อาการเหนื่อย

3 อาการเหนื่อย ที่ไม่ควรมองข้าม เสี่ยงโรคหัวใจสูง

อาการเหนื่อย เสี่ยงโรคหัวใจ

หลายคนคงมีความสงสัยว่า อาการเหนื่อย แบบไหน ที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคร้าย รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุพจน์ ศรีมหาโชตะ แพทย์อายุรศาสตร์หัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สรุปว่า อาการที่เกิดจากโรคหัวใจ หรือสัมพันธ์กับหัวใจผิดปกติมีไม่มากนัก ซึ่งคุณสามารถเช็กอาการเบื้องต้นจากร่างกายตนเองได้ ดังนี้

เหนื่อยง่าย

คุณหมอสุพจน์อธิบายว่า คำว่า “เหนื่อยง่าย” ในความหมายของแพทย์คือ มีอัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยจะหมายถึง รู้สึกเหนื่อย เพลีย หมดแรง มือเย็น เท้าเย็น มีอาการชา เวลาพูดก็เหนื่อย ซึ่งอาการเหนื่อยเหล่านี้ มักไม่ใช่อาการจากโรคหัวใจ

เหนื่อยง่ายที่เกิดจากโรคหัวใจจะสังเกตได้จาก เมื่อรู้สึกเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว และจะมีอาการมากขึ้นเมื่อออกแรง บางท่านอาจเหนื่อยมากจนไม่สามารถนอนราบได้ ต้องนอนหนุนศีรษะให้สูงหรือนั่งหลับ รวมทั้งมีอาการไอไม่หยุด

อย่างไรก็ตาม การเหนื่อยง่าย หอบ ที่เกิดจากการเดิน วิ่ง หรือทำงาน อาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคปอด ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ แม้แต่ความวิตกกังวลก็ทำให้เหนื่อยได้เช่นกัน

เจ็บหน้าอก

คุณหมอสุพจน์ สรุปอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจไว้ว่า

  • รู้สึกอึดอัด เจ็บแบบแน่นๆกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้านก็ได้ บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือแขนทั้งสองข้าง มีอาการจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
  • อาการเจ็บจะเกิดขณะออกแรง เช่น เดินเร็วๆ วิ่งขึ้นบันได โกรธ โดยอาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดทำกิจกรรมนั้นๆ
  • ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจะมีอาการเจ็บและแน่นหน้าอกขณะที่พัก เช่น นั่ง นอน หรือหลังกินอาหาร
  • หากเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน จะมีอาการรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับมีเหงื่อออก เป็นลม

นอกจากนี้ อาการเจ็บหน้าอกยังเกิดจากการอักเสบของอวัยวะที่อยู่ในทรวงอก เช่น เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก  กระดูกซี่โครง เต้านม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก ซึ่งมีอาการดังนี้

  1. รู้สึกเจ็บแปลบจุดเดียวคล้ายถูกเข็มแทง และกดเจ็บบริเวณหน้าอก
  2. อาการเจ็บเกิดขึ้นขณะพัก และเจ็บต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
  3. มีอาการเจ็บมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า ขยับตัว หรือหายใจเข้าลึกๆ
  4. อาการเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า

เจ็บหน้าอก, อาการเหนื่อย, โรคหัวใจ, อาการของโรคหัวใจ, หัวใจ

ขาบวม

หนังสือโรคของหัวใจและหลอดเลือด โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ กล่าวถึงอาการบวมน้ำในผู้ป่วยโรคหัวใจไว้ว่า

“อาการบวมน้ำ ได้แก่ การมีน้ำคั่งในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ก่อให้เกิดการบวมโดยไม่มีอาการของการอักเสบ (แดง ร้อน มีไข้) โดยมักเกิดในบริเวณเท้า ดวงตา  ใบหน้า แขน ท้อง และบางครั้งในโพรงเยื่อหุ้มปอด อาการบวมน้ำเป็นอาการที่พบได้บ่อยของโรคหัวใจล้มเหลว แต่พบได้บ่อยเช่นกันด้วยสาเหตุจากโรคต่างๆ”

