สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท, โรคหัวใจ, รักษาโรคหัวใจ

สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท

สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท

สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท ครบด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและหลอดเลือด ตลอด 24 ชั่วโมง

ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เมื่อ พ.ศ. 2554 – 2556 ชี้ให้เห็นว่า อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดต่อประชากร 100,000 คน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปี พ.ศ. 2556 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 54,530 คน เฉลี่ยเสียชีวิตวันละ 150 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 6 คน หากต้องการดูแลหัวใจอย่างครบวงจร ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจและหลอดเลือด สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท มีคำตอบค่ะ

หัวใจหนึ่งในอวัยวะสำคัญที่เราควรใส่ใจดูแล เนื่องจากต้องทำงานหนักตลอด24 ชั่วโมงเพื่อส่งเลือดผ่านหลอดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะทุกส่วนในร่างกาย หากหัวใจหรือหลอดเลือดมีปัญหา ย่อมทำให้อวัยวะปลายทางขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เกิดอาการหัวใจวาย และส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันหากช่วยเหลือไม่ทัน ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้

ตั้งต้นให้สมบูรณ์แบบ
ด้วยการวินิจฉัยที่แม่นยำ

แพทย์หญิง คุณหญิงมัลลิกา วรรณไกรโรจน์ อธิบายว่า การวินิจฉัยที่แม่นยำจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้แพทย์รักษาได้ตรงจุด หากมีการตรวจพบความผิดปกติก่อนป่วย ย่อมช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ดีกว่าปล่อยให้ทรุดหนักจนปรากฏอาการ โดยสถาบันมีเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างครบวงจรผู้ป่วยจึงสามารถวางใจได้อย่างเต็มที่

นายแพทย์ไพศาล บุญศิริคำชัย ผู้อำนวยการสถาบัน ระบุว่า ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ที่มีความเสี่ยงโรคหัวใจ ผู้ป่วยที่มีระบบไฟฟ้าหัวใจเสื่อม สร้างหรือนำสัญญาณไฟฟ้าหัวใจไม่ได้ ทำให้หัวใจเต้นช้าหรือหยุดเต้น และผู้ป่วยที่เสี่ยงกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรง เราสามารถช่วยเหลือได้ด้วยการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจหรือเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ เพื่อลดอาการและความเสี่ยงจากภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะร้ายแรงเหล่านี้ได้

นายแพทย์ดำรงค์ สุกิจปัญญาโรจน์ เสริมว่าข้อมูลที่ได้จะนำมาสู่การตรวจวิเคราะห์ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ ก่อนวินิจฉัยขั้นสุดท้ายด้วยการใส่สายสวนไปยังตำแหน่งต่าง ๆภายในหัวใจ ร่วมกับการเอกซเรย์ในตำแหน่งที่มีความผิดปกติ หากพบความผิดปกติ เช่น มีจุดกำเนิดไฟฟ้าหรือวงจรผิดปกติ แพทย์จะใช้คลื่นไฟฟ้าความถี่สูงจี้ผนังหัวใจผ่านสายสวน ทำให้วงจรไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยกลับมาทำงานตามปกติและช่วยให้หายขาดได้

ปิดท้ายทางเลือกในการวินิจฉัย ด้วยการสวนหัวใจและฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งแพทย์หญิงธัญรัตน์ อร่ามเสรีวงศ์ อธิบายว่าเป็นการฉีดสารทึบสีเพื่อดูช่องทางเดินของหลอดเลือดหัวใจ หากพบว่ามีภาวะตีบตัน จะได้รักษาโดยขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนหรือการฝังขดลวดต่อไป

Doctor is using a stethoscope for patients patient examination. To hear the heart rate, For patients with heart disease. (Doctor is using a stethoscope for patients patient examination. To hear the heart rate, For patients with heart disease., ASCII,

รักษาและรับมือกับภาวะฉุกเฉิน
อย่างมืออาชีพและทันท่วงที

หนึ่งในปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดโรคหัวใจ ได้แก่ ความดันโลหิตสูงซึ่ง แพทย์หญิงปิยนาฏ ปรียานนท์ อธิบายว่า หากผู้ป่วยมีปัญหาความดันโลหิตสูงซึ่งควบคุมได้ยาก
ทางสถาบันมีการรักษาด้วยการจี้ระบบประสาทอัตโนมัติที่อยู่ในผนังหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงไตทั้งสองข้าง เพื่อควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ช่วยให้ผู้ป่วยกินยาน้อยลงหรือไม่จำเป็นต้องกินยาควบคุมความดันโลหิตอีก

แต่หากเกิดภาวะฉุกเฉินขึ้น เช่น กรณีเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ทีมแพทย์จำเป็นต้องทำงานแข่งกับเวลา นายแพทย์เทวินทร์ ชาคริยานุโยค อธิบายว่า ควรมีหออภิบาลหัวใจที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย ซึ่งทางสถาบันสามารถทำบอลลูนขยายหลอดเลือดและใส่ขดลวดช่วยได้ภายใน 60 นาทีทันทีที่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลหลังจากได้รับการรักษาแล้ว

ขั้นตอนต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กันคือการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ โดย แพทย์หญิงปิยะนุช รักพาณิชย์ อธิบายว่า เทคโนโลยีที่ได้ผลน่าพอใจ คือ เครื่องนวดกระตุ้นการทำงานหัวใจ ทำให้เกิดการสร้างหลอดเลือดฝอยช่วยให้หลอดเลือดและหัวใจทำงานดีขึ้น เหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจ หลอดเลือดสมองตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน และความดันโลหิตสูง

อ่านเพิ่มเติม : วินิจฉัย โรคหัวใจ เพื่อคนไข้ปลอดภัย ประหยัดงบ

แนะวิธีฟื้นฟูสุขภาพหัวใจ เอาใจใส่ด้วยตนเอง

ในกรณีที่มีปัญหาโรคหัวใจแล้วไม่ได้หมายความว่าต้องกลายเป็นผู้ป่วยไปตลอด ศาสตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เสริมว่า ขอเพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยให้น้ำหนักตัวลดลงกล้ามเนื้อหัวใจที่ยังเหลืออยู่สูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น หลอดเลือดหัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้น ลดปัจจัยเสี่ยงโรคอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดความดันโลหิตสูง ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ ได้ในระยะยาว

สุดท้าย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์องค์การ เรืองรัตนอัมพร แนะนำว่า อย่าลืมหลักปฏิบัติ 5 อ. มีอาหาร อากาศ อารมณ์ ออกกำลังกาย เลือกสิ่งที่ดี มีคุณภาพ อีกทั้งต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ และที่เน้นคือ อาฆาต หมายถึงตั้งใจลดปัจจัยเสี่ยงทั้งหลาย เช่น ความเครียดการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เป็นนิจและโปรดอย่าลืมว่า หัวใจเป็นอวัยวะที่สำคัญ

หากมีปัญหาควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

 

อ่านเพิ่มเติม: 4 อาการเหนื่อย ที่ไม่ควรมองข้าม เสี่ยงโรคหัวใจสูง

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.