วัยทอง, วัยหมดประจำเดือน

วิธีปรับฮอร์โมนสู้ วัยทอง

วิธีปรับฮอร์โมนสู้ วัยทอง

ผู้หญิงอายุประมาณ 45 – 55 ปีจะเป็นวัยที่เข้าสู่ช่วงหมดประจำเดือน ส่วนใหญ่สังคมจะนิยามสาววัยนี้ว่า วัยทอง ซึ่งมีความหมายเชิงเปรียบเทียบว่า ผู้หญิงวัยนี้เป็นช่วงเวลาที่ลูกเรียนจบการศึกษาแล้ว นับเป็นช่วงเวลาประสบความสำเร็จ เลยเรียกว่า “วัยทอง” ของชีวิต

เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทองนั้น ผู้หญิงส่วนใหญ่ร้อยละ 90 จะเกิดภาวะประจำเดือนไม่มาตามปกติ เช่น ไม่ครบทุกเดือน หรือมา 2 – 3 เดือนครั้ง ทางการแพทย์วินิจฉัยว่า ช่วงนี้ไข่ถูกผลิตออกมาจากรังไข่น้อยมาก และไข่ก็ไม่สมบูรณ์หรือไม่มีประสิทธิภาพ เพราะผ่านการสะสมของสารเคมี สารปนเปื้อน ทำให้ความสมบูรณ์ของเซลล์ลดลง

 

เราแบ่งช่วงวัยทองของผู้หญิงไว้ 3 ระยะ คือ

1. ระยะก่อนหมดประจำเดือน (Perimenopause)

เข้าสู่ระยะเริ่มของการหมดประจำเดือน ทำให้ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือนผิดปกติ ร่วมกับมีอาการทางร่างกาย เช่น ร้อนวูบวาบ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย อารมณ์จะแปรปรวนขึ้นลง ซึ่งระยะนี้จะเกิดประมาณ 2 – 3 ปีก่อนหมดประจำเดือน

2. ระยะหมดประจำเดือน (Menopause)

เป็นระยะที่ไม่มีประจำเดือนอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี

3. ระยะหลังหมดประจำเดือน (Post Menopause)

เป็นระยะหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว 1 – 2 ปี ซึ่งจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของผู้หญิง เช่น ช่องคลอดตีบแคบ มีภาวะกระดูกพรุน เจ็บคัดหน้าอก เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ

วัยทอง, วัยหมดประจำเดือน

เมื่อเข้าสู่วัยทองเต็มตัว จะเกิดการเปลี่ยนแปลง คือรังไข่หยุดทำงาน โดยรังไข่ของผู้หญิงสร้างฮอร์โมนเพศร้อยละ 70 และอีกร้อยละ 30 มาจากต่อมหมวกไต อาการต่างๆ ในช่วงหมดประจำเดือนมาจากความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

ถ้าผู้หญิงที่เริ่มหมดประจำเดือนแล้ว ฮอร์โมนเอสโทรเจนและฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนลดลงเท่ากันแบบสมดุลกัน ผลกระทบต่อร่างกายและอาการข้างเคียงจะน้อย

แต่ถ้าฮอร์โมนเพศทั้ง 2 ชนิดลดลงแบบไม่สมดุลกัน กล่าวคือ ถ้าผู้หญิงมีความเครียดหรือมีไลฟ์สไตล์ที่เครียด พักผ่อนน้อยติดต่อกันเป็นเวลานาน ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความสุขและ

คอยรักษาสมดุลอารมณ์ในเวลาร่างกายเครียด จะถูกนำไปใช้ในการจัดการความเครียดมาก ทำให้ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนตกลงมากกว่าปกติ ขณะที่ฮอร์โมนเอสโทรเจนยังไม่ตก

ผู้หญิงคนนั้นจึงมีอาการฮอร์โมนเอสโทรเจนสูงเกินไป โดยที่สาเหตุไม่ได้เกิดจากฮอร์โมนเอสโทรเจนขึ้นสูง แต่เกิดจากฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนตกเร็วกว่าปกตินั่นเอง

สังเกตได้เลยว่า ช่วงนั้นผู้หญิงคนนั้นจะมีอาการหน้าอกคัด เจ็บหน้าอก หรือมีก้อนซีสต์ขึ้นมาบริเวณเต้านม หรือบางรายเป็นเนื้องอกที่มดลูก (Myoma uteri) เกิดขึ้นได้ ส่วนทางด้านอารมณ์เธอจะกลายเป็นคนขี้เหวี่ยงขี้วีน หงุดหงิดง่าย

ฮอร์โมนเอสโทรเจน คือ ฮอร์โมนแห่งการเติบโต เบ่งบาน ถ้าไม่มีฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนมาสร้างสมดุล (Balance) จะทำให้เซลล์ต่างๆ เติบโตมากเกินไป ผู้หญิงในช่วงอายุประมาณ 40 – 50 ปี จึงมักเกิดก้อนเนื้องอกต่างๆ

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.