีที่กระดูกหัก สมุนไพรจึงนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ประชาชนเลือกใช้ แต่ก็ยังมีการศึกษาวิจัยไม่มากนัก มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนายาสมุนไพรจากฐานภูมิปัญญา เพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของประเทศ จึงได้สนับสนุนทุนวิจัย ซึ่งได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเพชรสังฆาตในภาวะกระดูกพรุน

เพชรสังฆาต เสริมกระดูกพรุน

นพ.จรัญ บุญฤทธิการ ประธานมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร  ได้กล่าวถึงงานวิจัยชิ้นนี้ว่า “มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นมูลนิธิกิจการเพื่อสังคม ที่มีเป้าหมายในการนำภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพของคนไทยในสมัยก่อน มาใช้ในการดูแลสุขภาะของคนไทยในยุคปัจจุบัน เรามีผลิตภัณฑ์สมุนไพรอภัยภูเบศรที่พัฒนาจากความรู้ภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน ผสมผสานกับเทคโนโลยีการผลิตและการวิจัยสมัยใหม่ ได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและความปลอดภัย ส่วนกำไรที่ได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ก็นำมาใช้ในการวิจัยและสอนประชาชน เรามีทีมวิชาการที่คอยดูแนวโน้มปัญหาการเจ็บป่วยของคนไทย และร่วมกันระดมความคิดว่าจะนำภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยมาทำอะไรได้บ้าง อย่างเช่นโรคกระดูกพรุน เราเห็นแนวโน้มของผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้น เห็นปัญหาด้านค่าใช้จ่ายจากการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ ทีมวิชาการก็ไปศึกษาหาข้อมูลว่ามีงานวิจัยทั่วโลกเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร

เพชรสังฆาต สมุนไพร
Cissus quadrangularis L. (The plant is a herb used for the treatment of hemorrhoids.)

นอกจากเพชรสังฆาต ใช้ในการรักษาริดสีดวงตามที่ระบุในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว หมอยาพื้นบ้านในเมืองไทย อินเดีย พม่า แอฟริกา ใช้เป็นสมุนไพรเพื่อประสานกระดูกในกรณีกระดูกหัก มีการศึกษาวิจัยมากมาย ในการต้านการอักเสบ   ต้านอนุมูลอิสระ ลดปวด ลดการสลายตัวของกระดูก ช่วยซ่อมแซมและประสานกระดูกที่แตกหัก ช่วยเปลี่ยนไขมันเป็นกล้ามเนื้อ และควบคุมนำ้หนัก ซึ่งในสหรัฐอเมริกาก็มีผลิตภัณฑ์จำหน่าย เป็นอาหารเสริมบำรุงกระดูกและข้อ เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ควบคุมน้ำหนัก เราจึงให้ทุนและสนับสนุนวัตถุดิบให้กับนักวิจัยที่สนใจไปทำ และพบว่า สมุนไพรชนิดนี้ มีศักยภาพที้จะนำมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหากระดูกและข้อ

เพชรสังฆาตในห้องทดลอง

จากการวิจัยพบว่า เพชรสังฆาต ช่วยชะลอการสลายของกะดูกทั้งในสัตว์ทดลองและหญิงวัยทองที่มีภาวะกระดูกบาง ในขณะนี้เรากำลังวางแผนจะทำวิจัยเพิ่มเติมให้ครบวงจร เพื่อให้เพชรสังฆาตสามารถพัฒนาต่อยอดไปเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหากระดูกและข้อ นักกีฬาที่ต้องการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก โดยต้องทำงานควบคู่กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้มีการวิจัยที่ถูกทิศทาง ให้สามารถขึ้นทะเบียนเป็นอาหารเสริมได้ เพราะเราเห็นว่ามีความต้องการ หรือ Demand ในผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ ทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ

ชีวจิตออนไลน์ชวนมาเปลี่ยนเมนูจานอร่อยของคุณ มาเป็นเพชรสังฆาตกันดีมะ!!

บทความที่เกี่ยวข้อง

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.