อาหารต้านมะเร็ง

5 เมนู สูตร อาหาร ต้านมะเร็ง กินแล้วสตรอง

สูตร อาหาร ต้านมะเร็ง กินแล้วสตรอง

สูตร อาหาร ต้านมะเร็ง มีประโยชน์ เหมาะกับทุกคนในยุคนี้ เพราะปัจจุบัน โรคมะเร็ง เป็นโรคอันดับต้นๆ ที่ทำให้คนเสียชีวิตกันมากขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตอันเร่งรีบ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากกว่าปกติ เช่น การกินอาหารจั้งฟู้ดมากขึ้น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ฝุ่นควันมลพิษ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งได้มากขึ้น

วิธีป้องกันโรคมะเร็ง ที่ทุกคนสามารถทำได้เลยไม่ต้องรอ คือการเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ถูกสุขลักษณะ กินอาหารปรุงสุกใหม่ เเละเลี่ยงอาหารเเช่เเข็ง สำหรับ 5 เมนูต้านมะเร็ง ที่นำมาเเนะนำวันนี้ คิดค้นสูตรและวิธีการปรุง โดยกูรูชีวจิต ป้ายุง ผกา เส็งพานิช

สูตร อาหาร ต้านมะเร็ง เมนูที่ 1  โจ๊กเห็ดหอม

โจ๊กเห็ดหอม เคล็ดลับความอร่อยอยู่ที่ข้าวอาร์ซี ที่มีคุณประโยชน์และคุณค่าทางอาหารมากมาย ช่วยป้องกันโรค อีกทั้งมีเห็ดหอม ที่มีฤทธิ์ช่วยป้องกันโรค ต้านแอนติอกซเเดนท์ ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพช้าลง

เมนูที่ 2 แกงบวด มันสามสี ฟักทอง

มันสามสี และฟักทอง มีสารเเคโรทีน ต้านแอนติออกซิเเดทน์ ป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังเเละโรคมะเร็งได้ อีกทั้งอุดมด้วยวิตามิน เเร่ธาตุต่างๆที่จำเป็นต่อร่างกายด้วย  จากกะทิมะพร้าว เปลี่ยนมาใช้กะทิธัญพืช ที่มีปริมาณไขมันดีสูง  ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

เมนูที่ 3 สมูทตี้ เบอร์รี

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ขึ้นชื่อว่าเป็นผลไม้หลากสีสัน ที่อุดมด้วยวิตามินเเร่ธาตุต่างๆมากมาย มีสารแอนโทไซยานิน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ หรือสารออกซิเเดนท์ ต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเสื่อมของร่างกาย ส่งผลให้เป็นโรคเรื้อรังเเละโรคมะเร็ง

เมนูที่ 4 แกงจับฉ่าย กะหล่ำปลี เต้าหู้

เต้าหู้แหล่งของพลังงานโปรตีนที่มีคุณภาพ ช่วยให้พลังงานเเละส่วนสำคัญของกล้ามเนื้อ เเถมเต้าหู้ยังเป็นฮอร์โมนเพศธรรมชาติด้วย ทดเเทนในกลุ่มของผู้ป่วยวัยทอง เเละหมดประจำเดือน แกงจับจ่าย ยังประกอบด้วย ผัก สมุนไพร อีกหลายชนิดที่มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

เมนูที่ 5 ยำแอปเปิ้ล ปลาสลิด

แอปเปิ้ล ผลไม้รสเปรี้ยวหวาน อุดมด้วยวิตามินซี เเละเเร่ธาตุต่างๆมากมาย เปลือกมีใยอาหารช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจเเละหลอดเลือด รวมไปถึงระบบขับถ่ายอีกด้วย ส่วนประกอบน้ำยำ มีส่วนผสมของเครื่องยาสมุนไพรหลายชนิด ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย และป้องกันโรคเรื่องรัง เเละโรคมะเร็ง

องค์กรการวิจัยโรคมะเร็งและ American Cancer Society ได้แนะนำการกินอาหารและกิจกรรมที่ช่วย ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ดังนี้

  • กินอาหารที่เป็นผักผลไม้อย่างน้อย 5 จานต่อวัน และเพิ่มอาหารจำพวกถั่วและธัญพืชในอาหารแต่ละมื้อ
  • กินอาหารที่มีไขมันและเกลือต่ำ
  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีเป็นประจำทุกวัน
  • จำกัดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • เก็บรักษาและเตรียมอาหารอย่างปลอดภัย
  • ไม่ใช้ยาสูบในทุกรูปแบบ

สำหรับอาหารต้านมะเร็งทั้ง 5 เมนูนี้ หวังว่าคงถูกใจ ผู้อ่านทุกคนะครับ

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง 

ผู้ป่วยมะเร็ง มักประสบปัญหาทางทางโภชนาการ วันนี้เราจึงมีคำแนะนำด้าน อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ระหว่างบำบัดรักษา จากหนังสือ กินเป็น มะเร็งขยาด โดย  ผศ. ดร. ทพญ. ดุลญพร ตราชูธรรม สำนักพิมพ์ AMARIN Health มาฝากค่ะ

