กระดูกสันหลังคด กระเป๋านักเรียน แบกของหนัก

เด็กม. 3 กระดูกสันหลังคด แม่เชื่อ เพราะลูกแบกกระเป๋านักเรียน

เด็ก ม. 3 กระดูกสันหลังคด แพทย์ระบุ อาจมาจากแบกของหนัก

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีคุณแม่ท่านหนึ่งแชร์ผลฟิล์มเอกซเรย์ของลูก พบ กระดูกสันหลังคด และแม่ปักใจเชื่อ กระเป๋านักเรียนเป็นต้นเหตุ เพราะลูกบ่นมาโดยตลอด ลองมาอ่านเนื้อหาข่าว โดยจะขออ้างอิงจาก ไทยรัฐออนไลน์

กระดูกสันหลังคด กระเป๋านักเรียน แบกของหนัก

แพทย์ชี้เกิดจากการแบกของหนัก

วันที่ 29 กรกฎาคม 2562 นางสุภาพ ดีบุญมี ณ ชุมแพ อายุ 40 ปี ชาว จ.ชัยภูมิ โชว์ฟิล์มเอกซเรย์ปอดของ ด.ญ.ปารย์ทองแท้ ดีบุญมี ณ ชุมแพ หรือ น้องโทนี่ อายุ 14 ปี ลูกสาว นักเรียนชั้น ม.3 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จ.ขอนแก่น ซึ่งภาพจากฟิล์มเอกซเรย์ จะเห็นว่ากระดูกสันหลังของน้องคด

นางสุภาพ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา ตนขับรถมาธุระในเมืองขอนแก่น กับลูกสาว ซึ่งตอนนั้นลูกมีอาการไอ ตัวร้อน จึงพาส่ง รพ.เอกชน ในเมืองขอนแก่น แพทย์ได้ทำการตรวจร่างกายและเอกซเรย์ปอด ผลปรากฏปอดปกติ เป็นไข้ธรรมดา และหลอดลมอักเสบ แพทย์จึงทำการรักษาตามอาการป่วย ซึ่งขณะนี้ลูกหายไข้แล้ว แพทย์จึงอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลได้

“ถ้าลูกไม่ป่วยและไม่มาพบแพทย์ที่ รพ.แห่งนี้ ก็จะไม่พบความผิดปกติของกระดูกสันหลังคดงอ แต่แพทย์ที่รักษาลูกครั้งนี้เป็นแพทย์ที่รักษาโรคทั่วไป ไม่ใช่แพทย์เฉพาะทาง หรือโรคกระดูก แต่แพทย์ได้นัดให้มาพบเพื่อตรวจติดตามอาการป่วยอีกครั้งในวันเสาร์ที่จะถึงนี้ แล้วแพทย์จะส่งตัวต่อให้หมอกระดูก จึงจะทราบแผนการรักษาเกี่ยวกับกระดูกที่คดงอต่อไป”

นางสุภาพ กล่าวต่ออีกว่า จากการได้พูดคุยกับแพทย์ ทำให้ทราบว่า อาการกระดูกคดงอนั้น น่าจะเกิดจากการแบกสิ่งของ ซึ่งก็คือกระเป๋านักเรียนที่หนักติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยส่วนตัวคิดว่า เกิดจากการที่ลูกสะพายกระเป๋านักเรียนเช่นกัน เนื่องจากว่า ตั้งแต่ลูกเข้าเรียนในระดับชั้น ม.1 ถึง ม.3 ลูกบ่นปวดหลัง ปวดไหล่ และให้นวดหลังให้บ่อยๆ เพราะการเรียนในระดับมัธยมนั้น นักเรียนต้องสะพายกระเป๋าเดินเรียนตามห้องต่างๆ จึงน่าจะเกี่ยวข้องกับกระดูกหลังของลูกคดงอ

และเมื่อออกจากโรงพยาบาล ก็ต้องไปโรงเรียนตามปกติ ซึ่งจะนำแผ่นเอกซเรย์ เดินทางเข้าพบผู้อำนวยการโรงเรียน เพื่อขอให้ลูกสาวเปลี่ยนจากกระเป๋าเป้ที่สะพายหลัง มาเป็นกระเป๋าแบบลาก ซึ่งยังไม่ทราบว่าจะได้หรือไม่ เพราะคิดว่าถ้าปล่อยให้ลูกใช้กระเป๋าแบบเดิม ลูกอาจจะมีอาการรุนแรงกว่าเดิมได้.

