อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์

กูรูแนะนำ อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ กินอย่างไรช่วยต้านโรค

อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ ต้านอารมณ์แปรปรวน

ความเครียดทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกินจะช่วยให้อาการของโรคดีขึ้น อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ จะมีอะไรบ้างนั้น เรามีกูรูมาแนะนำค่ะ

อาการไทรอยด์ผิดปกติ มีด้วยกัน 2 แบบค่ะ คือ ไฮเปอร์ไทรอยด์ และไฮโปไทรอยด์ แม้ทั้งสองอย่างมีการแสดงอาการที่แตกต่าง แต่ในเรื่องของอาหารการกินนั้น มีอาหารที่ควรกินเหมือนกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารอาหารสำคัญ และหาได้ไม่ยาก

เครียด, ความเครียด, โรคไทรอยด์, ไทรอยด์, อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์
ความเครียดทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานไม่ปกติ

ผลกระทบจากความเครียด

ความเครียดและความไม่ปกติของต่อมไทรอยด์นั้นส่งผลต่อการทำงานของร่างกายอย่างไรบ้าง

  • ปวดหัวจากความเหนื่อยล้า
  • ระบบภูมิคุ้มกันทำงานลดลง
  • นอนไม่หลับ หรือหลับทั้งๆที่ตื่นอยู่ (คือสมองไม่ทำงานหรือเบลอนั่นเอง)
  • อารมณ์แปรปรวน (ความผิดปกตินี้ ผู้หญิงมักอ้างว่า ฉันเป็นผู้หญิงก็ต้องมีอารมณ์นี้นะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว…ไม่จำเป็นค่ะ…คุณผู้ชายจำไว้เลย แล้วรีบไปปรับอาหารการกินของเธอด่วน ว่าแต่ปรับอย่างไรนั้นติดตามต่อไปค่ะ)
  • อยากของหวานหรือกาแฟ (นี่ละค่ะสาเหตุความแปรปรวนของอารมณ์คุณผู้หญิง)
  • ควบคุมอาการอยากอาหารไม่ได้ เช่น มือสั่นหรือวิงเวียนเมื่อถึงเวลาอาหาร
  • กินเพื่อบรรเทาความเหนื่อยล้า (คุณผู้ชายเริ่มเห็นปัญหาของสาวใกล้ตัวแล้วใช่ไหม อิๆ)
  • เวียนหัวขณะลุกยืน
  • ระบบย่อยถูกรบกวน (อันนี้เราอาจมองไม่เห็น แต่ให้สังเกตว่า เวลากินเข้าไปแล้ว เกิดอาการอาหารไม่ย่อย มีกรดหรือแก๊สในกระเพาะอาหารมีอาการกรดไหลย้อน ท้องผูก…เหล่านี้เป็นต้นค่ะ)

เมื่อมีอาการดังกล่าว เรามักแก้ปัญหากันปลายทาง หาทิปส์นั่นทิปส์นี่จากสื่อนั้นสื่อนี้ มั่วบ้าง จริงบ้าง เลยทำให้แก้ปัญหาแบบผิดๆถูกๆ (ส่วนใหญ่แก้ไม่ถูก) สุขภาพเลยทรุดโทรม จบลงด้วยความอ้วน และกลายเป็นคนขี้บ่นหรือขี้เหวี่ยง

อาหารจ้า อาหาร…(เรารู้ว่าคนที่อ่านคอลัมน์นี้ใจร้อน อยากรู้คำตอบเร็วๆ อิๆ) มาฟังกันค่ะ

กินได้ทุกอย่าง

ไม่ว่าจะเป็นอาหารชีวจิต อาหารมังสวิรัติ อาหาร 5 หมู่ทั่วไป ยกเว้นอาหารที่กระตุ้นการต้านภูมิคุ้มกันตนเอง (Autoimmunity) เช่น ไข่
และผลิตภัณฑ์จากนม เพราะอาหารดังกล่าวจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและส่งผลให้เกิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ตามมา แน่นอนว่าความเครียดมาพร้อมกับความแปรปรวนของอารมณ์

ธัญพืช

แน่นอนว่ากินได้ โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย แต่ต้องมั่นใจว่าแช่น้ำก่อนนำมาทำให้สุก ทั้งนี้เพื่อเป็นการเลี่ยงสาร
กลูเตนและกรดไฟติก หรือโปรตีนอื่นๆที่อาจก่อให้เกิดการอักเสบ นำไปสู่ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์และความเครียดที่พ่วงมากับโรคด้วย

ธัญพืช, อาหารสุขภาพ, อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์, โรคไทรอยด์, ไทรอยด์
ผู้ป่วยไทรอยด์ ควรเลือกกินข้าวหรือธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดขาว

น้ำมันพืช

อาจต้องลดปริมาณการบริโภคน้ำมันพืชลงบ้าง เพราะมีสารอนุมูลอิสระที่นำไปสู่การอักเสบ (กรณีที่ร่างกายเรามีสารอนุมูลอิสระมากเกินไป)