คุณหมอสุพจน์อธิบายต่อว่า

“อาการขาบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากหัวใจด้านขวาทำงานน้อยลง เลือดจากขาไม่สามารถไหลกลับเข้าไปที่หัวใจด้านขวาได้สะดวก จึงมีเลือดคั่งที่ขามากขึ้น และมีน้ำซึมออกมาได้ง่าย ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบเพื่อหาสาเหตุการเกิดโรค แล้วจึงจะสามารถทำการรักษาได้อย่างถูกต้อง”

สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจว่า ตนเองขาบวมจากโรคหัวใจ หรือไม่ คุณสามารถทดสอบโดยการใช้นิ้วกดลงที่หน้าแข้งหรือตาตุ่ม หากยกนิ้วขึ้นแล้วเนื้อยังคงบุ๋มอยู่นานเป็นนาทีอาจหมายความว่าเกิดปัญหาเลือดไม่สามารถไหลกลับเข้าสู่หัวใจได้ เกิดการคั่งของเลือดและมีน้ำรั่วซึมออกมาในเนื้อเยื่อ ซึ่งเป็นอาการเสี่ยงของโรคหัวใจ

คุณหมอสุพจน์ยังย้ำว่า หากมีอาการเสี่ยงมากกว่า 1 ข้อ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพราะนอกจากมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจแล้ว อาจเกิดจากสาเหตุอื่นก็ได้

ดังนั้นการดูแลสุขภาพให้ฟิตเฟิร์มอยู่เสมอ  ย่อมดีกว่าปล่อยให้หัวใจแสดงอาการผิดปกติแน่นอนค่ะ

โรคที่เกี่ยวข้องกับอาการเจ็บหน้าอก

· โรคหัวใจเฉียบพลัน

มีอาการเจ็บหน้าอกแต่ไม่มากในบริเวณส่วนกลางหน้าอก โดยเป็นๆ หาย ๆ มักเกิดร่วมกับอาการเหนื่อยหอบเมื่อออกแรง และมักมีอาการบวมที่หน้า มือ แขน ขา เท้า ร่วมด้วย

· โรดหัวใจเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจล้มเหลว

มีอาการเจ็บหน้าอกไม่มาก โดยทั่วไปอาจเจ็บส่วนไหนของหน้าอกก็ได้ แต่มักไม่เจ็บในบริเวณส่วนกลาง มักเกิดร่วมกับการมีไข้สูง มีน้ำมูก และไอ (อาจไอมากหรือน้อย มีเสมหะมากหรือน้อย และสีของเสมหะขึ้นกับชนิดของเชื้อ)

· โรคของปอด และ / หรือโรคทางเดินลมหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อเฉียบพลัน (จากไข้หวัด)

เจ็บหน้าอกด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน และมักเกิดร่วมกับอาการไอมาก หายใจลำบาก เหนื่อย มีไข้ และมีเสมหะ
สีเหลืองหรือเขียว สาเหตุมักเกิดจากโรคปอดบวมจากการติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย

· โรคปอดบวม

เจ็บหน้าอกด้านใดด้านหนึ่งหรือสองด้าน อาจเจ็บมากขึ้นในช่วงหายใจเข้า อาจมีไข้หรือไม่มีไข้ ไอมากและอาจมีเสมหะสีใสๆ

· โรคหลอดลมอักเสบ

มักเจ็บหน้าอกด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้านร่วมกับหายใจลำบาก หอบเหนื่อยหายใจมีเสียงหวีด มักมีประวัติโรคภูมิแพ้ หรือโรคหืดมาก่อน

· โรคหืด

เจ็บหน้าอกด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองด้าน มักเจ็บเมื่อออกแรง ร่วมกับอาการหายใจลำบากเมื่อออกแรงหรือนอนราบ
ร่วมกับมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ และมีไอได้บ้าง แต่มีเสมหะน้อยและมักเป็นสีขาว ทั้งนี้ขึ้นกับสาเหตุ

