กลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนไข้หวัดใหญ่, ไข้หวัดใหญ่

7 กลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

ประสิทธิภาพวัคซีนไข้หวัดใหญ่ กลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีไข้หวัดใหญ่

รศ. พญ. อรินทยา พรหมินธิกุล แพทย์เฉพาะทาง อายุรแพทย์โรคหัวใจ และ รองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เปิดเผยข้อสรุปของผลวิจัย “Influenza Vaccination reduces cardiovascular events in patients with acute coronary syndrome” ถึงประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้ และการฉีดวัคซีนหนึ่งเข็มมีความคุ้มค่าสูง และเป็นเครื่องมือในการลดอัตราการเสียชีวิตที่สิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายน้อย

การศึกษา cost-effectiveness ในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา พบว่า มีความคุ้มค่าและเป็ น cost-saving intervention ดังนั้นคำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจของประเทศไทย จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ให้กับผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยง ปีละ 1 ครั้ง ทุกๆ ปี ด้วยประสิทธิภาพของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ถึงแม้จะป้องกันการ เป็นไข้หวัดใหญ่ได้ไม่ครอบคลุมทั้งหมด แต่จะป้องกันการป่วยหนัก ป้องกันการนอนโรงพยาบาล ลดอัตราป่วยด้วยการ หายใจล้มเหลว และส่งผลทางอ้อมต่อการลดปอดอักเสบได้

การศึกษาทางคลินิกของวัคซีนไข้หวัดใหญ่หลายโครงการ แสดงถึงประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคหัวใจในแง่การลด อัตราตาย และ การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดซ้ำซ้อน โดยได้มีการรวบรวมทำ meta-analysis (การวิเคราะห์อภิมาน)

ในปี2556 พบว่า การได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถลดการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular event) ได้ ร้อยละ 36 รวมถึงได้ศึกษาถึงประโยชน์ของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยหัวใจวาย คือ 1) ผู้ได้รับวัคซีนร้ อยละ 21 ของ ผู้ป่วยในการศึกษาทั ้งหมด กลุ่มที่ได้รับวัคซีนจะมีอัตราการเสียชีวิตที่ตำ่กว่าอย่างมีนัยส าคัญ 2) สามารถลดอัตราการ เสียชีวิตที่ 1 ปีได้อย่างมีนัยสำคัญ และ 3) อัตราการกลับมานอนโรงพยาบาลซ้าลดลง ทั้งจากสาเหตุทางหัวใจ และ สาเหตุโดยรวม แต่อุปสรรคของการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่พบว่า มีอัตราการให้วัคซีนอยู่ในระดับที่ต่ำแม้ว่าผู้ป่วยจะเป็นกลุ่ม เสี่ยงก็ตาม

จากการศึกษากลุ่มผู้ป่วยโรคหัวใจ อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 211 คน พบว่า มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ18.3 เท่านั้น ที่ได้รับการฉีดวัคซีนตามฤดูกาล และมีถึงร้อยละ 63.3ไม่เคยได้รับวัคซีน เลย ปัจจัยสำคัญเกิดจากการที่แพทย์ไม่ได้แนะนำเรื่องวัคซีน (ร้อยละ 81) ไม่ได้รับการแนะน าจากสื่อด้านเอกสาร (ร้อยละ 5.3)

จากการศึกษา CORE-Thailand cohort ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดตั้งแต่ 3ข้อขึ้นไป จำนวน 9,000ราย พบว่า มีผู้ป่วยเพียงร้อยละ 15.5เท่านั้นที่ได้รับวัคซีนในกลุ่มความเสี่ยงจำเพาะ เช่น โรคหลอดเลือด หัวใจ ได้รับเพียงร้อยละ 17.2 อุปสรรคที่สำคัญที่ทำให้อัตราการรับวัคซีนต่ำ

เนื่องจากผู้ป่วยไม่ทราบถึงประโยชน์ และกังวลถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากวัคซีน ขณะที่แพทย์ยังมีความตระหนักและมีโอกาสน้อยที่จะแนะนำวัคซีนกับผู้ป่วย รวมถึงความกังวลของแพทย์เองถึงผลข้างเคียง และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากวัคซีน ปิดท้ายกับประสบการณ์ตรงของตัวแทนผู้ป่วยโรคเบาหวาน

