ผื่นคัน, ผด, ผื่น, ลมพิษ, โรคผิวหนัง

เช็ก ผื่นคัน สัมพันธ์กับโรค

4. โรคเรื้อรัง ภัยซุ่มเงียบก่อผื่น

นอกจากผื่นคันจากโรคผิวหนังอักเสบแล้ว ผู้ที่มีอาการคันเรื้อรังร้อยละ 10 – 15 เป็นผลมาจากโรคที่ซ่อนอยู่ คุณหมอพัชรินทร์เสริมอีกว่า

“ผื่นคันบางอย่างเป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรังที่มีผลข้างเคียงทำให้ภูมิต้านทานต่ำ บางโรคทำให้เกิดผื่นคันอย่างเห็นได้ชัด ที่พบบ่อยได้แก่ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (เอสแอลอี)”

How to Check

– เป็นผื่นแดงบนใบหน้า ลำตัว แขน ขา หรือทั้งตัว อาจมีสะเก็ดบางหรือหนา คัน

– ผื่นจะยิ่งแดงมากขึ้นเมื่อถูกแสงแดด

– มีอาการจ้ำเลือด ปวดบวมตามข้อหรือปลายนิ้ว อ่อนเพลียหรือมีไข้ร่วมด้วย

ผื่นคัน, ผด, ผื่น, ลมพิษ, โรคผิวหนัง
ผื่นคัน, ผด, ผื่น, ลมพิษ, โรคผิวหนัง

คุณหมอพัชรินทร์อธิบายต่อว่า “ส่วนบางโรคเรื้อรังที่ทำให้มีอาการคันก่อน เมื่อผู้ป่วยเกามากๆ จึงลุกลามกลายเป็นผื่นคัน โดยอาการผื่นคันจะมีลักษณะค่อนข้างคล้ายคลึงกัน จึงต้องไปพบหมอเพื่อตรวจวินิจฉัย”

How to Check

– โรคไต คันยุบยิบทั้งตัว มักกำเริบตอนกลางคืนระหว่างหรือหลังฟอกไต

– โรคตับ คันเป็นช่วงๆ คันมากบริเวณมือและเท้า พบอาการตัวเหลืองร่วมด้วย

– โรคเลือด คันเฉพาะที่ โดยเฉพาะรอบทวารหนักและอวัยวะเพศ

– โรคเบาหวาน คันทั่วร่างกาย โดยเฉพาะรอบทวารหนักและอวัยวะเพศ มักมีอาการติดเชื้อร่วมด้วย

– โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว คันปานกลางถึงคันมากจนทนไม่ได้มักเป็นบริเวณแขนด้านนอกและหน้าแข้ง

แต่ละโรคจะมีลักษณะเป็นตุ่มเดี่ยว เมื่อเกามากๆ และเป็นเวลานานจึงขยายวงเป็นผื่น

เมื่อทราบอาการเบื้องต้นแล้ว อย่านิ่งดูดาย?รีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจรักษาให้ทันท่วงทีด้วยค่ะ

 

อยากสยบผื่นคันต้องทำตามนี้

คุณหมอจิตติมาและคุณหมอพัชรินทร์แนะนำวิธีดูแลร่างกายเมื่อเกิดผื่นคัน ดังนี้ค่ะ

  • หาสาเหตุของอาการผื่นคันให้พบให้เร็วที่สุด แล้วควรไปพบแพทย์ทันที
  • หากเป็นผื่นแพ้สัมผัส ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารกระตุ้นการแพ้ให้มากที่สุด แต่หากเป็นผื่นคันที่เกิดจากโรคเรื้อรังภายใน ควรรักษาโรคที่ต้นเหตุก่อน ควบคู่ไปกับการรักษาผื่นคัน
  • ห้ามเกาบริเวณผื่นคัน เพราะผื่นคันบางชนิดสามารถหายได้เอง หากเกาจะยิ่งทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น
  • บำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ เช่น การกินผักและผลไม้ที่มีน้ำมากๆ ทาโลชั่นเป็นประจำ อาบน้ำอุ่นแต่น้อย หลีกเลี่ยงการถูสบู่บริเวณที่เป็นผื่น เพราะจะทำให้ผิวแห้งและผื่นเห่อ
  • ไม่ควรซื้อยามารักษาด้วยตัวเอง เนื่องจากยาที่ใช้อาจไม่ตรงกับโรค ทำให้ไม่หายขาดหรือผื่นคันลุกลามกว่าเดิม
  • ในการใช้ยาชนิดทา ควรทาเฉพาะจุดที่เป็นผื่น ไม่ควรทาเกินบริเวณ และหยุดใช้เมื่อผื่นคันหาย
ผื่นคัน, ผด, ผื่น, ลมพิษ, โรคผิวหนัง
ผื่นคัน, ผด, ผื่น, ลมพิษ, โรคผิวหนัง

5 คำถามเตรียมตอบหมอ

  1. เริ่มเป็นผื่นคันตั้งแต่เมื่อไร
  2. ผื่นขึ้นตรงตำแหน่งใดเป็นที่แรก และมีลักษณะการกระจายตัวอย่างไร
  3. ก่อนหน้านี้เคยสัมผัสหรือไปสถานที่ใดมาบ้าง
  4. รักษาด้วยยาอะไรมาก่อนหรือไม่ อาการดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร
  5. มีอาการอื่นร่วมกับอาการคันด้วยหรือไม่ เช่น เจ็บแสบและยังอาจมีคำถามอื่นๆ ที่คุณหมอสงสัยด้วยค่ะ

 

จาก คอลัมน์รายงานพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 304


บทความน่าสนใจอื่นๆ

6 โรคผิวหนังหน้าร้อน และวิธีป้องกันต้อนรับซัมเมอร์

โรคผิวหนัง ต้องระวังเมื่อฤดูเปลี่ยน

4 อันดับ สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง เริม และงูสวัด

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.