รังไข่ มะเร็ง มะเร็งรังไข่ โรคของผู้หญิง อวัยวะเพศหญิง

รู้จัก+ป้องกันมะเร็ง รังไข่

นอกจากคลำเจอก้อนที่ท้องน้อย อาการของมะเร็งรังไข่

1. ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ

ร้อยละ 20 ของมะเร็งรังไข่เท่านั้นที่วินิจฉัยได้ในระยะเริ่มแรกทำให้มีชีวิตอยู่รอดนาน 5 ปี (หลังการรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์) ร้อยละ 94

ร้อยละ 80 มาพบแพทย์ในระยะหลังแล้ว เนื่องด้วยมะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่ไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่มีอาการ เมื่อพบก็อาจจะลุกลามไปที่อวัยวะอื่นๆ แล้ว

2. มีอาการผิดปกติ

อาการของมะเร็งรังไข่นั้นไม่จำเพาะเจาะจงว่าอาการใดจะเป็นมะเร็งรังไข่

อาการที่เล่าต่อไปนี้อาจะเป็นอาการของโรคอื่นๆ เช่น เนื้องอกธรรมดาของรังไข่ เนื้องอกธรรมดาของมดลูกก็ได้

 

อาการผิดปกติที่บ่งบอกว่าอาจจะเป็นมะเร็งรังไข่

– แน่นท้อง อืดท้อง

– กินอาหารได้น้อย อิ่มเร็ว จากมะเร็งรังไข่ที่มีขนาดใหญ่ หรือเพราะมะเร็งรังไข่ผลิตน้ำออกมาในช่องท้อง

– ท้องโตขึ้นเพราะก้อนมะเร็งรังไข่ หรือเพราะมีน้ำในช่องท้อง

– ปวดท้อง ซึ่งมีทั้งปวดท้องน้อยและปวดทั่วท้อง

– ปัสสาวะผิดปกติ เพราะก้อนมะเร็งรังไข่ทับหรือระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแล้วรู้สึกไม่สุด ปัสสาวะแสบขัด

– อ่อนเพลีย ซีด ไม่มีแรง (หากเป็นมากแล้ว)

– ปวดหลัง ในรายที่มะเร็งรังไข่รบกวนเส้นประสาทหลัง

– เจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์

– ท้องผูก จากมะเร็งรังไข่กดทับลำไส้ใหญ่หรือกระจายไปยังลำไส้ใหญ่

– ประจำเดือนผิดปกติ เช่น มากะปริบกะปรอย มามาก มานาน จากการที่มะเร็งรังไข่สร้างฮอร์โมนเพศ หรือมะเร็งรังไข่รบกวนการทำงานของรังไข่

– ปวดประจำเดือน จากมะเร็งรังไข่ชนิดที่สร้างฮอร์โมน

– อาการของระบบอื่นๆ ที่มะเร็งรังไข่กระจายไป เช่น หายใจ เหนื่อยหอบ เจ็บในอก เมื่อกระจายไปที่ปอด อ่อนเพลีย ตาเหลือง ตัวเหลือง เมื่อกระจายไปที่ตับ คลำก้อนได้ที่คอ ไหปลาร้า เมื่อกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ฯลฯ

รังไข่ มะเร็ง มะเร็งรังไข่ โรคของผู้หญิง อวัยวะเพศหญิง

การป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่

แทบจะกล่าวได้เลยว่า ผู้หญิงทุกคนเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ สิ่งที่อาจช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่ได้มีดังนี้

  1. ปากต้องตัดมดลูกเพราะสาเหตุอื่นๆ เช่น เนื้องอกมดลูก ควรปรึกษาแพทย์ถึงการตัดรังไข่ทั้งสองข้างด้วย แม้อยู่ในวัยหมดประจำเดือน รังไข่หยุดทำงานแล้ว แต่ยังมีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ได้
  2. พิจารณาตัดรังไข่ทิ้งทั้งสองข้าง หากเป็นมะเร็งที่อาจกระจายไปที่รังไข่ เช่น เป็นมะเร็งรังไข่อีกข้าง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม ที่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้องอยู่แล้ว
  3. ให้รงไข่มีโอกาสหยุดทำงานมากที่สุด เช่น แต่งงานเร็ว มีลูกก่อนอายุ 30 ปี มีลูกหลายคน ให้นมบุตรนานกว่า 6 เดือน กินยาคุมกำเนิด
  4. มีวิถีที่สงบ ไม่เครียด ไม่ปล่อยให้อ้วน ไม่กินอาหารไขมันสูง กินผักผลไม้ให้มากพอ

 

จาก หนังสือต้านมะเร็งรังไข่ สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ


บทความน่าสนใจอื่นๆ

11 CHECKLIST สาเหตุมะเร็งรังไข่คุณผู้หญิง

ป้องกันมะเร็งรังไข่อย่างไร เรียนรู้ก่อนจะสาย

เช็กอาการซีสต์รังไข่ชนิดไหนยุบได้ ชนิดไหนใช่มะเร็ง

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.