เคล็ดลับอายุยืน, อายุยืน, วิธีอายุยืน

เราจะมีสุขภาพกายใจดี ตลอดชั่วอายุขัยได้อย่างไร

เคล็ดลับอายุยืน สุขภาพกายใจดี ตลอดชั่วอายุขัย

เคล็ดลับอายุยืน ทำอย่างไร ชีวจิตออนไลน์หาคำตอบมาให้

เมื่อไม่นานมานี้ ชีวจิต ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมวิชาการประจำปี (HA National Forum) ครั้งที่ 20  ณ ศูนย์การประชุม IMPACT FORUM เมืองทองธานี ที่จัดโดยสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน)

มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจและอยากนำมาแบ่งปันแก่ผู้อ่านของ ชีวจิต อันเป็นที่รักทุกท่าน นั่นก็คือ ประเด็นการมีอายุยืนยาวครบสมบูรณ์ทั้งกายและใจ

เคล็ดลับอายุยืน ไม่มีโรค

เคล็ดลับอายุยืน แต่มีโรคคงไม่มีใครอยากได้ แล้วเราจะทำอย่างไรให้ชีววิตของเรายืนยาวโดยไม่มีโรค ชีวจิตมีคำตอบมาฝากทุกคนครับ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงวรรณี นินธิยานันท์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า

“ทุกคนอยากมีสุขภาพที่ดีอายุยืน ไปตลอดอายุขัย แต่เราจะทำอย่างไรให้ไปถึงเป้าหมายนั้นได้ เราจำเป็นต้องมีสุขภาพแข็งแรงตั้งแต่เด็กจนสูงอายุ ได้ใช้ชีวิตร่วมกับลูกหลานไปตลอด เพราะในช่วงท้ายของชีวิตไม่มีใครที่อยากเป็นคนติดเตียงต้องรอรับการช่วยเหลือหรือเป็นภาระของคนอื่นในครอบครัว

ดังนั้น การมีสุขภาพดีแนะนำว่า เราต้องดูเเลสุขภาพตั้งเเต่เกิด โดยเฉพาะผู้หญิงที่ต้องให้การดูแลมากเป็นพิเศษ  เริ่มต้นตั้งเเต่อยู่ในท้อง ต้องดูเเลครรภ์ เพราะหากเราบำรุงดี เมื่อเติบโตขึ้น พื้นฐานสุขภาพก็จะดีขึ้นตามลำดับ

ในทางกลับกันถ้าตอนเด็กมีการบำรุงไม่ดีและได้รับสารอาหารที่สำคัญไม่เพียงพอ แน่นอนว่าในอนาคตจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราแน่นอน”

มีงานวิจัยมากมายที่ระบุว่า เมื่อมีอายุมากขึ้นพบว่าคนไทยมีการเจ็บป่วยมากขึ้น

คุณหมอวรรณี อธิบายว่า “คนไทยเมื่ออายุ 60 ปี ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ มีอาการเจ็บป่วย เป็นโรคเรื้อรัง และยังพบอีกว่ายิ่งมีอายุขัยนานขึ้น ยิ่งเจ็บป่วยมากขึ้นด้วยตามลำดับ

ข้อมูลงานวิจัยระบุว่า ชายไทยมักเสียชีวิตจากการป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคหลอดเลือดและสมอง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคทางเดินระบบหายใจ ฯลฯ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับผู้หญิงที่เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs)ด้วยเช่นกัน”

แต่อย่างไรก็ตามสาเหตุการเสียชีวิตไม่ใช่ว่าเกิดจากการเจ็บป่วยเสมอไป แต่อาจเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุได้เช่นกัน และมีผลต่ออายุขัยของเราด้วย  โดยการสูญเสียสุขภาวะที่เกิดจากโรคเท่ากับ 80 เปอร์เซ็นต์ และสูญเสียการเคลื่อนไหว อัมพาต เท่ากับ 20 เปอร์เซ็นต์

“ในเมื่อสาเหตุหลักของการเสียสุขภาวะของเราเกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs )การให้ความสำคัญกับเรื่องรูปร่าง น้ำหนักตัว จึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนไม่ควรมองข้าม  เพราะความอ้วน เป็นดัชนีง่ายสุดที่สามารถบอกว่าเรามีโอกาสเสี่ยงโรคเรื้อรัง”  คุณหมอวรรณีอธิบาย

ดังนั้น น้ำหนักตัวดีตามเกณฑ์มาตรฐานสุขภาพก็จะดีตามครับ

เคล็ดลับอายุยืน, อายุยืน, วิธีอายุยืน
เคล็ดลับอายุยืน, อายุยืน, วิธีอายุยืน

สำหรับใครที่ไม่อยากป่วย ไม่อยากอ้วนลงพุง และไม่อยากเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ต้องไม่มีปัจจัยดังต่อไปนี้ จำนวนอย่างน้อย 3 ข้อ  (ถ้ามากกว่า 3 ข้อ อ้วนลงพุงครับ)

  1. รอบเอว ผู้ชายมากกว่าหรือเท่ากับ 90 เซนติเมตร และผู้หญิง มากกว่าหรือเท่ากับ 80 เซนติเมตร
  2. ระดับความดันโลหิต มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 135/80 มิลลิเมตรปรอท หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูง
  3. ระดับน้ำตาลในเลือด มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือเป็นโรคเบาหวาน
  4. ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด มากกว่าหรือเท่ากับบ 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
  5. ระดับไขมันดี (HDL-C) ในเลือด ผู้ชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และผู้หญิงน้อยกว่า 50 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

อย่างไรก็ตามวงจรการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นสามารถเกิดกับใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเกิดกับคนที่มีพันธุกรรมการเกิดโรคเท่านั้น คนทั่วไปถ้าไม่รู้จักดูแลสุขภาพก็สามารถเป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรังได้เช่นกัน

คุณหมอวรรณี แนะนำหลักวิธีป้องกันง่ายๆที่เราสามารถนำไปใช้ได้จริงไว้ว่า

“ถ้าค้นพบว่าตัวเองมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรค สิ่งแรกเราต้องลดความเสี่ยง พยายามค้นหาโรคให้เจอ และเมื่อทราบว่าเป็นโรค จำเป็นต้องรีบรักษา เพื่อป้องกันภาวะเเทรกซ้อน  แต่ถ้ามีโรคเเทรกซ้อน สิ่งสำคัญต้องป้องกันภาวะเเทรกซ้อน ป้องกันไม่ให้อวัยะหมดสภาพ เมื่อถึงระยะสุดท้ายของโรคจะต้องมีการรักษาป้องกันแบบประคับประคองไป ไม่ให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร”

ดังนั้นทุกคนต้องรู้จักดูเเลตัวเอง พยายามเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อตัวเองให้ได้ ไม่ใช่ไม่มีโรคแล้วจะสุขภาพดี แต่ต้องมีสุขภาพจิตและสังคมที่ดีด้วย

อ่านต่อ >>เคล็ดลับอายุยืน (กินเพื่ออายุยืน)

อ่านเพิ่มเติม

8 พฤติกรรม คู่ตรงข้าม จัดการได้ ช่วยอายุยืน

4 ผู้สูงวัย แชร์เคล็ดลับ อายุยืน ไม่อยากป่วยง่าย ต้องอ่าน

ชวนกินธัญพืชไม่ขัดสี อาหารช่วยอายุยืน ดูอ่อนกว่าวัย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.