ความดันโลหิตสูงภัยเงียบที่น่ากลัวต่อการคร่าชีวิตคน

โรคความดันโลหิตสูงเป็น 1 ในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรทั่วโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควรและยังคงเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น จึงได้รับขนานนามว่าเป็น “เพชฒฆาตเงียบ”(silent killer) เพราะมีอาการน้อยหรือไม่ได้มีอาการอะไรที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจน โรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นโรคที่อันตราย และก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อวัยวะสำคัญเช่น หัวใจ สมอง และไต

ระดับความดันโลหิตของคนปกติจะอยู่ที่ 120/80 mmHg
ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะอยู่ที่ระดับ 140/90 mmHg

สถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO,2013) พบว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการตายทั่วโลกสูงถึง 7.5 ล้านคน หรือร้อยละ 12.8 ของสาเหตุการตายทั้งหมด จำนวนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั่วโลกพบว่ามีจำนวนเกือบถึงพันล้านคน และมีการคาดการณ์ว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของโรคความดันโลหิตสูงของทั่วโลกเป็น 1.56 พันล้านคนในปี พ.ศ.2568

โรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขรายรายงานว่า อัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ต่อประชากร 100,000 คน ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2556-2560) เพิ่มขึ้นจาก 12,342.14 (จำนวน 3,936,717คน ) เป็น 14,926.47 (จำนวนคน 5,597,671คน) นอกจากนี้การสำรวจสุขภาพร่างกายในปี พ.ศ.2552 และ 2557 พบว่าการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 (ชายร้อยละ 21.5 และหญิงร้อยละ 21.3) เป็นร้อยละ 24.7 (ผู้ชายร้อยละ25.6และผู้หญิงร้อยละ 23.9)

สมุนไพรในโพชงมีตัวไหนบ้างที่ช่วยโรคความดันโลหิตสูงได้บ้าง?

ดอกคำฝอย

ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตบางอย่าง เช่น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อาจช่วยให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับที่เหมาะสม และเป็นผลดีต่อสุขภาพ เนื่องจากดอกคำฝอยประกอบด้วยสารที่ออกฤทธิ์ต่อหลอดเลือดแดง เช่น สารพอลีฟีนอล (Polyphenols) และสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่อาจช่วยยับยั้งไขมันชนิดที่ไม่ดี (LDL) ลดการก่อตัวของพลัค (Plaques) ตามผนังหลอดเลือด จึงเชื่อว่าดอกคำฝอยอาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับความดันโลหิต จากผลการวิจัยประสิทธิภาพสารสกัดจากเมล็ดดอกคำฝอย นักวิจัยแนะนำว่าการบริโภคสารสกัดจากเมล็ดดอกคำฝอยเป็นเวลานานค่อนข้างปลอดภัยต่อร่างกาย และอาจช่วยบรรเทาภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

กระเจี๊ยบแดง

เป็นยาสมุนไพรประจำบ้านที่หาใช้ง่าย และมีความปลอดภัยสูง เพราะส่วนมากถูกนำไปเป็นเครื่องดื่มแก้กระหาย แต่ความจริงแล้วกระเจี๊ยบแดงยังมีประโยชน์ อีกมากมาย ช่วยในเรื่องการดูแลเรื่องความดันสูง กระเจี๊ยบแดงมีรงควัตถุในกลุ่ม แอนโทไซยานิน (anthocyanin) เป็นสารละลายในน้ำ และยังมีสารกลุ่มโพลีฟีนอล (polyphenol) ได้แก่ protocatechuic acid นอกจากนี้ยังเข้าไปช่วยบำรุงกำลัง ฟื้นฟูร่างกาย

มีรายงานการวิจัยทางคลินิกพบว่าในวันที่ 12 หลังผู้ป่วยได้รับชาชงกระเจี๊ยบแดงทุกวัน ค่าความดันโลหิตเมื่อหัวใจบีบตัวและคลายตัวลดลง 11.2% และ 10.7% ตามลำดับเมื่อเทียบกับวันแรก และ 3 วันหลังจากหยุดดื่มชาชง ความความดันโลหิตทั้งสองค่าก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (น้ำกระเจี๊ยบแดง)

อบเชย

อบเชย สมุนไพรที่มีกลิ่นหอมหวานชนิดนี้ มีการวิจัยในญี่ปุุ่นพบว่ามันมีสรรพคุณในการช่วยลดความดันโลหิต โดยการนำผงอบเชยสำเร็จรูปหรือนำอบเชยมาบดให้เป็นผงชงกับน้ำ ดื่มเช้า เย็น และก่อนนอน นอกจากนี้อบเชยยังช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวานได้ด้วยเช่นกัน

เก๊กฮวย

สมุนไพรที่เหมือนจะธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา ที่จริงเข้าช่วยเข้าไปบำบัดได้หลายโรค จนมีงานวิจัยออกมาเกี่ยวกับเรื่องความดันโลหิตสูง การวิจัยบางส่วนเกี่ยวกับการรักษาโรคความดันโลหิตสูงตามศาสตร์แพทย์แผนจีนระบุว่า เก๊กฮวยอาจช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะจากความดันโลหิตสูง และมีฤทธิ์ลดระดับความดันโลหิตลงได้ และยังมีข้อมูลจากการศึกษางานค้นคว้าที่ให้หนูทดลองกินสารสกัดจากเก๊กฮวยในปริมาณ 100-300 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งพบว่าความดันโลหิตในหนูทดลองลดลงด้วยเช่นกัน

สนับสนุนข้อมูลโดยผลิตภัณฑ์โพชง
ติดต่อสอบถาม  Call center : 099-219 3955   Line@: @pochong www.pochong.net

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.