ตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง โรคตับ ไขมันพอกตับ มะเร็งตับ ตับอ่อน

“ตับ” ของเราป่วยด้วยอาการใดได้บ้าง

รู้หรือไม่

คนส่วนใหญ่เมื่อป่วย ไม่ว่าจะเจ็บคอ ไอ เป็นไข้หวัด ฯลฯ ก็มักจะหาซื้อยาแก้อักเสบกลุ่มเพนิซิลลินมารับประทานเอง แต่จริงๆ แล้วเป็นการใช้ยาผิดวิธี ส่วนใหญ่แล้วเมื่อเราเจ็บคอมักเกิดจากเชื้อไวรัส แต่ยาปฏิชีวนะกลุ่มเพนิซิลลินเป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ฉะนั้นการรับประทานยาปฏิชีวนะจึงไม่ใช่การรักษาที่ตรงจุด ซ้ำยังเพิ่มความเสี่ยงในการแพ้ยา และเพิ่มอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาอีกด้วย

ปัจจุบันเราไม่สามารถคิดค้นยาปฏิชีวนะตัวใหม่ได้ทันต่อการเกิดเชื้อดื้อยาได้แล้ว ทำให้โอกาสในการรักษาผู้ป่วยบางร้ายเหลือน้อยมาก

นอกจากนี้วิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสได้ จึงต้องรักษาตามอาการ หากเจ็บคอก็รับประทานยาแก้เจ็บคอ หากมีน้ำมูกก็รับประทานยาลดน้ำมูกจากนั้นก็ปล่อยให้ร่างกายเยียวยาตัวเอง

อาการ

ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มีโรคแทรกซ้อนใดๆ ส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการของโรคตับจนกว่าโรคจะดำเนินสมาสู่ระยะท้าย คือเป็นตับแข็ง มีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง อ่อนเพลีย คลื่นไส้ มีไข้ ท้องบวม เท้าบวม และหากอยู่ในระยะรุนแรงก็อาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือดด้วย

กลุ่มเสี่ยง

ส่วนใหญ่จะเกิดในผู้ที่รับประทานยาพร่ำเพรื่อ เช่น ไม่ได้เป็นโรคใดๆ ก็รับประทานยาไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นยาแพทย์แผนปัจจุบัน หรือแพทย์แผนโบราณ

นอกจากเหตุผลหลักที่กล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ตับอักเสบจากการใช้ยาได้อีกเช่นกัน คือ

  • พันธุกรรม บางคนอาจมีลักษณะทางพันธุกรรมที่ตอบสนองต่อยาบางชนิดต่างจากคนทั่วไป ส่งผลให้อาจเกิดการแพ้ยา และเป็นอันตรายต่อตับได้ เช่น ความผิดแผนทางพันธุกรรมของเองไซม์เปลี่ยนแปลงยา (Metabolism) หรือความผิดแผกของความไว (Sensitivity) ในการตอบสนองต่อยา แต่ส่วนใหญ่แพทย์จะมีการตรวจวินิจฉัยก่อนจ่ายยาให้ผู้ป่วยเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นสำคัญ
  • ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับตับ เช่น  โรคตับแข็ง โรคไวรัสตับอักเสบ มีมีโอกาสเสี่ยงที่ตับจะเสียหายจากการใช้ยามากกว่าผู้ที่มีตับปกติ เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นโรคตับบางราย ตับของเขาเสียหายมากแล้ว ส่งผลให้การทำงานของตับบกพร่องไป จนอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงสารเคมีต่างๆ ที่ผิดพลาดไป เกิดเป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อตับได้ และอาการมากจากทุนสำรองน้อง

ตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง โรคตับ ไขมันพอกตับ มะเร็งตับ ตับอ่อน

การวินิจฉัย

แพทย์จะซักประวัติผู้ป่วยว่ามีพฤติกรรมใดบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับ เพื่อจะได้รู้ว่าสาเหตุของการอักเสบนั้นเกิดจากปัจจัยใด จากนั้นจึงทำการตรวจเลือดวัดค่า AST และ ALT เพื่อดูความผิดปกติของการทำงานของตับ อาจมีการอัตราซาวนด์หรือเอกซเรย์ช่องท้อง เพื่อตรวจดูความเสียหายของตับ หรืออีกวิธีหนึ่งคือการเจาะเนื้อตับเพื่อตรวจวัดปริมาณพังผิด

ทั้งนี้หากข้อมูลต่างๆ บ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีอาการตับอักเสบหรือตับแข็ง โดยมีสาเหตุจากการใช้ยา แพทย์ก็จะดำเนินการรักษาในลำดับถัดไป

การรักษา

การรักษาหลักๆ คือต้องหยุดตัวต้นเหตุ นั่นคือ หยุดการใช้ยาที่ทำให้ตับอักเสบ อย่างที่ได้กล่าวมาแล้วว่า โดยธรรมชาติของตับนั้นมีกลไกการเยียวยาตัวเองได้ดีในระดับหนึ่ง ฉะนั้นเมื่อเราหยุดการทำลายเซลล์ตับ เซลล์ตับก็สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ตามปกติ ทำให้ตับมีสุขภาพที่ดีขึ้น แต่สำหรับยารักษาโรคบางชนิดอาจไม่มีให้เลือกใช้มากนัก ฉะนั้นเมื่อผู้ป่วยหายจากอาการแพ้แล้ว แพทย์อาจมีการทดลองใช้ใหม่ได้

แต่หากผู้ป่วยมีภาวะตับแข็งมาก แพทย์ก็จะรักษาแบบประคับประคองตามอาการ เช่น บางครั้งผู้ป่วยขาดโปรตีน อาจจะต้องเสริมโปรตีนให้เพิ่มมากขึ้นด้วยการให้กินอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนจำพวกเนื้อสัตว์ นม ไข่ และรับประทานอาหารแบ่งแต่ละมื้อให้ถี่ขึ้นในแต่ละวัน จะทำให้เขาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

 

 

 

 

<< อยากรู้เรื่องตับแข็ง อ่านต่อที่หน้า 4 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.