โรคผิวหนังในหน้าร้อน, โรคผิวหนัง,ฤดูร้อน, วิธีดูแลผิว

6 โรคผิวหนังหน้าร้อน และวิธีป้องกันต้อนรับซัมเมอร์

6. ผิวไหม้แดด

เกิดจากการอยู่ในที่กลางแจ้งมากเกินไปทำให้ผิวบริเวณนั้นลอก ปวดแสบปวดร้อน และดำคล้ำขึ้น แสงแดดสะสม อีกทั้งแสงยูวีจะกระตุ้นให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานมากขึ้น เกิดฝ้าและกระแดดหรือผิวคล้ำขึ้นในช่วงหน้าร้อน หากใครที่เป็นฝ้าอยู่แล้วอาจเป็นมากขึ้น  โดยผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นประจำก็จะเริ่มมีฝ้าและกระแดดเกิดขึ้นที่ใบหน้า และยังเป็นตัวการก่อให้เกิดปัญหาริ้วรอยก่อนวัย ตลอดจนมะเร็งผิวหนัง

วิธีดูแลสำหรับคนที่มีปัญหาผิวไหม้แดด หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ แต่หากจำเป็นต้องอยู่ที่กลางแจ้งในช่วงที่มีแดดจัด ควรแต่งกายให้มิดชิด ร่วมกับการสวมหมวกปีกกว้าง กางร่ม ตลอดจนสวมแว่นตากันแดด เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากแสงแดดต่อผิวและดวงตาและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันแสงแดดเป็นประจำ

 

สรุปแล้วเราควรดูแลตัวเองอย่างไร?

ในหน้าร้อนสิ่งที่สำคัญ คือ  ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่กลางแจ้งหรือตากแดดเป็นเวลานาน หรือถ้ามีความจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน ๆ ควรใช้ครีมกันแดดทาบริเวณใบหน้า ลำคอ และผิวบริเวณที่ไม่มีเสื้อผ้าปกคลุม การทาครีมกันแดดควรทามากกว่าหนึ่งครั้งต่อวัน และควรจะทาก่อนออกแดดประมาณครึ่งชั่วโมง แต่ถ้าต้องอยู่ในที่กลางแจ้งหลาย ๆ ชั่วโมง ก็ควรจะมีการทาครีมกันแดดซ้ำทุก 2-4 ชั่วโมง

ทาครีมกันแดด, โรคผิวหนัง, โรคผิวหนังหน้าร้อน, ฤดูร้อน, วิธีดูแลผิว
ป้องกันแดดได้ด้วยการทาครีมกันแดด

ในส่วนของการแต่งกาย เป็นสิ่งที่สำคัญในการช่วยป้องกันแดด ควรใส่เสื้อแขนยาว ใส่หมวกที่มีปีกกว้าง และแว่นตากันแดดเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากแสงแดดต่อผิวและดวงตา ควรใส่เสื้อผ้าที่หลวมหรือโปร่ง หลวมขึ้น เพื่อช่วยให้ระบายความร้อนได้ดี และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคเชื้อราและการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง และยังช่วยลดเหงื่อด้วย รวมทั้งควรอาบน้ำบ่อยขึ้นในช่วงหน้าร้อน

 

หากมีอาการผิดปกติของผิวหนังอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้น เช่น มีอาการคันมากหรือ มีแผลอักเสบลุกลาม ควรรีบพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้าน โรคผิวหนัง เพื่อได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วจะดีที่สุดค่ะ


บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

เคล็ดลับความงาม เพื่อผิวสวย สู้แดด

รู้จักสิวผดก่อนหน้าพัง! เพราะสิวผดไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแค่ฤดูร้อนเท่านั้น

ภูมิแพ้ผิวหนัง โรคพบบ่อยเมื่อสภาพอากาศแย่

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.