ผู้สูงวัย, เช็คอาการ, สุขภาพจิต, ดูแลจิตใจ, ผู้สูงอายุ

ชี้ 10 อาการ “ป่วยใจ” ในผู้สูงวัย

เช็คอาการ “ป่วยใจ” ในผู้สูงวัย 10 ข้อมีอะไร มาดูกัน

เช็คอาการ “ป่วยใจ” ในผู้สูงวัยกันเถอะ เพราะเราจะมีหนทางรู้ได้อย่างไรว่าญาติผู้ใหญ่ที่รัก กำลังเผชิญกับสภาวะป่วยทางใจ หรือเป็นแค่ความเสื่อมถอยตามธรรมชาติของร่างกาย

บทความนี้เรียบเรียงจาก 10 Symptoms of Mental Illness in the Elderly โดย Sarah Stevenson

20 เปอร์เซ็นต์ของคนวัย 55 ขึ้นไป ล้วนเคยประสบข้อกังวลด้านสุขภาพจิต รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง มาแล้วทั้งนั้น แต่เกือบหนึ่งในสาม ไม่รับการรักษาอย่างถูกต้อง แม้ว่า ข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการเจ็บป่วยในผู้สูงวัยจะมีความสำคัญ แต่ถ้ามีความรู้ที่ดีและการให้ความสนใจอย่างจริงจัง จะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถสังเกตเห็นสภาวะทางอารมณ์และจิตใจของผู้สูงวัย เพื่อนำไปสู่การรักษาอย่างถูกวิธีเมื่อเกิดปัญหาขึ้น

ปัญหาสุขภาพจิตใจที่พบบ่อยที่สุดในหมู่ผู้สูงวัย คือ อาการความจำเสื่อม ในอเมริกา ประมาณกันว่า ผู้สูงวัยที่อายุ 65ปีขึ้นไปราว 5 ล้านคนกำลังประสบ

ภาวะอัลไซเมอร์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 11 เปอร์เซ็นต์ของผู้สูงวัยทั้งหมด จากข้อมูลของสมาพันธ์อัลไซเมอร์

ภาวะซึมเศร้าและอารมณ์แปรปรวนพบเห็นได้ทั่วไปในหมู่ผู้สูงวัย แต่ที่น่าตกใจก็คือมักไม่ได้รับการรักษาเยียวยา

มีรายงานว่า 5 เปอร์เซ็นต์ของผู้สูงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไปยอมรับว่าตนมีภาวะซึมเศร้า และประมาณ 10.5 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นซึมเศร้าในช่วงหนึ่งช่วงใดของชีวิต

สิ่งที่มักเกิดควบคู่กับภาวะซึมเศร้า นั่นก็คือความวิตกกังวล ซึ่งเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่เห็นชัดที่สุดในผู้สูงวัย

การเกิดภาวะวิตกกังวล ยังมีความเกี่ยวข้องกับอีกหลายความผิดปกติที่ตามมา ตั้งแต่โรคชอบเก็บสะสมของ (Hoarding Syndrome) และการย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-Compulsive Disorder) ไปจนถึงโรคกลัว (Phobia) และภาวะผิดปกติทางจิตใจจากเหตุการณ์รุนแรง (Post-traumatic Stress Disorder-PTSD)

ประมาณ 7.6 เปอร์เซ็นต์ของผู้สูงวัยที่อายุเกิน 65 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่า ตกอยู่ในภาวะวิตกกังวล ณ จุดใดจุดหนึ่งของชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงอาการเจ็บป่วยทางจิต

ปัญหาอย่างหนึ่งสืบเนื่องจากการวินิจฉัยและการรักษาภาวะป่วยทางจิตในผู้สูงวัยก็คือ การที่ผู้สูงวัยมีแนวโน้มที่จะรายงานถึงอาการทางด้านร่างกาย มากกว่าจะพูดถึงข้อกังวลทางจิตใจ

แม้แต่ความเครียดทางร่างกายและอารมณ์ ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับอายุที่เพิ่มขึ้น ก็สามารถจะกลายเป็นปัจจัยเสี่ยง นำไปสู่ความเจ็บป่วยทางใจ อย่างเช่น ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้

ปัจจัยร้ายนำสู่ภาวะ “ใจป่วย”

-การใช้แอลกอฮอล์หรือสารเสพติด

-การเปลี่ยนแปลงด้านสภาวะแวดล้อม เช่นการย้ายไปอยู่บ้านพักคนชรา

-ความเจ็บป่วยที่ก่อให้เกิดความจำเสื่อม (เช่น อัลไซเมอร์)

-การเจ็บป่วยหรือการสูญเสียคนที่รัก

ความเจ็บป่วยเรื้อรัง (เช่น มะเร็ง โรคหัวใจ)

-ปฏิกิริยาตอบสนองต่อยา

-ภาวะทุพพลภาพทางกาย

-ความเจ็บป่วยด้านร่างกายที่ส่งผลต่ออารมณ์ ความทรงจำ และความคิด

-ภาวะทุพโภชนาการ

มีต่อหน้า 2

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.