กระดูกพรุน กระดูก วัยทอง โรคไต โรคเบาหวาน โรคถุงลมโป่งพอง

3 โรคร้ายที่เมื่อเป็นแล้ว ทำให้มีภาวะเสี่ยงเป็น กระดูกพรุน

2. โรคไต (Kidney Disease)

ไตที่อยู่ในภาวะปกติทำหน้าที่กำจัดของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากกระแส ซึ่งของเสียและน้ำส่วนเกินนั้นคือ ปัสสาวะ

ส่วนผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไตไม่สามารถขับของเสียและน้ำที่เกินออกจากกระแสโลหิตได้ ทำให้ของเสียและของเหลวคั่งอยู่ในกระแสเลือดมากเกินไป จนเกิดภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ในระยะแรกผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังอาจไม่พบอาการผิดปกติ แต่อาการในระยะสุดท้ายผู้ป่วยต้องล้างไตหรือเข้ารับการเปลี่ยนไตจึงจะมีชีวิตอยู่ได้

เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยโรคไตน้ันมีภาวะฟอสเฟตคั่ง ร่างกายขับฟอสเฟตออกไม่ได้ ทำให้มีฮอร์โมนพาราไทรอยด์เพิ่มมากขึ้นจนค่าแคลเซียมในเลือดต่ำมาก ฮอร์โมนพาราไทรอยด์เป็นฮอร์โมนที่สร้างสมดุลของความหนืดและแร่ธาตุต่างๆ ในเลือดสำหรับคนที่ร่างกายปกติ

โดยปกติเมื่อฟอสเฟตในเลือดสูงเกินร่างกายจะพยายามขับออก โดยการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์ออกมาตลอดเวลา เพื่อสร้างสมดุลกรด – ด่างของเลือด เมื่อเลือดมีภาวะเป็นกรดมากเกินไป จึงทำให้การสร้างกระดูกนั้นลดลงแถมยังเกิดการสลายของมวลกระดูกเพิ่มมากขึ้นมีความเสี่ยงเกิดกระดูกหัก จึงเป็นภาวะของโรคกระดูกพรุน

เมื่อสมดุลของกรด – ด่างในเลือดเสีย เท่ากับความสมดุลของแคลเซียมและฟอสเฟตในมวลกระดูกเสียไปด้วย จึงเกิดภาวะกระดูกพรุนแทรกซ้อนสำหรับผู้ป่วยโรคไตนั่นเอง การรักษาภาวะกระดูกพรุนส่วนใหญ่ต้องมั่นใจว่าไม่มีความผิดปกติของไต ซึ่งยาจะเข้าไปช่วยขับฟอสเฟตออกจากกระดูกได้

กระดูกพรุน กระดูก วัยทอง โรคไต โรคเบาหวาน โรคถุงลมโป่งพอง

นอกจากนี้อีกภาวะหนึ่งในคนไข้โรคไตคือ มีอาการกระดูกยึดหรือข้อต่อติด (Frozen Bone) กระดูกถูกกระตุ้นจากความไม่สมดุลของแคลเซียมและฟอสเฟตในเลือด เกิดการแข็งยึดติด เป็นภาวะกระดูกตาย และเกิดกระดูกเปราะแตกหักง่าย ความยืดหยุ่นของมวลกระดูกหายไป

และอีกหนึ่งปัจจัยคือ ผู้ป่วยโรคไตมักถูกสั่งเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง อาทิ อาหารประเภทไข่แดง นมทุกรูปแบบ รวมทั้งผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต เนยแข็ง งดเครื่องในสัตว์ ปลาทั้งกระดูก เมล็ดพืช ถั่วต่าง ๆ จึงทำให้ผู้ป่วยโรคไตนั้นขาดฟอสเฟตและแคลเซียมในการสร้างมวลกระดูกที่แข็งแรง

 

 

 

 

<< โรคร้ายที่ 3 คือโรค… อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.