เลี่ยงแป้งขัดขาวและธัญพืชที่ผ่านการขัดขาว

และควรกินชนิดที่แปรรูปแล้วให้น้อยลง

แต่อย่าลดการกินคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป

(เชื่อว่าสาวๆน่าจะทำเป็นอย่างแรก เพราะกำลังลดน้ำหนักอยู่หรือกลัวน้ำหนักเพิ่ม) อย่าลืมว่า การกินคาร์โบไฮเดรตจะทำให้ร่างกายหลั่งอินซูลิน ซึ่งอินซูลินนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยอินซูลินนั้นใช้ในการแปลง T3 เป็น T4 และ T4 ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มาจากต่อมต่อมไทรอยด์(เข้าใจนะคะว่า T3 มาจากพาราต่อมไทรอยด์ ซึ่งเป็นคนละต่อมกับต่อมไทรอยด์ อินซูลินช่วยพา T3 เข้าไปในต่อมต่อมไทรอยด์ และหลั่งออกมาเป็น T4) ขณะเดียวกัน บางกรณีT4 ก็ต้องแปลงกลับไปเป็น T3

เนื่องจาก T3 ทำงานมากกว่า ฉะนั้นถ้าระดับอินซูลินต่ำเกินไปเนื่องจากควบคุมแคลอรี เลยกินอาหารจำพวกแป้งและโปรตีนน้อยเกินไป อาจทำให้ต่อมไทรอยด์ต้องทำงานหนักในกระบวนการแปลงฮอร์โมนจาก T4 กลับไปเป็น T3 ซึ่งหากเป็นแบบนี้ติดต่อกันนานเข้าก็คงไม่ดี ฉะนั้นควรได้รับแคลอรีจากคาร์โบไฮเดรต 30 เปอร์เซ็นต์ และแคลอรีจากโปรตีนอีก 30 เปอร์เซ็นต์ โดยที่เหลือคือแคลอรีจากไขมันดี

ดูแลระบบย่อยให้ดี

ว่าไปน่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดเพราะความเชื่อมโยงกันระหว่างระบบย่อยกับการทำงานของต่อมไทรอยด์นั้นเหนียวแน่นมาก (แต่น้อยคนจะรู้ ใช่ไหม หุๆ) เนื่องจาก 70-80 เปอร์เซ็นต์ของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันนั้นเริ่มต้นจากระบบย่อย รวมทั้งแบคทีเรียดีในลำไส้เป็นผู้ช่วย
สำคัญในการแปลง T4 ให้เป็น T3 การอักเสบภายในระบบย่อย (รู้ได้อย่างไรน่ะหรือคะ ก็จากอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ กรดไหลย้อน ท้องผูก) เป็นการเพิ่มระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล และเรารู้กันว่ามันคือฮอร์โมนความเครียด ซึ่งจะไปลดการแปลง T4 เป็น T3 และหากกรดในกระเพาะอาหารมีน้อยเกินไป (สังเกตจากอาการอาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ) จะทำให้แบคทีเรียที่เป็นผู้ร้ายเติบโต เกิดเชื้อรา หรือพาราสิตในระบบย่อย

ซึ่งล้วนแล้วแต่นำมาสู่การที่อาหารไม่ถูกดูดซึม (ลำไส้ขี้เกียจหรือ Leak Gut Syndrome) อาการอักเสบ แน่ละ เมื่อลงเอยที่การอักเสบย่อมต่อยอดไปเป็นความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ และก็เลยเถิดไปสู่ความเครียดและความไม่อยู่กับร่องกับรอยของอารมณ์

ระบบย่อยอาหาร, ไทรอยด์เป็นพิษ, อาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์, โรคไทรอยด์, ไทยรอยด์
ระบบย่อยอาหารมีความเชื่อมโยงกับการทำงานของต่อมไทรอยด์

(เมื่อลำไส้ขี้เกียจ มันจะทำงานไม่ปกติ ดูดซึมบ้าง ไม่ดูดซึมบ้าง บ้างก็ดูดซึมโปรตีนแปลกปลอมเข้าไปในร่างกายและเจ้าโปรตีนแปลกปลอมเหล่านี้นี่แหละที่ไปก่อกวนระบบภูมิคุ้มกัน โดยปกติมันจะจับกินเซลล์แปลกปลอม แต่เมื่อสิ่งแปลกปลอมนั้นไปอยู่ในรูปแบบโปรตีนมันเลยงงและจับเซลล์กินมั่วไปหมดคือแยกไม่ออกว่าเซลล์ไหนคือเซลล์ของร่างกาย เซลล์ไหนคือเซลล์แปลกปลอม)

นอกจากความเครียดที่เชื่อมโยงกับการทำงานของต่อมไทรอยด์แล้วยังมีความเครียดที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจจะต้องแก้ไขด้วยการทำใจหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่าง 


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รู้จักความแตกต่างของ “ไฮเปอร์ไทรอยด์” และ “ไฮโปไทรอยด์”

ดูแล ไทรอยด์เป็นพิษ ตามวิถีแพทย์แผนจีน

ไทรอยด์หรืออ้วน แยกให้ได้ก่อนต้องรีบวิ่งไปหาคุณหมอ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.