ต่อมลูกหมากโต-การดูแลผู้สูงอายุ-ผู้สูงอายุ

ต่อมลูกหมากโต ภัยร้ายชาย 50+

โรคนี้อันตรายมากไหม

โรคต่อมลูกหมากโต จัดเป็นโรคเนื้องอกชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง ดังนั้น โดยตัวของโรคเองไม่ถือว่าร้ายแรง ผู้ป่วยที่มีอาการข้างต้น มักมีปัญหาเกี่ยวกับการพักผ่อน ความวิตกกังวล รวมไปถึงการรบกวนชีวิตประจำวันและการเข้าสังคม

ในกณีที่อาการของโรครุนแรงมากขึ้นจนเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อและอักเสบของทางเดินปัสสาวะ การเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และการเสื่อมการทำงานของไต ถือเป็นอันตรายและเป็นข้อบ่งชี้ที่จะต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข

อันตรายอย่างหนึ่งที่ควรระวังคือ มะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งพบได้ในผู้ชายสูงอายุเช่นกัน ผู้ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากอาจมีอาการคล้ายกับโรคต่อมลูกหมากโต หากไม่ได้รับการตรวจและรักษาที่ถูกต้องก็เป็นการเปิดโอกาสให้มะเร็งลุกลามไปได้

ได้เวลาไปหาหมอ

ดังนั้นชายที่มีอายุ 40 – 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงการตรวจต่อมลูกหมาก โดยการตรวจทางทวารหนักและการเจาะเลือดเพื่อดูค่าบางอย่างที่เกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมาก เพื่อเป็นการป้องกันแต่เนิ่นๆ ในรายที่มีอาการผิดปรกติดังที่กล่าวข้างต้น ควรเข้ารับการตรวจรักษาและรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรคระบบทางเดินปัสสาวะ

วิธีรักษา

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต แพทย์จะให้การรักษาตามความรุนแรงของอาการผู้ป่วยแต่ละคน โดยแบ่งเป็น 3 วิธี

ต่อมลูกหมากโต-การดูแลผู้สูงอายุ-ผู้สูงอายุ
ผู้ชายมีอายุ 40 ปีขึ้นไป ต่อมลูกหมากจะโตขึ้น

1. การเฝ้าระวัง ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย แพทย์จะแนะนำให้สังเกตอาการและปรับพฤติกรรม ดังนี้

-ลดน้ำดื่มหลังอาหารเย็นและก่อนนอน

-พยายามไม่ให้ท้องผูก

-หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือชากาแฟ

-หลีกเลี่ยงยาลดน้ำมูกบางตัวที่มีผลกับการปัสสาวะ

2. การใช้ยา ซึ่งจะมี 2 กลุ่มหลัก คือ

-ยากลุ่มต้านแอลฟา ที่ออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อรอบต่อมลูกหมาก ทำให้ท่อปัสสาวะที่ตีบแคบขยายกว้างขึ้น ทำให้ปัสสาวะสะดวกขึ้น

-ยากลุ่มต่อต้านเอนไซม์ที่มีผลต่อการโตของต่อมลูกหมาก ซึ่งจะมีผลยับยั้งต่อมลูกหมากไม่ให้โตขึ้น และถ้าใช้เป็นเวลานาน 6 เดือนขึ้นไป จะมีผลให้ต่อมลูกหมากมีขนาดลดลงในระดับหนึ่ง

3. การผ่าตัดต่อมลูกหมาก โดยการส่องกล้องผ่านทางท่อปัสสาวะ สำหรับข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด คือ

-ปัสสาวะไม่ออก (ต้องใส่สายสวนปัสสาวะ)

-มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ

-มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะหลายครั้ง

-ไตเสื่อมการทำงานซึ่งเป็นผลจากการอุดตัน

สุดท้าย วิธีที่ดีที่สุดที่พอจะทำได้คือ เมื่อมีอาการผิดปรกติเกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำหรือรับการรักษาอย่างถูกต้อง


บทความอื่นที่น่าสนใจ

รู้จัก รักษา และป้องกัน กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคยอดฮิตของสาวออฟฟิศ

บอกลาอุ้งเชิงกรานหย่อน ด้วย 4 วิธีธรรมชาติ+ท่าออกกำลังกาย

ไขข้อสงสัย ต่อมลูกหมากโต อันตรายมากไหม

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.