ลองมาดูอีกมุม เกิดอะไรขึ้นกับกระดูกวัยกำลังโตได้บ้าง

ผู้เขียนจะข้ออ้างอิงข้อมูลจากคอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 448 ซึ่งเป็นหัวเรื่องที่พูดถึงการดูแลกระดูกแต่ละช่วงวัย ในสัมภาษณ์โดย แพทย์หญิงซายน์  เมธาดิลกกุล  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคกระดูกในผู้สูงวัย  และเมตาบอลิซึมกระดูก  ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านออร์โธปิดิกส์  โรงพยาบาลเลิดสิน

คุณหมอซายน์อธิบายว่า  สามารถเรียกการเจริญเติบโตของกระดูกในวัยเด็กถึงวัยรุ่นตอนต้นว่าช่วง “สร้าง”และ “เสริม”  คือ เด็กผู้ชายอายุไม่เกิน 18 ปี  และเด็กผู้หญิงอายุไม่เกิน 16 ปี  เป็นช่วงที่กระดูกเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  กระดูกส่วนไหนที่ยังไม่สร้างก็จะสร้างขึ้นในช่วงเวลานี้  นอกจากนี้ยังครอบคลุมทั้งการยืดและขยายของกระดูกทุกส่วน

กระดูกสันหลังคด กระเป๋านักเรียน แบกของหนัก

ปัญหาที่พบบ่อย

กระดูกของเด็กวัยนี้กำลังเจริญเติบโตและจัดโครงสร้างที่ถูกต้อง หากมีอะไรไปทำให้กระบวนการเจริญเติบโตและเสริมสร้างผิดปกติย่อมมีปัญหาตามมา  คุณหมอซายน์ยกตัวอย่างปัญหาที่พบบ่อยๆไว้ ดังนี้

– ปัญหาเกี่ยวกับโภชนาการ  คือ  “การขาดสารอาหาร” หรือ “การได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต”  อาจมาจากผู้ปกครองขาดการดูแลทางโภชนาการ  และเด็กเลือกกิน  กินยาก ก่อให้เกิดภาวะแคลเซียมต่ำ  วิตามินดีต่ำ  สารอาหารที่ใช้เสริมสร้างมวลกระดูกจึงพร่องไป

– ปัญหากระดูกหลังคด  กระดูกผิดรูป  มีผลมาจากพันธุกรรมเป็นสำคัญ  ประกอบกับปัจจัยภายนอก  เช่น  การสะพายกระเป๋าหรือแบกของหนัก  การนั่งเล่นเกมนานๆจนกล้ามเนื้อไม่ได้ขยับเขยื้อนพฤติกรรมเหล่านี้จะส่งผลต่อโครงสร้างภายในกระดูกและมีผลต่อ
ความสูง  ยิ่งการนั่งท่าเดิมนานๆจะทำให้ความสมดุลของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเสียไป  ส่งผลให้รูปลักษณ์ของกระดูกผิดปกติได้

– โรคหรือความผิดปกติของกระดูกตั้งแต่แรกเกิด  จากข้อมูลของ หมอโป้ง- นายแพทย์พิชยา  ธานินทร์ธราธาร  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านศัลยกรรมกระดูก  โรงพยาบาลจุฬาภรณ์  ระบุว่า  โรคหรือความผิดปกติของกระดูกที่อาจพบได้ตั้งแต่แรกเกิด  เช่น  โรคข้อสะโพกหลุดตั้งแต่กำเนิด [Developmental Dysplasia of Hip (DDH)] ซึ่งแพทย์สามารถตรวจอัลตราซาวนด์พบในทารกตั้งแต่แรกเกิดจากการดูลักษณะกระดูกสะโพกว่า  ส่วนของเบ้าสะโพกกับกระดูกต้นขาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่  เพราะโรคนี้จะทำให้เด็กมีปัญหาด้าน
พัฒนาการการเดิน  การทรงตัว  รวมไปถึงมีผลต่อโครงสร้างของร่างกาย

แต่หากได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง  เด็กก็มีโอกาสที่จะใช้ชีวิตอย่างปกติและเติบโตอย่างสมบูรณ์ได้  ซึ่งโรคนี้มักพบในเด็กยุโรปมากกว่าเด็กเอเชีย

-ประสบอุบัติเหตุ  นอกจากนี้ความผิดปกติของกระดูกในเด็กวัยนี้อาจเกิดจากอุบัติเหตุ  เช่น  เด็กล้มแล้วเอื้อมมือยึดหรือคว้าบางอย่างไว้  หรือแม้กระทั่งผู้ปกครองที่รีบฉุดรั้งแขนเด็กไว้ขณะล้มการจูงลูกจนเด็กชูสุดแขน  อาจก่อให้เกิดปัญหาแก่เด็กได้ทั้งสิ้น เด็กที่อายุประมาณ 5 – 9 ขวบ  กล้ามเนื้อ  เอ็น  และข้อศอกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์  การกระทำและอุบัติเหตุดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติฉับพลันที่เรียกว่า  กระดูกข้อศอกเคลื่อน (Pulled Elbow)  ทำให้เด็กรู้สึกเจ็บ  ไม่ยอมใช้แขนข้างนั้น  ต้องใช้เวลารักษาหลายสัปดาห์  ผู้ปกครองจึงควรระวังการจูงหรือดึงแขนเด็กวัยนี้

จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การแบกของหนัก ก็ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยให้เกิดความผิกปกติของกระดูกในวัยเจริญเติบโตได้ค่ะ


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

3 โรคร้ายที่เมื่อเป็นแล้ว ทำให้มีภาวะเสี่ยงเป็น กระดูกพรุน

เมนูแคลเซียม เพิ่มมวลกระดูก ผู้สูงวัย

ข้อระวังต้องรู้ก่อน เสริมแคลเซียม

Summary
Review Date
Reviewed Item
การดูกคด
Author Rating
51star1star1star1star1star

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.