สำหรับผู้ป่วยระหว่างรับรังสีรักษา

ผู้ป่วยมักประสบปัญหาทางโภชณาการ โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก คอหอย และหลังโพรงจมูกที่ได้รับรังสีรักษาบริเวณศีรษะและลำคอ ซึ่งมักประสบปัญหาเคี้ยวลำบาก กลืนลำบาก และปากแห้ง มีแนวปฏิบัติด้านโภชณาการดังนี้

1.เลือกอาหารที่เหมาะสม ได้แก่ มีเนื้อสัมผัสนิ่ม กลืนง่าย หรือละลายได้ในปาก มีน้ำมาก มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่เป็นเม็ดหรือผงเสี่ยงต่อการสำลัก

2.จัดอาหารตามลำดับความสามารถในการกลืนของผู้ป่วย เริ่มจากเมื่อเริ่มเคี้ยว กลืนลำบาก ก็เปลี่ยนจากอาหารปกติ เป็นอาหารอ่อน เช่น เปลี่ยนจากข้าวสวย เป็นข้าวต้มหรือโจ๊ก ต่อมาเมื่อเคี้ยว กลืนลำบากมากขึ้น ก็ขยับมาเป็นอาหารที่มีเนื้อสัมผัสนิ่ม มีน้ำมาก มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน เป็นอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว ได้แก่ ไข่ตุ๋น เต้าหู้หลอด เจลลี่โภชนา ซึ่งทั้งหมดนี้ยังใช้ช้อนตักรับประทานได้โดยไม่หก

3.ควรจัดอาหารให้มีผักและผลไม้เนื้อนิ่มด้วย ตัวอย่างผักที่เนื้อสัมผัสนิ่ม เช่น ฟักทองต้ม ปวยเล้งลวก ผลไม้เนื้อนิ่ม ผลไม้เนื้อนิ่ม เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก แตงโม กีวี แก้วมังกร ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับวิตามินและแร่ธาตุครบถ้วน รวมทั้งใยอาหารจากผักผลไม้จะช่วยลดปัญหาท้องผูก เนื่องจากระหว่างรับรังสีรักษา ผู้ป่วยมะเร็งมักมีอาการอ่อนเพลีย จึงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนอน ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย

นอกจากนี้ รังสีรักษายังทำปฏิกิริยากับน้ำในร่างกาย ผู้ป่วยจึงมักสูญเสียน้ำ จึงพบปัญหาท้องผูกได้บ่อย

สำหรับผู้ป่วยระหว่างรับเคมีบำบัด

ผู้ป่วยมักประสบปัญหาระดับโปรตีนในเลือดต่ำ จึงต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้น ไข่ขาวเป็นแหล่งของโปรตีนอัลบูมินที่จัดว่าเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี มีกรดแอมิโนครบถ้วน นอกจากนี้เคมีบำบัดบางชนิด เช่น  Cisplatin จะทำให้เกิดเยื่อบุช่องปากอักเสบ มีอาการแสบร้อนในปาก ผู้ป่วยจึงต้องอมของเย็นๆ เช่น น้ำแข็ง หรือรับประทานไอศกรีม เพื่อลดอักเสบและลดอาการปวด

นอกจากนี้ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ ซึ่งมีงานวิจัยว่า น้ำขิง และผลไม้ที่มีน้ำและกากใยมาก เช่น แอ๊ปเปิ้ล สาลี่ แตงโม อาจช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้ อีกทั้งผู้ป่วยอากมีอาการโลหิตจางได้ง่าย จึงต้องรับประทานอาหารให้ได้ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และโฟเลตอย่างเพียงพอ ได้แก่อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ตับ และผักใบเขียว เป็นต้น

สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัด

กรณีผ่าตัดกระเพาะหรือลำไส้ ประสิทธิภาพในการย่อยและดูดซึมจะด้อยลง ควรรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและมีโปรตีนสูง ได้แก่ ปลา เต้าหู้ และไข่ หากเป็นการผ่าตัดมะเร็งในช่องปากหรือคอหอย ทำให้กลืนอาหารลำบาก ควรเริ่มฝึกกลืนของนิ่มๆ ที่กลืนง่ายที่สุด แล้วค่อยๆ เพิ่มความยากตามลำดับ เริ่มจากอาหารปั่น ซึ่งกลืนง่ายที่สุด ตามมาด้วยโยเกิร์ตชนิดครีม เจลลี่โภชนา เต้าหู้หลอด ไข่ตุ๋น และโจ๊กในที่สุด

บทความอื่นที่น่าสนใจ

ลดพุงด้วยอาหารชีวจิต

สูตรลดความอ้วนให้ได้ผลด้วยอาหารชีวจิต

ประจำเดือนมาน้อย แก้ได้ด้วยอาหารชีวจิต ปรับสมดุลฮอร์โมน

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสาชีวจิต

Summary
Review Date
Author Rating
51star1star1star1star1star

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.