หัวใจวาย, โรคหัวใจ

ออกซิเจน VS ซีพีอาร์ จำเป็นต่อผู้ป่วย หัวใจวาย แค่ไหน

ถามว่าการเตรียมพร้อมสำหรับภาวะฉุกเฉินทางด้านหัวใจมีอะไรบ้าง ตอบว่า นอกจากการให้คนใกล้ชิดไปเรียนซีพีอาร์ (CPR) อย่างที่คุณทำไปแล้ว สิ่งที่ควรทำนอกจากนั้น คือ

 

1. แผนปฏิบัติการฉุกเฉินซึ่งเป็นกระดาษครึ่งแผ่นห้อยฝาบ้านไว้ในนั้นเขียนสั้นๆ

1.1 เบอร์โทรศัพท์หมอประจำตัว

1.2 เบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาล

1.3 จะใช้รถของใคร ถ้าให้รถโรงพยาบาลมารับ เขารู้เส้นทางหรือไม่ เขามีระบบแผนที่นำทางที่ลงบ้านเราไว้ในแผนที่เขาหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ประสานงานกับโรงพยาบาลเสียก่อน ถ้าจะเอารถจากบ้านไปส่ง จะใช้รถคันไหน ใครเป็นคนขับ คนขับรู้เส้นทางหรือยัง

1.4 รายการยาที่ท่านกินอยู่ประจำ เขียนไว้หน้าแรกให้ชัดให้หมออ่านเห็นง่ายๆ

 

2. การใช้ชีวิตที่บ้านให้

2.1 ออกกำลังกายจนถึงระดับเหนื่อยแฮกๆ ทุกวัน ไม่ต้องย้ายมานอนชั้นล่าง ให้เดินขึ้นบันไดไป นอนชั้นบนนั่นแหละเพียงแต่ขึ้นลงช้าๆ หยุดกลางบันไดถ้าจำเป็น

2.2 กินอาหารที่มีพืชเป็นหลักและไขมันต่ำ

2.3 จัดการความเครียดให้ดี

2.4 ถ้ายังทำงานให้กลับไปทำงานตามปกติ ถ้าเกษียณแล้วให้ออกไปสมาคมนอกบ้านบ้าง อย่าปล่อยให้ซึมเศร้าอยู่ในบ้านคนเดียว

หัวใจวาย, โรคหัวใจ, CPR

3. เฉพาะกรณีที่เงินเหลือใช้และลูกหลานมีความพร้อมในการใช้งาน อาจซื้อเครื่องช็อกหัวใจด้วยไฟฟ้าอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator – AED) มาห้อยฝาบ้านเหมือนห้อยเครื่องดับเพลิงไว้ และซ้อมการใช้งานปีละครั้งสองครั้ง การได้ช็อกไฟฟ้าเร็วเป็นปัจจัยแรกสุดที่จะทำให้ผู้ป่วยหัวใจวายเฉียบพลันมีอัตรารอดชีวิตสูงสุด เครื่องนี้ราคาเครื่องละหลายหมื่นอยู่ แต่ราคาเครื่องยังไม่สำคัญเท่ามีคนที่พร้อมจะใช้เครื่องนี้หรือเปล่า

 

4. ส่วนออกซิเจนนั้น ผมไม่นับเป็นสิ่งจำเป็น คุณซื้อมาแล้วจะเก็บไว้ใช้ตามประเพณีนิยมก็ได้ครับ

 

จาก คอลัมน์ WELLNESS CLASS นิตยสารชีวจิต ฉบับ 485


บทความน่าสนใจอื่นๆ

หยุดฟุ้งซ่านป้องกันโรคหัวใจ

กินเต้าหู้ มาก ทำสมองเสื่อมจริงหรือ

คู่มือ โรคหัวใจ ป้องกันหอบเหนื่อยก่อนหัวใจวาย

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.