โรคเบาหวาน, เบาหวาน, ผู้ป่วยเบาหวาน, ป้องกันโรคเบาหวาน, รักษาโรคเบาหวาน

5 โรคเบาหวาน ที่คุณควรรู้ เป็นหรือเปล่า

งานวิจัยล่าสุดที่ตีพิมพ์ลงใน Lancet Diabetes and Endocrinology Journal เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ทำการศึกษาวิจัยผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยดูจากสาเหตุของโรคและไลฟ์สไตล์ที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน เช่น อายุ น้ำหนัก รวมถึงแอนติบอดี้ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลง และสรุปผลการวิจัยโดยจัดหมวดหมู่โรคเบาหวานแบบใหม่เป็น 5 ประเภท ดังนี้

1. Severe Autoimmune Diabetes (SAID)

เป็นโรคเบาหวานที่เกิดการอักเสบ (Mistake) ของเซลล์ในตับอ่อนจึงไม่สามารถผลิตอินซูลินเองได้ตามธรรมชาติ แพทย์ต้องสั่งให้ฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาล สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่เด็ก และพบได้ประมาณร้อยละ 6.4 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

2. Severe Insulin-Deficient Diabetes (SIDD)

เป็นโรคเบาหวานที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้เองตามธรรมชาติ เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ จึงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้พบประมาณร้อยละ 18

3. Severe Insulin–Resistant Diabetes (SIRD)

โรคเบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลินหรือควบคุมอินซูลินไม่ได้เรียกว่า “Blood Sugar Insulin Resistant” ทำให้น้ำตาลไม่สามารถเข้าไปอยู่ในเซลล์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานกลุ่มนี้จะมีลักษณะอ้วนลงพุงน้ำหนักเกิน ไตเสื่อม ไขมันพอกตับ พบประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการกินที่ผิด

4. Mild-Obesity-Related Diabetes (MOD)

โรคเบาหวานที่เกิดจากความอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยดูจากค่า BMI (Body Mass Index) ค่ามาตรฐานของคนเอเชียคือ 23 เบาหวานประเภทนี้เกิดจากพฤติกรรมการกินและไลฟ์สไตล์ที่ผิด เช่นกินของหวานหรือแป้งขาวมากเกินไป ไม่ได้ออกกำลังกาย พบได้ประมาณร้อยละ 22 ของผู้ป่วยเบาหวาน

5. Mild-Age Related Diabetes (MARD)

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ มีงานวิจัยพบว่า อายุที่มากขึ้นสัมพันธ์กับระบบเผาผลาญที่เสื่อมลง ทำให้ระบบย่อยทำงานไม่ดี สังเกตจากคนสูงอายุมักจะท้องอืด อาหารไม่ย่อย และไม่มีกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน ทำให้มีปัญหาระดับน้ำตาลสะสมมากเกินไป พบได้ประมาณร้อยละ 39

โรคเบาหวาน, เบาหวาน, ผู้ป่วยเบาหวาน, ป้องกันโรคเบาหวาน, รักษาโรคเบาหวาน

การรักษาโรคเบาหวานตามแนวทางธรรมชาติบำบัดนั้น เราจะวินิจฉัยโรคเบาหวานจากกระบวนการเกิดโรคโดยรวม ไม่ใช่ดูที่ปลายเหตุหรือค่าน้ำตาลที่ขึ้นสูงเท่านั้น

ผู้ป่วยต้องปรับเปลี่ยนทั้งไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมทั้งหมดทั้งเรื่องการกินอาหาร การพักผ่อน การออกกำลังกาย งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และพยายามไม่เครียด

 

จาก คอลัมน์ ธรรมชาติบำบัดกับ Dr.Nicha นิตยสารชีวจิต ฉบับ 482


บทความน่าสนใจอื่นๆ

แกงส้ม อาหารลดหวาน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ป้องกันโรคเบาหวานเรื้อรัง

กินลดเบาหวาน ปฏิวัติพฤติกรรม เพราะโรคเบาหวานเกิดจากภูมิชีวิตบกพร่อง

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.