วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด, เจาะน้ำตาล, ตรวจน้ำตาล

4 วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน

4 วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด

SCREENING TEST

วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด เพื่อคัดกรองเบาหวาน ป้องกันก่อนเกิดโรคแทรกซ้อน วิธีตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวาน นายแพทย์ชัยชาญอธิบายว่า ปัจจุบันมีวิธีตรวจวินิจฉัยเบาหวาน 4 วิธี ดังนี้

1. เจาะเลือดตรวจระดับนำ้ตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (Fasting Blood Sugar หรือ FBS)

วิธีนี้เป็น วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด ที่ประชาชนส่วนใหญ่รู้จักกันดี ราคาไม้แพง แต้ต้องงดอาหาร โดยผู้ตรวจต้องต้องงดอาหารก่อนการเจาะเลือด 8 ชั่วโมง เพราะการกินอาหารเข้าไปจะมีผลต่อระดับกลูโคสในเลือด แต่ระหว่างนั้นสามารถดื่มน้ำเปล่าได้

การแปลผล เกณฑ์ปกติต้องมีน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ถ้ามีนำ้ตาลกลูโคสตั้งแต่ 100 – 125 มิลลิกรัม / เดซิลิตรจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอาหารทันที แตถ้ามีน้ำตาลกลูโคสสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/ เดซิลิตร ถือว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว ต้องพบแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาโรคเบาหวานต่อไป

ประโยชน์วิธีนี้ใช้ตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานและติดตามระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินผลการรักษาต่อไป

2. การวัดปริมาณน้ำตาลเฉลี่ยที่ผ่านมามาเป็นระยะเวลา 3 เดือน (Glycohemoglobin HbA1c)

วิธีนี้ทำให้ทราบระดับนำ้ตาลเฉลี่ยสะสม ซึ่งเป็นค่าของน้ำตาลในเลือดที่มาจับกับโปรตีนในเม็ดเลือดแดง ใช้ระบุถึงระดับน้ำตาลในเลือดที่สะสมตลอด 2 – 3 เดือนที่ผ่านมาได้ ขณะที่วิธีแรกจะทำให้ทราบค่านำ้ตาลในเลือดในระยะเวลา 2 – 3 วันที่ผ่ามา ไม่ต้องอดอาหาร สามารถเจาะเวลาไหนก็ได้ แต่มีราคาแพงและมีให้บริการตามโรงพยาบาลขนาดใหญ่หรือโรงเรียนแพทย์ เนื่องจากเป็นการตรวจที่ต้องได้มาตรฐานสูง

การแปลผล ตามเกณฑ์ปกติ จะมีค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมระหว่างร้อยละละ 4 – 6 ส่วนผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสมมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 6.5 ขึ้นไป

ประโยชน์ วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด วิธีนี้ใช้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวาน ใช้ติดตามเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน ซึ่งมักจะทำโดยการเจาะเลือดทุก 3 – 4 เดือน และสุดท้ายใช้ประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อน เนื่องจากผู้ที่มีค่า HbA1c สูงจะมีความเสี่ยงเกิดโรคแทรกซ้อนสูงไปด้วย

วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด, เจาะน้ำตาล, ตรวจน้ำตาล
Hand holding meter. Diabetes doing glucose level test. Fruits in background

3. การเจาะเลือดตรวจน้ำตาลแบบสุ่ม (Random Blood Sugar หรือ RBS)

กรณีที่แพทย์ซักประวัติแล้ว พบว่าผู้ป่วยมีอาการของโรคเบาหวาน ได้แก่ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย นำ้หนักตัวลด จะใช้ วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด โดยสามารถตรวจเวลาไหนก็ได้ไม่ต้องอดอาหารมาก่อน

การแปลผล เกณฑ์ปกติอยู่ที่ระหว่าง 80 – 120 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ช่วงก่อนอาหาร หรือหลังตื่นนอน และระหว่าง 100 – 140 มิลลิกรัม/ เดซิลิตร ช่วงก่อนนอน ถ้าพบว่ามีค่าตั้งแต่ 200 มิลลิกรัม / เดซิลิตรขึ้น ไปถือว่าเป็นเบาหวาน ให้พบแพทย์เพื่อเข้าสู่กระบวนการ
รักษาโรคเบาหวานได้เลย

ประโยชน์ วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยไม่ต้องเตรียมตัวล่วงหน้าสามารถตรวจเวลาไหนก็ได้ นอกจากใช้ตรวจวินิจฉัยผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานแล้ว ยังใช้ตรวจผู้ที่มีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้อีกด้วย

4. การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส (Oral Glucose Tolerance Test หรือ OGTT)

ส่วนใหญ่ใช้ในการศึกษาวิจัย ทำโดยให้ผู้ป่วยยอดอาหาร 8 ชั่วโมง จากนั้นเจาะเลือดตรวจ ทั้งก่อนการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม และหลังการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม 2 ชั่วโมง เพื่อตรวจดูระดับพลาสมากลูโคส

การแปลผล หากพบระดับพลาสมากลูโคสที่ 2 ชั่วโมง ตำ่ กว่า 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าปกติ แต่ถ้ามีระดับพลาสมากลูโคสที่ 2 ชั่วโมง มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน และถ้าอยู่ระหว่าง 140 – 199 มิลลิกรัม / เดซิลิตร ถือว่าเป็นผู้ที่มีความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง (Impaired Glucose Tolerance Test)

ประโยชน์ วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด ใช้ในกรณีที่สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน แต่ผลตรวจระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงไม่ถึง 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะใช้วิธีนี้ตรวจซ้ำการตรวจคัดกรองเบาหวานเท่ากับการตรวจหาสัญญาณเตือนภัย ดังนั้นถ้ายิ่งตรวจเร็วก็ก็ยิ่งมีโอกาสหายได้เร็วขึ้นนั่นเอง

อ่านต่อ>> วิธีตรวจน้ำตาลในเลือด เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก

อ่านเพิ่มเติม

8 สัญญาณเบาหวานขึ้นจอตา

5 โรคเบาหวาน ที่คุณควรรู้ เป็นหรือเปล่า

3 สเต็ป เพื่อคน อ้วน ให้มีลูกง่าย ไกลเบาหวาน มะเร็ง

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.