ตรวจสุขภาพ วางแผนมีบุตร วางแผนครอบครัว เตรียมมีลูก

ต้องรู้… ตรวจสุขภาพ ก่อนวางแผนมีบุตร

เทคโนโลยีเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ในผู้มีบุตรยาก

เมื่อ พ.ศ. 2521 เรารู้จักการเกิดขึ้นของเด็กหลอดแก้ว หรือ IVF (in-vitro Fertilization) หรือการปฏิสนธินอกร่างกายเพื่อช่วยเหลือผู้มีบุตรยาก ต่อมาอีก 10 ปี เรามีเทคโนโลยีที่ดีกว่าเดิมคือ การนำเซลล์ของตัวอ่อนที่อายุ 3-5 วัน ออกมาตรวจสอบความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ ก่อนนำตัวอ่อนกลับเข้าไปฝังที่โพรงมดลูก

การตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อนมี 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

  • พีจีดี (PGD : Preimplantation Genetic Diagnosis) หรือ ตรวจหายีนเดี่ยวที่ก่อโรคทางพันธุกรรม เช่น โรงดลหิตจาง ธาลัสซีเมีย และอื่นๆ อีกมากมาย
  • พีจีเอส (PGS : Preimplantation Genetic Screening) หรือ ตรวจหาจำนวนโครโมโซมของตัวอ่อนว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ซึ่งจะทำให้เราสามารถทราบเพศของลูกได้ด้วย

ตรวจสุขภาพ วางแผนมีบุตร วางแผนครอบครัว เตรียมมีลูก

ในปัจจุบันเรายังมีเทคโนโลยีอีกมากมาย เพราะการตั้งครรภ์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวอ่อนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีปัจจัยอื่นที่สำคัญ เช่น ความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูก เทคนิคนี้จะช่วยวิเคราะห์ความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนการฝังตัวซึ่งเรียกว่า Endometrial Receptivity Test ร่วมกับการตรวจ ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) หรือแหล่งพลังงานของเซลล์ในตัวอ่อน (หากพบเซลล์ตัวอ่อนมีไมโทคอนเดรียมากผิดปกติ แสดงว่าตัวอ่อนไม่สมบูรณ์หรืออ่อนแอเพราะแหล่งพลังงานถูกสร้างมากกว่าปกติ ในการยื้อชีวิตัวอ่อนนั้นโอกาสที่จะฝังตัวไม่สำเร็จมีสูง โดยแพทย์จะเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุดใส่กลับเข้าไปในมดลูกในช่วงที่มีความพร้อมมากที่สุด) นับเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้มากกว่า 50%

Endometrial Receptivity Test คือ การตรวจความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกก่อนที่จะย้ายตัวอ่อนเข้ามาฝังตัวอยู่ที่โพรงมดลูก โดยการทดสอบนี้จะเป็นการดูความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก หากหนามากกว่า 7-8 มิลลิเมตร ถือว่าเป็นเยื่อบุโพรงมดลูกที่มีความสมบูรณ์ โดยสามารถตรวจยืนที่เกี่ยวกับความพร้อมในการฝังตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกไปพร้อมๆ กัน

Endometrial Receptivity Test ผลปกติ โอกาสในการตั้งครรภ์จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 50% หรือมากกว่านั้น และลดโอกาสการแท้งบุตร ส่วน การตรวจที่ผลผิดปกติ จะมีอัตราการแท้งบุตร 100% เลยทีเดียว

การตรวจนี้เหมาะกับ

  • ผู้ที่ไม่ประสบผลสำเร็จในการรักษาภาวะการมีบุตรยากมาแล้ว ทั้งๆ ที่ตัวอ่อนมีความสมบูรณ์ คือทำการใส่ตัวอ่อนมาหลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่ตั้งครรภ์
  • เป็นคู่สมรสที่มีอายุมาก เพราะคนที่มีอายุมากตัวอ่อนจะเริ่มมีจำนวนจำกัด ดังนั้นการจะใส่ตัวอ่อนแต่ละครั้งจึงต้องพิจารณาความพร้อมของเยื่อบุโพรงมดลูกให้พร้อมที่สุดจริงๆ ก่อนแล้วจึงค่อยทำการใส่ตัวอ่อน

 

ข้อมูลจาก หนังสือเจาะลึกตรวจสุขภาพ 4.0 สำนักพิมพ์ AMARIN Health


บทความน่าสนใจอื่นๆ

อาหารผู้มีบุตรยาก อะไรที่ควรเพิ่ม – ควรงด

5 เหตุผลที่สาวๆ ควรฝากไข่ เมื่อความพร้อมในการมีบุตรช้าลง

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.