ฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัด ผ่าตัด หลังผ่าตัด ฟื้นฟูร่างกาย

ฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัด เรื่องสำคัญชี้อนาคตสุขภาพ

วิธีการผ่าตัดใหญ่ 3 ประเภทยอดฮิต

1. การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

คุณหมอรพีพรให้ความรู้ว่า “การผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นเรื่องยากมาก เพราะอวัยวะบริเวณแคบ ทำให้การผ่าตัดมีโอกาสที่จะไปทำร้ายเนื้อเยื่อไขสันหลังแถวนั้นให้บาดเจ็บได้สูง ผ่าตัดเสร็จแล้วเนื้อเยื่อไขสันหลังมีโอกาสบวมได้สูง

“หลังผ่าตัดคนไข้จะมีอาการปวดมาก จึงพยายามนอนนิ่งๆ ปัญหาที่พบบ่อยหลังผ่าตัดคือ ถ้าไม่พยายามขยับคนไข้ให้เคลื่อนไหวจะเกิดแผลกดทับได้ง่าย แต่ถ้าขยับเคลื่อนไหวไม่เหมาะสมก็กระทบกระเทือนแผลผ่าตัด ดังนั้นหลังผ่าตัดจึงมีความหมายมาก”

คุณหมอรพีพร ได้สรุป การฟื้นฟูและดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อย่างเป็นขั้นเป็นตอนไว้ ดังนี้

  1. ดูแลใกล้ชิดขณะพักฟื้นในโรงพยาบาล วันที่หนึ่งถึงวันที่สองแพทย์และญาติต้องช่วยกันดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะจะยังไม่ให้คนไข้เคลื่อนไหวหรือออกแรง ต้องพลิกตัวคนไข้ทุกสองชั่วโมงเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปที่ต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณของก้น เพราะจะถูกกดทับสูง พยายามให้คนไข้เคลื่อนไหวให้เร็วที่สุด โดยเรามักให้คนไข้เริ่มเคลื่อนไหวในวันที่สามหลังการผ่าตัด เพราะแผลเริ่มสมานและอาการปวดน้อยลง
  2. พยายามเคลื่อนไหวและฝึกเดิน ในรายที่มีปัญหาเรื่องการเดินตั้งแต่ก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดจะยิ่งมีปัญหา ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์กายภาพบำบัดอย่างใกล้ชิด
  3. ปรับอิริยาบถต่อเนื่องเมื่อกลับบ้าน เพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว ช่วงหลังการผ่าตัดกลับไปอยู่ที่บ้าน การปรับเปลี่ยนอิริยาบถถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะถ้าอิริยาบถของคนไข้ยังไม่เหมาะสม ในอนาคตก็ทำให้กลับมาเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้อีก

 

ฟื้นฟูร่างกายหลังผ่าตัด ผ่าตัด หลังผ่าตัด ฟื้นฟูร่างกาย หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

คุณหมอรพีพร แนะนำว่าควรปรับอิริยาบถ ดังนี้

  • การก้มเก็บของ ต้องนั่งยองๆ ห้ามก้มตัวลงเก็บขณะยืนอยู่
  • การนั่ง พยายามนั่งหลังตรง ปรับพนักเก้าอี้ให้หลังตรง เลือกเก้าอี้ที่นุ่มพอประมาณไม่นุ่มจนนั่งแล้วยวบลงไป
  • การนอน ล้มตัวลงนอน คือนั่งลงข้างๆ เตียงก่อน ค่อยๆ ตะแคงตัวลง แล้วพลิกตัวนอนหงาย ที่นอนควรเป็นที่นอนที่แข็งพอสมควร เช่น ที่นอนใยมะพร้าว ไม่แนะนำที่นอนนุ่มๆ เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังโค้งตัวไปด้วย
  • การช่วยพยุงหลัง ใช้ผ้าคาดเอวช่วยพยุงหลัง ช่วยไม่ให้คนไข้งอหลัง เพราะการงอหลังทำให้น้ำหนักลงที่ข้อที่มีปัญหาหรือลงที่ข้อบางข้อมากเกินไป
  • เปลี่ยนห้องน้ำ เปลี่ยนห้องน้ำเป็นชักโครก เพื่อไม่ให้คนไข้งอหลังมาก

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.