ผื่นแพ้ยา

8 กลุ่มยาที่ต้องระวังเกิด ผื่นแพ้ยา ชนิดรุนเเรง SJS และ TEN

ผื่นแพ้ยา รุนแแรง ชนิด SJS และ TEN

ผื่นแพ้ยา ชนิดรุนเเรง ทางผิวหนัง หรือเรียกว่า กลุ่มอาการสตีเวนส์จอห์นสันซินโดรม (Stevens-Johnson Syndrome หรือ SJS  และท็อกชิกอีพิเดอร์มัลเนโครไลซิส Toxic Epidermal Necrolysis TEN) แม้จะพบได้น้อยประมาณ 2. 3-6. 7 คนในประชากร 1 ล้านคนแต่ก็มีอันตรายร้ายแรงอาจถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

ข้อมูลจาก ภญ. พวงเพ็ญ ฤทธิ์วีรกูล กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้อธิบายไว้ดังนี้

ปฏิกิริยานี้ไม่เกี่ยวข้องกับกลไกการออกฤทธิ์ของยา โดยตรงจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาวิจัยหลายชิ้นที่ระบุว่า การเกิดผื่นแพ้ยารุนแรงมีความสัมพันธ์กับลักษณะทางพันธุกรรมของผู้ป่วยแต่ละรายได้ เช่นยา Carbamazepine และยา Phenytoin กับสารพันธุกรรมชนิด HLA-B * 1502, ยา Allopurinol กับสารพันธุกรรมซนิต HLA B * 5801, ยา Nevirapine กับสารพันธุกรรมชนิด HLA-B “3505 และยา Sulfonamide กับสารพันธุกรรมชนิด HLA-A29, B12 และ DR7 เป็นต้น

รายการยาที่มีหลักฐานชัดเจนว่าการเกิด ผื่นแพ้ยา ชนิดรุนเเรง  SJS / TEN 

1. ยารักษาโรคเกาต์และยาลดกรดยูริก: Allopurinol

2. ยากันชัก Carbamazepine, Phenobarbital, Phenytoin และ Lamotrigine

3. ยาแก้ปวดหรือยาต้านการอักเสบกลุ่ม NSAIDs: Ibuprofen, Meloxicam, Piroxicam, Tenoxicam, Celecoxib และ Paretoxib

4. ยาต้านไวรัสเอชไอวี (HIV): Nevirapine, Abacavir

5. ยากลุ่มซีลไพบาเมดได้แก่ CO-trimoxazole Sutadiazine, Sufadoxine, Sulfafurazole, Sulfamethoxazole และ Sulfasalazine

6. ยากลุ่มเพนนิซิลิน: Amoxicillin

7. ยารักษาวัณโรค: Rifampicin, Isoniazid และ Ethambutol

8. ยารักษาโรคผิวหนังอักเสบคล้ายเฮอร์ปิส / ยารักษาและป้องกันการติดเชื้อบางชนิด: Dapsone

ผื่นแพ้ยา
Result of allergy testing on working table in working environment of doctor of internal medicine, allergologist, general practice, pediatrician top view top-down photo surrounded by stethoscope, drugs

อาการผื่นแพ้ยารุนแรง

อาการนำ: ก่อนมีผื่นขึ้น 1-14 วันจะมีอาการไข้ปวดศีรษะปวดเมื่อยตามตัวเจ็บคอเป็นหวัดไอปวดข้ออาเจียนถ่ายเหลวบางรายอาจมีไข้สูงลอยประมาณร้อยละ 70 จะมีอาการคล้ายไข้หวัด

อาการสำคัญ: มีผืนตุ่มขึ้นที่ผิวหนังและเยื่อบผิวโดยจะเริ่มที่หน้าคอคางลำตัวแล้วลามไปทั่วร่างกายเริ่มแรกมีลักษณะเป็นผื่นแดงหรือจุดแดงต่อมากลายเป็นตุ่มน้ำพุพองและลอกออก

วิธีลดอันตรายหรือความรุนแรง ผื่นแพ้ยา ให้เกิดน้อยที่สุด

1.สังเกตและเฝ้าระวังตนเองอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนแรกของการใช้ยาหากเกิดอาการต่อไปนี้ ได้แก่ มีไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย ร่วมกับอาการผื่นขึ้น แผลในปาก ตาแดง เคืองตา เยื่อบุตาอักเสบ

2. หยุดยาและรีบมาพบแพทย์ทันที

3. หากแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผื่นแพ้ยารุนแรงแล้วต้องจดจำชื่อยาที่แพ้นี้ไว้ และห้ามใช้ยานี้อีกต่อไปเพราะเกิดการแพ้จะยิ่งรุนแรงอันตรายกว่าเดิม รวมทั้งแจ้งแพทย์เภสัชกรหรือบุคลากรทางการแพทย์ทราบทุกครั้งที่มาติดต่อสถานพยาบาลหรือร้านขายยา

บทความการใช้ยา

เช็ก 9 อาการแพ้ยาปฏิชีวนะ

แพ้! ยาฆ่าเชื้อ ต้องทำอย่างไรดี

แพทย์เตือนฉีดยาแก้ปวดไดโคลฟีเเนคทำเส้นประสาทบาดเจ็บ

โรคพ่วงจากภูมิแพ้ แก้ได้ด้วยการออกกำลังกาย

อ้างอิง: จดหมายข่าวโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คอลัมน์ สารพันเรื่องยา

Summary
Review Date
Author Rating
51star1star1star1star1star

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.