· โรคปอดบวมน้ำ

เป็นการเจ็บหน้าอกมากทันทีเพียงด้านใดด้านหนึ่ง อาการเจ็บมากขึ้นเมื่อหายใจเข้า และโดยเฉพาะภายหลังออกแรง ไม่มีไข้ ไม่มีอาการไอ อาจร่วมกับแน่นหน้าอกหรือหายใจลำบาก ขึ้นกับปริมาณอากาศในโพรงเยื่อหุ้มปอด

· โรคมีอากาศในโพรงเยื่อหุ้มปอด

มีอาการแสบร้อนกลางอก มักเจ็บหน้าอกเรื้อรัง แต่ไม่รุนแรง เจ็บตรงกลางหน้าอก อาจมีไอเรื้อรังหรือมีเสม เมื่อตื่นนอน เรอบ่อยโดยไม่สัมพันธ์กับการกินอาหาร (มักเรอตอนเช้าทั้งๆ ที่ยังไม่ได้กินอาหาร) อาการเจ็บอาจสัมพันธ์กับชนิดอาหาร

· โรคกรดไหลย้อน

เป็นอาการเรื้อรัง โดยมักเจ็บหน้าอกด้านซ้ายเป็นบางครั้ง อาจเกิดร่วมกับอาการปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี หรือปวดท้องตอนบน และมักสัมพันธ์กับชนิดอาหาร เช่น อาหารรสจัด นอกจากนั้นอาการปวดท้องจะดีขึ้นเมื่อกินอาหาร (เพราะช่วยเจือจางกรด)

· โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

เกิดได้ทั้งจากโรคถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน (มักร่วมกับมีไข้สูง) โรคถุงน้ำดีอักเสบเรื้อรัง (มีไข้ต่ำ ๆ หรือ ไม่มีไข้) และโรคนิ่วในถุงน้ำดี โดยมักเจ็บหน้าอกด้านขวาตอนล่างร่วมกับปวดท้องด้านขวาตอนบน หรือปวดท้องในส่วนบนและปวดมากขึ้นเมื่อหายใจเข้า ทั้งนี้ อาการปวดหรือเจ็บมักมากขึ้นเมื่อกินอาหาร โดยเฉพาะอาหารไขมัน เพราะไขมันจะกระตุ้นการบีบตัวของถุงน้ำดี จึงกระตุ้นอาการปวด

· โรคของถุงน้ำดี

เป็นได้ทั้งอาการเฉียบพลันจากการอักเสบเฉียบพลัน และเรื้อรังจากการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาการเจ็บหน้าอกมี ไม่มาก ไม่แน่นอนว่าเกิดกับหน้าอกส่วนใด แต่มักเกิด ร่วมกับอาการปวดท้องตอนบนและร้าวไปด้านหลัง หรือ ร่วมกับปวดหลัง เมื่อโรคเป็นมากอาจมีอาการตัวเหลือง และเมื่ออักเสบเฉียบพลันมักมีไข้สูง ตาเหลืองร่วมด้วย คลื่นไส้ อาเจียน

· โรคตับอ่อนอักเสบ

มักเป็นอาการเจ็บหน้าอกเรื้อรัง โดยเปลี่ยนที่ไปเรื่อย ๆ ตามตำแหน่งของแก๊สที่กักคั่งในลำไส้และดันกะบังลม มักเกิดร่วมกับอาการปวดท้อง ซึ่งตำแหน่งจะเคลื่อนที่ได้เรื่อย ๆ เช่นกัน และอาการจะดีขึ้นเมื่อผายลม หรือเรอ


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ความดันและไขมันในเลือดสูง ปรับเปลี่ยน 3 อ (อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์) ไม่ง้อยา

อาหารดี ช่วยตับแข็งแรง

เจ็บหน้าอก เช็กซิเป็นโรคอะไร

ติดตามชีวจิตได้ที่

Instagram Cheewajitmedia
Facebook นิตยสาชีวจิต

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.