อ่านเพิ่มเติม: วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดอย่างไรให้ปลอดภัย

กลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซีนไข้หวัดใหญ่, ไข้หวัดใหญ่
injecting injection vaccine vaccination medicine flu man doctor insulin health drug influenza concept – stock image

เชิญชวน กลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี

คุณศุภะลักษณ์ จตุเทวประสิทธ์ิประธาน ชมรมเบาหวาน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วัย 70 ปีเมื่อรู้ว่าตนป่วยเป็นโรคเบาหวานเมื่อ 25 ปีที่แล้ว จึงมาพบแพทย์เป็นประจำและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาโดยตลอด ปรับพฤติกรรมการบริโภค ปรับเปลี่ยน การใช้ชีวิตอย่างสมดุล จนสามารถควบคุมภาวะน้ำตาลได้เป็นอย่างดี และไม่มีโรคแทรกซ้อนใดๆ

จากการที่เป็นประธานชมรมเบาหวานของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มาถึง 8 ปี ทำให้ได้รับข่าวสารความรู้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มีการจัดกิจกรรมความรู้ พบปะสมาชิกทุกๆ เดือน ทำให้สามารถแบ่งปันความรู้และช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกในชมรมได้ อย่างใกล้ชิด รวมถึงตระหนักในเรื่องการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ใน 7 กลุ่มเสี่ยง

ซึ่งตนและเพื่อนสมาชิกได้รับการฉีดวัคซีน ป้องกันไข้หวัดใหญ่ฟรี โดยสปสช. ได้ประกาศให้สิทธิประโยชน์สำหรับกลุ่มเสี่ยงล่าสุดจำนวน 3.5 ล้านโด๊ส โดยส่วนตัว ได้ฉีดป้องกันต่อเนื่องมาหลายปีแล้วเพราะเห็นคุณค่าของการป้องกัน เพราะตนเป็นกลุ่มเสี่ยง ซึ่งเห็นประสิทธิผลจริงๆ เพราะในครอบครัว หลานไปโรงเรียนและไปติดไข้หวัดใหญ่กลับมาจากโรงเรียน ทำให้พ่อแม่ของหลานก็ได้รับเชื้ออและ ป่ วยทั้งครอบครัว

ในขณะที่ตนเองก็อยู่ในห้องเดียวกัน แต่ก็ไม่ได้รับเชื้อไข้หวัดใหญ่เพราะไปฉีดป้องกันมาก่อน ซึ่งเราได้ แชร์สิ่งดีๆ ที่เป็นประโยชน์ให้กับสมาชิกชมรมเบาหวาน จุฬาฯ หรือคนรู้จักที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ให้มารับสิทธิประโยชน์ที่พึง จะได้รับ และส่วนใหญ่ก็ได้ผลตอบรับที่ดี ในขณะที่หลายชมรม รวมถึงผู้ที่เข้าข่ายอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ยังไม่ได้รับคำแนะนำหรือองค์ความรู้ เหล่านี้

จึงอยากวิงวอนให้บุคคลากรทางการแพทย์ทุกภาคส่วนให้คำแนะนำกับ 7 กลุ่มเสี่ยง รวมถึง ช่วยกันประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ท้ายนี้ขอขอบคุณภาครัฐสำหรับจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการเล็งเห็นความสำคัญของ การป้องกันโรค และอยากวิงวอนให้ภาครัฐจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับพิจารณาการเพิ่มจำนวนวัคซีนเพื่อให้ ครอบคลุมกับจำนวนกลุ่มเสี่ยง เนื่องด้วยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานในประเทศ มีประมาณ 6 ล้านคน ซึ่งยังไม่นับรวมกลุ่ม เสี่ยงอื่นๆ ซึ่งคาดว่ามีรวมกันสูงถึงประมาณ 20 ล้านคนทั่วประเทศ

อย่าลืมนะครับใกล้โรงพยาบาลไหน อย่าลืมชวน  7 กลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีไข้หวัดใหญ่ ไปรับบริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่นะ

ที่มา : มหาวิทยาลัยมหิดล

 

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.