น้ำในหูไม่เท่ากัน ไม่เป็นก็อ่านได้

การรักษาเบื้องต้น เมื่อเกิดอาการเวียนหัวบ้านหมุน

  1. ควรหยุดเดิน และนั่งพักหรือนอนพัก เพราะการฝืนเดินขณะเวียนศีรษะ อาจทำให้ผู้ป่วยล้มจนเกิดอุบัติเหตุได้
  2. หากเกิดอาการขณะขับรถ ระหว่างทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ เมื่อรู้สึกเสียการทรงตัวควรหยุดทำกิจกรรมนั้นๆ ทันทีเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุ เกิดการสูญเสียต่อร่างกานหรืออาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวจิตได้
  3. ถ้าเวียนศีรษะมากควรนอนราบกับพื้อนในบริเวณที่ไม่มีการเคลื่อนไหว มองไปยังวัตถุนิ่งๆ หรือกลับตา
  4. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น เช่น การหมุนหรือหันศีรษะ การเปลี่ยนอิริยาบถอย่างรวดเร็ว เช่น การก้ม เงย หันหน้าหรือเอี้ยวตัว
  5. หลีกเลี่ยงการเดินทางโดยเรือ เพราะจะทำให้อาการเวียนศีรษะเป็นมากขึ้นได้
  6. งดรับประทานอาหารทันทีหรือรับประทานปริมาณน้อยๆ แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม เพื่อป้องกันการอาเจียน นอกจากนี้เมื่ออาการดีขึ้นแล้วอาจดื่มน้ำขิงอุ่นๆ เพื่อให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น
  7. ถ้าอาการเวียนศีรษะลดลงแล้ว ควรค่อยๆ ลูกขึ้นเพื่อสังเกตอาการ ถ้ายังรู้สึกไม่ดีหรือยังคงมีอาการเวียนหัวบ้านหมุนอยู่ควรนอนหลับพักผ่อน เพราะโดยทั่วไปถ้าได้นอนอาการมักจะดีขึ้น

น้ำในหูไม่เท่ากัน, เวียนหัวบ้านหมุน, หูอื้อ, เวีียนหัว

ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ป้องกันโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

  1. รับประทานอาหารให้ครบหมู่ และถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  2. งดอาหารรสเค็มจัด โดยควบคุมปริมาณเกลือ (บริโภคเกลือไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา) เพราะส่งผลต่อระดับโซเดียมและระดับน้ำในร่างกาย เช่น การคั่งน้ำ การไหลเวียนของน้ำในร่างกายและในหู
  3. งดอาหารที่มีน้ำตาลมาก อาหารไขมันสูงและอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทะเล (ยกเว้นปลา) อาหารทอด ขนมขบเคี้ยว เบเกอรี่
  4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านการหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารที่มีผงชูรสหรือสารปรุงแต่งมาก
  5. งดสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ช็อกโกแลต อาหารที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มบำรุงกำลังบางชนิด
  6. พักผ่อนให้เพียงพอ
  7. หลีกเลี่ยงสภาวะที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยอ่อนมากๆ เช่น การอดนอน การออกกำลังกายหักโหมเกินไป การทำงานติดต่อกันนานเกินไป
  8. หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เช่น เครียด
  9. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น สถานที่ที่มีเสียงดัง แสงแดดจ้า หรืออากาศร้อนอบอ้าว
  10. สำหรับผู้ที่มักเกิดอาการเวียนศีรษะเฉียบพลันโดยไม่มีอาการเตือน ควรหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเสี่ยงอันตราย เช่น การขับขี่ยานพาหนะที่ใช้ความเร็วสูง การเล่นเครื่องเล่นหวาดเสียว การปีนป่าย
  11. หมั่นดูสุขภาพใจ ทำจิตใจให้เบิกบานแจ่มใส
  12. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  13. บริหารศีรษะและการทรงตัว เพื่อให้สมองสามารถปรับตัวกับสภาวะต่างๆ ได้เร็วขึ้น

 

จาก หนังสือโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน สำนักพิมพ์ AMARIN Health


บทความน่าสนใจอื่นๆ

5 วิธี สยบเวียนหัว อาการบ้านหมุน

แผนจีนรักษา หูอื้อ คนทำงาน

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.