อาการสำลัก สำลักอาหาร ผู้สูงอายุ

ปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก้ อาการสำลัก ก่อนหมดสติ

กรณีที่ 1 เมื่อสำลักอาหาร (Aspiration)

เป็นก้อนๆ หรือเป็นคำๆ ลงไปในหลอดลม แล้วอาหารนั้นลงไปอุดกั้นหลอดลมทำให้ลมวิ่งเข้า – ออกไม่ได้ ผู้สำลักจะมีอาการแน่นที่คอ หายใจเข้า – ออกไม่ได้ พยายามจะพูดออกมาแต่ไม่มีเสียง มักเอามือกุมคอไว้แล้วมีสีหน้าแตกตื่น เลิ่กลั่ก วิธีช่วยเหลือ (Heimlich Maneuver) มี 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 การช่วยเหลือโดยคนอยู่ใกล้ ทำได้โดยผู้ช่วยเหลือถามให้แน่ใจว่า “คุณสำลักหรือเปล่า” ถ้าผู้สำลักพยักหน้าเลิ่กลั่กหรือนิ่งไม่ปฏิเสธชัดเจน ให้ผู้ช่วยเหลือเข้าไปข้างหลังของเขาเอามือสองข้างโอบรอบเอวผู้สำลัก กำหมัดข้างหนึ่งกดท้องระดับเหนือสะดือแต่ใต้ลิ้นปี่ หมายถึงใต้ปลายล่างของกระดูกหน้าอก

เอาอีกมือหนึ่งกำรอบหมัดของมือแรก เกร็งกำลังแขนสองข้างแบบเบ่งกล้าม แล้วกระชากสองมือเข้าหาตัวเองสุดแรงในลักษณะตั้งใจจะส่งแรงอัดเข้าไปในท้องของผู้สำลัก แบบว่าปึ้ก…ก…ก ปึ้ก…ก…ก ปึ้ก…ก…ก ทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง จนผู้สำลักสามารถไอหรือจาม หรือพูดออกมาให้ได้ยินเสียง

วิธีที่ 2 การช่วยเหลือตัวเอง เมื่อพยายามหาคนข้างๆ ช่วยแล้วไม่มีใครเข้าใจ วิธีทำก็คือขณะที่สำลัก หายใจเข้าก็ไม่ได้ออกก็ไม่ได้อยู่นั้น คุณมีเวลาประมาณไม่เกิน 4 นาทีก่อนที่คุณจะหมดสติ และไม่เกิน 8 นาทีก่อนที่สมองจะตายแบบกู่ไม่กลับ

ขณะตั้งสติได้ให้คุณลุกออกมาด้านหลังเก้าอี้ของตัวเองกำหมัดมือหนึ่งไว้ระดับเหนือสะดือใต้ลิ้นปี่ (ตรงพุง ไม่ใช่ตรงกระดูก) เอาอีกมือหนึ่งกำรอบหมัดแรก วางท้องพาดพนักเก้าอี้ให้มือทั้งสองที่กำไว้นั้นเป็นตัวรับน้ำหนักที่พนัก แล้วโยนตัวเองในลักษณะกระแทกตัวไปข้างหน้าแบบจงใจ ให้ท้องกระแทกพนักเก้าอี้

แรงๆ กระแทกแต่ละครั้งก็อ้าปากไอออกมาแรงๆ พร้อมกับร้องว่า “ฮ้า” ทำซ้ำหลายๆ ครั้ง แต่ละครั้งก็พยายามร้องเสียงดังแบบไม่ต้องเกรงใจใคร เพราะคุณกำลังจะตายอยู่แล้ว “ฮ้า…ฮ้า…ฮ้า…”

อาการสำลัก สำลักอาหาร ผู้สูงอายุ
อาการสำลัก สำลักอาหาร ผู้สูงอายุ

กรณีที่ 2 คือกรณีไม่ได้สำลัก

แต่แค่จิบของเหลวหรือดมไอระเหยก็เกิดแน่นคอแน่นอก หายใจเข้า – ออกไม่ได้ ไอจามตัวงอจะเป็นจะตายเอาเสียแล้ว แบบนี้ไม่ได้เกิดจากอาหารเป็นก้อนลงไปจุกหลอดลม แต่เกิดจากอาหารหรือไอของอาหาร เช่นไอของน้ำขิงหรือไอของพริกไประคายเคืองสายเสียง (Vocal Cord) ทำให้สายเสียงเกร็งตัวในจังหวะที่ควรจะคลายตัว (Vocal Cord Dysfunction)

สายเสียงนี้มีสองเส้น เมื่อเขาเกร็งตัวทั้งสองเส้นจะปิดกล่องเสียงจนลมเข้า – ออกแทบไม่ได้เลย เรื่องอาหารไปกระตุ้นสายเสียงนี้ กลไกการเกิดเป็นอย่างไรวงการแพทย์ก็ยังไม่ทราบชัดทราบแต่ว่ามักพบในกรณีกรดไหลย้อน สำลักน้ำแกง สูดดมสารเคมีแรงๆ หรือแพ้ไอระเหยแบบรุนแรง (Anaphylaxis)

การแก้ปัญหาในกรณีนี้ไม่ใช้วิธีกดกระแทกหน้าท้องโดยคนอื่นหรือโดยตัวเองนะ แต่ต้องแก้ปัญหาโดยวิธีฝึกหายใจผ่านลำคออย่างผ่อนคลาย (Relaxed Throat Breathing Exercise) คือ ต้องฝึกซ้อมทำบ่อยๆ ก่อนเกิดเรื่อง

 

 

 

<< แถมท้ายด้วยการฝึกเพื่อป้องกันการสำลัก อยู่หน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.