ความอ้วน, สุขภาพผู้หญิง, โรคอ้วน, ลดน้ำหนัก, ลดความอ้วน, อ้วน

รู้จักฮอร์โมน สาเหตุ ความอ้วน หุ่นพัง!

ปัจจุบันหมอแบ่งความอ้วนออกเป็น

  1. อ้วนไม่เกินเกณฑ์ พิจารณาที่น้ำหนักตัว เพศ อายุ และความแข็งแรงของมวลกล้ามเนื้อ ดูว่าไขมันอยู่ในเกณฑ์สมดุลกันหรือเปล่า
  2. อ้วนแบบซูโม่ คือ อ้วนแบบแข็งแรง เพราะพวกนี้ต้องออกกำลังกาย จึงต้องกินให้ไขมันไปสะสมตามแขนและขาเป็นไขมันที่หมุนเวียนทั่วร่างกาย ไม่ใช่ไขมันสะสม จึงไม่เป็นอันตรายมาก
  3. อ้วนลงพุง คนอ้วนที่มีไขมันสะสมที่พุงและไม่มีการออกกำลังกายเลย เป็นความอ้วนที่เป็นอันตรายมาก การอ้วนลงพุงเกิดจากพฤติกรรมการกินผิด กินอาหารหวานจัดดื่มเหล้ามาก และไม่ออกกำลังกาย เลยเกิดเป็นไขมันส่วนเกินสะสมในร่างกาย

คนอ้วนประเภทนี้เมื่อร่างกายเผาผลาญ เซลล์ไขมันก็จะปล่อยสารอนุมูลอิสระมาทำร้ายร่างกายด้วย เพราะไขมันส่วนเกินที่สะสมไว้ ส่วนใหญ่มีสารพิษสะสมที่ละลายในไขมันติดออกมาด้วย เช่น สารเคมีจากยาฆ่าแมลง สารก่อมะเร็ง ไขมันทรานส์

ตัวอย่างเช่น คนอ้วนลงพุงน้ำหนักขึ้นมา 10 กิโลกรัมให้รู้ไว้ว่าไม่ใช่เป็นไขมันบริสุทธิ์อย่างเดียว แต่เป็นไขมันที่เจือปนด้วยสารอันตรายต่างๆ

นิตยสาร Science รายงานสถิติปี ค.ศ. 2013 พบว่าคนที่มีอัตราการตายสูงสุดคือ คนอ้วนลงพุง พบประมาณร้อยละ 20 ในประเทศสหรัฐอเมริกา อันดับต่อมาคือ คนผอมและไม่ออกกำลังกาย มีอัตราการตายรองลงมา และคนที่มีอัตราการตายต่ำสุดคือ คนที่หุ่นดี แข็งแรง

แต่สิ่งที่น่าสนใจในรายงานนี้คือ คนรูปร่างอวบแต่น้ำหนักไม่เกินมาตรฐานและเป็นคนแอ๊คทีฟ ทั้งยังออกกำลังกายสม่ำเสมอ มีอัตราการเสียชีวิตต่ำ

ดื่มน้ำ, ความอ้วน, สุขภาพผู้หญิง, น้ำ, ลดน้ำหนัก,ลดความอ้วน
หากอยู่ในช่วงลดน้ำหนัก ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น

เคล็ดลับหุ่นปัง ไม่พังและย้วย

  1. ท่องจำให้ขึ้นใจ ถ้ากินแป้งและน้ำตาลเข้าไปต้องออกกำลังกายเพื่อเผาผลาญพลังงานให้หมด ไม่เหลือไขมันส่วนเกินสะสมในร่างกาย
  2. หลังออกกำลังกายแล้วต้องควบคุมตนเองไม่บริโภคคาร์โบไฮเดรตอีก เพราะร่างกายต้องการการพักผ่อน หมอฝากเคล็ดลับไว้ว่า ควรกินอาหารมื้อก่อนออกกำลังกาย 75% และกินมื้อหลังออกกำลังกายได้ 25%
  3. การกินคาร์โบไฮเดรตจำเป็นมากในการออกกำลังกาย ทั้งนี้เพื่อให้กล้ามเนื้อและหัวใจทำงานเต็มที่ขณะออกกำลังกาย และจะช่วยให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น กระตุ้นให้เกิดการสร้างเซลล์กล้ามเนื้อขึ้นมาใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ให้ความสำคัญกับมวลกล้ามเนื้อ ยิ่งมีมวลกล้ามเนื้อมากเท่าไรยิ่งห่างไกลจากโรคมากขึ้น เพราะฉะนั้นเราจึงต้องออกกำลังกายเพื่อให้มวลกล้ามเนื้อแข็งแรงเสมอ
  5. คนทั่วไปควรบริโภคโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตวันละ 50 – 60% ของปริมาณแคลอรี โดยโปรตีนนั้นขึ้นอยู่กับกิจกรรมการออกกำลังกายว่ามีลักษณะเป็นการสร้างกล้ามเนื้อมากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ปริมาณ 0.8 – 1.2 กรัม กรณีที่กินเกินมากกว่าที่แนะนำไม่ควรทำในระยะยาว เพราะจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ภาวะไตเสื่อม หรือเส้นเลือดเสื่อมได้
  6. “น้ำ” นั้นสำคัญเสมอ เวลาควบคุมน้ำหนัก เราเร่งการเผาผลาญพลังงาน ทำให้ร่างกายมีการสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ เพราะฉะนั้นคุณต้องดื่มน้ำเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ปกติประมาณวันละ 2.7 – 3 ลิตรต่อวันสำหรับผู้หญิง และประมาณวันละ 3.7 – 4 ลิตรต่อวันสำหรับผู้ชาย ถ้าเป็นช่วงลดน้ำหนักต้องดื่มน้ำมากขึ้นกว่านั้น
  7. กฎเหล็ก ห้ามท้องผูกเด็ดขาด เนื่องจากร่างกายจะขับของเสียที่ปนมากับไขมันออกมาทางตับ ถุงน้ำดี ก่อนเป็นอุจจาระ แต่ถ้าเราท้องผูกร่างกายก็ไม่ขับของเสียออกมา หมอให้จำไว้ว่า โปรแกรมลดน้ำหนัก

ทุกโปรแกรมต้องทำให้ขับถ่ายสะดวก เพราะเรากำลังจะจัดการกับสุขภาพที่จำเป็นต้องขับของเสียหรือสารปนเปื้อนออกจากร่างกาย

 

จาก คอลัมน์ชีวจิต Anti-aging นิตยสารชีวจิต ฉบับ 484


บทความน่าสนใจอื่นๆ

ชวนกินอาหารชีวจิต ต้านโรคอ้วน ช่วยหุ่นดีสมใจ

แจก! สูตรสลัด อาร์ซี เมนูคลีนลดอ้วน

กลยุทธ์สู้อ้วน

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.