เห็ด,อาหารต้านโรค,อาหารเป็นยา,อาหารสุขภาพ,อาหาร

เห็ด อาหารเป็นยา กินเป็นได้ประโยชน์สารพัด

ทำไมเห็ด จึงจัดว่าคือ อาหารเป็นยา

หนึ่งในอาหารที่อยู่ในเมนูบ้านเราหลากหลาย ก็คือเห็ดต่างๆ นอกจะนำมากินเป็นอาหารเอร็ดอร่อย เราพบว่ามีเห็ดอยู่ในตำรายาแผนโบราณ วันนี้ คุณธิษณา จรรยาชัยเลิศ คอลัมนิสต์ประจำนิตยสารชีวจิต จะมาให้ข้อมูล อาหารเป็นยา ค่ะ

เห็ด…อาหารและยาเพื่อคนรักสุขภาพ

นายแพทย์ดํารงค์  เลาหะพรสวรรค์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเนเจอร์ไบโอเทค จํากัด จำแนกคุณสมบัติของเห็ดให้ฟังว่า “เราสามารถแบ่งเห็ดเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ เห็ดที่นิยมนำมาทำอาหารซึ่งส่วนใหญ่เรารู้จักกันดี และสองคือ เห็ดที่มีฤทธิ์ทางยา (Medicine Mushroom) ซึ่งมีไม่กี่ชนิด”

เห็ด,อาหารต้านโรค,อาหารเป็นยา,อาหารสุขภาพ,อาหาร

เห็ดเป็นอาหาร

โดยเห็ดที่นำมาทำอาหารนั้นมีหลายชนิด เช่น เห็ดเออรินจิ เห็ดหอม เห็ดโคน เห็ดเข็มทอง เห็ดนางฟ้า ฯลฯ หนังสือมหัศจรรย์อาหารต้านโรค บริษัทรีดเดอร์ไดเจสท์ (ประเทศไทย) กล่าวถึงสารอาหารเด่นๆในเห็ดที่นิยมนำมาปรุงอาหารว่าพบว่ามีสารไรโบฟลาวิน ไนอะซิน และวิตามินบี6 ในปริมาณสูง ซึ่งสารเหล่านี้ช่วยควบคุมภาวะซึมเศร้า ไมเกรนและโรคหัวใจได้ นอกจากนี้ยังมีสารเออร์โกสเตอรอลที่ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กระดูก

เห็ดเป็นยา

ส่วนเห็ดที่มีคุณสมบัติทางยานั้น คุณหมอดำรงค์อธิบายว่า “เห็ดที่มีคุณสมบัติทางยาคือ เห็ดหลินจือ ซึ่งในประวัติศาสตร์จีนมีการนำเห็ดหลินจือมาใช้ปรุงเป็นยาอายุวัฒนะ แต่ในปัจจุบันเราสามารถวิเคราะห์สารสำคัญต่อสุขภาพในเห็ดหลินจือที่พบว่ามีหลายชนิดมาก ชนิดเด่น ๆ คือ พอลิแซ็กคาไรด์(Polysaccharide) ซึ่งสารสำคัญในกลุ่มนี้คือ เบต้าดีกลูแคน (Beta D Glucan)

“โดยเบต้าดีกลูแคนมีสรรพคุณค่อนข้างกว้าง แต่ที่ออกฤทธิ์เพื่อช่วยระบบและอาการผิดปกติเด่นๆมี5 ระบบ คือ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล”

นอกจากนี้คุณหมอดำรงค์ยังอธิบายเสริมว่า นอกจากสารพอลิแซ็กคาไรด์แล้ว ในเห็ดยังพบสารไตรเทอร์ปีนอยด์ (Triterpenoids) ซึ่งมีรสขม มีสรรพคุณช่วยลดอาการภูมิแพ้ลดความดันโลหิตและระดับไขมันในเลือด

เห็ด,อาหารต้านโรค,อาหารเป็นยา,อาหารสุขภาพ,อาหาร

ปรุงเห็ดยาให้กลายเป็นอาหาร

นอดีตมีการนำเห็ดหลินจือโดยเฉพาะเห็ดหลินจือแดงมาทำอาหาร เช่น การต้มเป็นน้ำชาดื่ม คุณหมอดำรงค์อธิบายว่า

“เห็ดหลินจือแดงที่นำมาต้มเป็นชาดื่มค่อนข้างมีรสขมซึ่งทำให้ดื่มยาก และความร้อนสามารถสกัดสารพอลิแซ็กคาไรด์ออกมาได้30 – 40 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบันจึงเกิดการสกัดสารออกฤทธิ์ในเห็ดหลินจือแดงออกมาในรูปซอฟต์เจล (Soft Jel) และชนิดผงหรือแกรนูลที่สามารถนำมาเติมลงในอาหารหรือเครื่องดื่มได้”

นอกจากนี้คุณหมอดำรงค์ยังแนะนำเทคนิคการเลือกซื้อเห็ดหลินจือแดงว่า หากเป็นชนิดที่นำมาต้มเองควรเลือกเห็ดหลินจือแดงที่มีดอกขนาดใหญ่ โดยพื้นที่ปลูกที่ดีที่สุดคือ ประเทศเกาหลี เนื่องจากมีสภาพอากาศ น้ำ ดิน เหมาะสมกับการเจริญเติบโตที่สุด ส่วนชนิดที่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรมีเครื่องหมายรับรองจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

อาจจะเรียกได้ว่า  เห็ดคือของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้มนุษย์เพื่อสร้างสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

แพทย์จีนแนะอาหารควรงด เป็นหวัดห้ามกิน ทำอาการแย่ลง

เทคนิคดีๆ ช่วยเลิกนิสัย กินตามใจ ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน ได้ผล

การ กินโปรตีน สำหรับคนแต่ละประเภท เพื่อความสมดุล มีสุขภาพ

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.