ผื่นคัน, ผด, ผื่น, ลมพิษ, โรคผิวหนัง

เช็ก ผื่นคัน สัมพันธ์กับโรค

4 อาการผื่นคันใกล้ตัว สำรวจด่วน!

คุณหมอจิตติมา ได้สรุปอาการผื่นคันประเภทโรคผิวหนังที่พบบ่อยในคนไทยออกเป็นสามกลุ่มคร่าวๆ ส่วนอีกหนึ่งกลุ่มผื่นคันเป็นประเภทที่เกิดจากโรคเรื้อรังภายในร่างกาย ซึ่งมีดังนี้ค่ะ

1. ผิวหนังอักเสบ แตะสัมผัสคันคะเยอ

คุณหมอจิตติมากล่าวถึงสาเหตุว่า “ผื่นคันในกลุ่มนี้เป็นผลจากโรคผิวหนังอักเสบ (eczema) ซึ่งมีสาเหตุมาจากกระบวนการทำปฏิกิริยาเองภายในร่างกาย หรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นผื่นคันที่มีอยู่ในตัวทุกคน แล้วเห่อขึ้นเองโดยไม่มีที่มาที่ไป แต่จะเป็นเฉพาะบางคนเท่านั้น เช่น ผื่นรังแค ภูมิแพ้ผิวหนัง

“หรือมีสาเหตุภายนอกจากการสัมผัสสารที่กระตุ้นให้เกิดการแพ้ทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือที่รู้จักกันดีว่าผื่นแพ้สัมผัส”

ลักษณะอาการผื่นคันจากโรคผิวหนังอักเสบที่พบมากในกลุ่มนี้ ยกตัวอย่างเช่น

ผื่นรังแค (seborrheic dermatitis)

หรือเรียกว่า โรคเซ็บเดิร์ม เป็นโรคในกลุ่มเดียวกับรังแค มักเป็นมากเป็นพิเศษตรงบริเวณที่เป็นสิวหรือมีต่อมไขมันมาก

How to Check

– เป็นผื่นตุ่มแดง แห้งคัน ผิวลอกเป็นขุยหรือสะเก็ดคล้ายรังแค แสดงอาการเฉพาะจุด บริเวณหนังศีรษะ หว่างคิ้วเหนือคิ้ว ขอบตา ข้างจมูก หน้าและหลังหู เป็นต้น

– หน้ามัน เป็นสิว

– ผื่นมักเห่อเมื่อเกิดความเครียด อากาศแห้ง สัมผัสแสงแดดหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

– เป็นโรคพาร์กินสัน หรือติดเชื้อเอชไอวี

ผื่นคัน, ผด, ผื่น, ลมพิษ, โรคผิวหนัง
ผื่นคัน, ผด, ผื่น, ลมพิษ, โรคผิวหนัง

ผื่นแพ้สัมผัส (contact dermatitis)

คุณหมอจิตติมาอธิบายว่า “การจะเกิดผื่นแพ้สัมผัสได้นั้น เราต้องสัมผัสสารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำ มาเป็นเวลานานหรือในปริมาณเข้มข้นสูงจนกระทั่งร่างกายแสดงปฏิกิริยาต่อต้านออกมา ประกอบกับถ้ามีแผลบริเวณผิวหนัง ก็จะยิ่งทำให้สารดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น

“สารกระตุ้นการแพ้มีหลายชนิด พบได้ในชีวิตประจำวันทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานที่ท่องเที่ยว สารที่แพ้กันมากที่สุดได้แก่ สารนิกเกิลในของใช้ที่เป็นโลหะ ไม่ว่าจะเป็นตุ้มหู สร้อยโทรศัพท์ นาฬิกาข้อมือ ฯลฯ

“นอกจากนี้ยังมีสารเคมีในเครื่องสำอาง เช่น น้ำหอม น้ำยาย้อมผม ลิปสติก ครีมบำรุงผิว สารเคมีประเภททำความสะอาด เช่น ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาขัดห้องน้ำ หากร่างกายแพ้สารชนิดใด โดยมากมักจะแพ้ไปตลอดชีวิต จึงต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสให้ดี”

ผื่นแพ้สัมผัสสามารถแบ่งตามกลไกการเกิดโรคออกเป็นสองลักษณะ ได้แก่

  • แบบระคายเคือง เมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นการแพ้จะเกิดผื่นระคายเคืองขึ้นทันที เนื่องจากเซลล์ชั้นหนังกำพร้าถูกทำลายโดยตรง
  • แบบแพ้ เมื่อร่างกายได้รับสารกระตุ้นการแพ้จะยังไม่เกิดผื่นคันขึ้นทันที แต่ร่างกายจะมีกลไกทำปฏิกิริยากับสารดังกล่าวก่อนประมาณ 1 – 3 วัน แล้วจึงแสดงอาการผื่นคันออกมา

How to Check

– ผื่นแพ้สัมผัสเฉียบพลัน รุนแรงมากที่สุด เป็นผื่นตุ่มน้ำใสมีน้ำเหลืองไหลเยิ้มค่อนข้างมาก คันมาก

– ผื่นแพ้สัมผัสปานกลาง เป็นผื่นตุ่มแดง แห้ง คัน ผิวลอกเป็นขุย

– ผื่นแพ้สัมผัสเรื้อรัง เป็นผื่นหนาและแข็ง เห็นลายเส้นผิวหนังชัดเจน คันเนื่องจากปล่อยให้เป็นผื่นมานานโดยไม่รักษาให้หายขาด

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.