แบบทดสอบซึมเศร้า

แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ?

แบบทดสอบซึมเศร้า คุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่

แบบทดสอบซึมเศร้า ฉบับ PHQ-9 เป็นแบบทดสอบที่ดัดเเปลงมาจากแบบสอบถามข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย ทั้งหมด 9 ข้อ เพื่เป็นการทดสอบเบื้องต้นเท่านั้น ถึงระดับความเสี่ยงต่อสุขภาพ มีภาวะซึมเศร้ามากน้อยเเค่ไหน 

แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9

มีทั้งหมด 9 คำถาม

คำแนะนำ โปรดเลือกใส่คะแนนให้ตรงกับคำตอบของท่าน

เกณฑ์ให้คะแนน ดังนี้

  • ไม่เลย = 0
  • มีบางวันหรือไม่บ่อย = 1
  • มีค่อนข้างบ่อย = 2
  • มีเกือบทุกวัน = 3

คำถาม ในช่วง 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา ท่านมีอาการดังต่อไปนี้บ่อยแค่ไหน?

  1. เบื่อ ทำอะไร ๆ ก็ไม่เพลิดเพลิน__________ คะเเนน
  2. ไม่สบายใจ ซึมเศร้า หรือท้อแท้ __________ คะแนน
  3. หลับยาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ หรือหลับมากไป __________ คะแนน
  4. เหนื่อยง่าย หรือไม่ค่อยมีแรง __________ คะแนน
  5. เบื่ออาหาร หรือกินมากเกินไป__________คะแนน
  6. รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง คิดว่าตัวเองล้มเหลว หรือเป็นคนทำให้ตัวเอง หรือครอบครัวผิดหวัง  __________คะแนน
  7. สมาธิไม่ดีเวลาทำอะไร เช่น ดูโทรทัศน์ ฟังวิทยุ หรือทำงานท่ีต้องใช้ความตั้งใจ __________คะแนน
  8. พูดหรือทำอะไรช้าจนคนอื่นมองเห็น หรือกระสับกระส่ายจนท่านอยู่ไม่นิ่งเหมือนเคย__________คะแนน
  9. คิดทำร้ายตนเอง หรือคิดว่าถ้าตาย ๆ ไปเสียคงจะดี__________คะแนน

   รวมคะเเนน__________คะเเนน

คำนวณผลคะเเนนจากแบบทดสอบ

5-8 คะเเนน 

ผลการทดสอบ มีความผิดปกติเเต่ยังไม่มีภาวะซึมเศร้า

คำแนะนำในการดูแล  พักผ่อน ออกกำลังกาย เเละหาคนปรึกษา

 9-14 คะเเนน

ผลการทดสอบ มีภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย

คำแนะนำในการดูแล  สังเกตอาการ ถ้าเป็นมากหรือมีผลกระตบต่อการทำงาน การดูแลสิ่งต่างๆภายในบ้าน หรือการเข้ากับผู้คน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การช่วยเหลือ

15-19 คะเเนน

ผลการทดสอบ มีภาวะซึมเศร้าปานกลาง

คำแนะนำในการดูแล  พบเเพทย์เพื่อประเมินอาการและให้การช่วยเหลือ

มากกว่า 20 คะเเนน

ผลการทดสอบ มีภาวะซึมเศร้ารุนเเรง

คำแนะนำในการดูแล พบเเพทย์เพื่อประเมินอาการและให้การช่วยเหลือ

แบบทดสอบซึมเศร้า 9 ข้อนี้เป็นเพียงเเค่การทดสอบเบื้องต้น อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการซักประวัติ เเละพูดคุยกับจิตแแพทย์โดยตรงด้วย เพื่อเป็นวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติม : 

5 เทคนิค ป้องกันอาการซึมเศร้า ง่ายๆ ด้วยตัวเราเอง

10 วิธีแก้ ซึมเศร้าคนอกหัก

คำแนะนำการช่วยเหลือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย


ที่มา: ศ. นพ.มาโนช หล่อตระกูล และคณะ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.