ความอ้วน, สุขภาพผู้หญิง, โรคอ้วน, ลดน้ำหนัก, ลดความอ้วน, อ้วน

รู้จักฮอร์โมน สาเหตุ ความอ้วน หุ่นพัง!

รู้จักฮอร์โมน สาเหตุ ความอ้วน หุ่นพัง!

บางคนสงสัยว่าฮอร์โมนกับ ความอ้วน เกี่ยวข้องกันอย่างไร คำตอบคือ ฮอร์โมนไม่ใช่เพียงแต่ทำหน้าที่ในการควบคุมระบบการทำงานของร่างกายเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัวของเราอีกด้วย ตั้งแต่ความรู้สึกหิวจนถึงกระบวนการสะสมของไขมัน

คุณหมอ (อาจารย์นายแพทย์สมบูรณ์ รุ่งพรชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนบำบัดและโภชนาการสำหรับนักกีฬา) จะอธิบายเรื่องฮอร์โมนหลัก ตัวการสำคัญที่ส่งผลต่อการขึ้นลงของน้ำหนักตัว ก่อนอื่นเมื่อเรากล่าวถึงความอ้วน ย่อมต้องสัมพันธ์กับระบบย่อยในร่างกายและอวัยวะภายใน อวัยวะแรกของการย่อยคือกระเพาะอาหารที่มีน้ำกรดไว้สำหรับย่อยอาหารแบบรวดเร็ว ต่อด้วยลำไส้เล็ก ตับอ่อนและลำไส้ใหญ่ เหล่านี้คืออวัยวะทั้งหมดที่ต้องทำงานร่วมกันในการย่อยอาหาร

และฮอร์โมนที่เป็นตัวหลักของการทำงานในระบบนี้คือ “ฮอร์โมนอินซูลิน” ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยการเผาผลาญพลังงานจากอาหาร หากระดับของอินซูลินไม่สมดุล ร่างกายจะไม่เผาผลาญ แต่สะสมพลังงานในรูปแบบไขมัน ทำให้เกิดภาวะไขมันส่วนเกินนั่นเอง

ความสำคัญของฮอร์โมนอินซูลินคือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และระดับน้ำตาลในเลือดมีความสำคัญกับอวัยวะ 2 อย่าง คือ หัวใจและสมอง เนื่องจากเป็นอวัยวะที่ใช้น้ำตาลเป็นพลังงานในการทำงาน เพราะฉะนั้นร่างกายจะต้องไม่ปล่อยให้เกิดภาวะน้ำตาลตก ไม่อย่างนั้นสมองและหัวใจจะทำงานผิดปกติจนเสียชีวิตได้

โรคอ้วน, ความอ้วน, สุขภาพผู้หญิง, อ้วน, ฮอร์โมนอินซูลิน, ลดความอ้วน
หากระดับของอินซูลินไม่สมดุล จะทำให้เกิดภาวะไขมันส่วนเกิน ก่อให้เกิดโรคอ้วน

การทำงานของอินซูลินเป็นเสมือนประตูคอยเปิดปิดให้คาร์โบไฮเดรตที่แปลงกลูโคสแล้วเข้าไปในเซลล์ ฉะนั้นถ้าเราไม่กินคาร์โบไฮเดรตเลย เราจะรู้สึกเบลอ มิน หรือหัวผิดจังหวะ จนอาจเกิดภาวะช็อกได้

ภาวะน้ำตาลสูงเกินไป คือกินอาหารเข้าไปแล้วทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง อินซูลินหลั่งออกมามาก โดยจะส่งสัญญาณให้น้ำตาลไปสะสมในเซลล์ พบว่าอวัยวะสำคัญที่จะสะสมน้ำตาลได้เร็วที่สุดคือ กล้ามเนื้อและตับ ซึ่งจะสามารถเก็บได้ประมาณไม่เกิน 1,000 กิโลแคลอรี แต่ถ้าเรากินน้ำตาลมากกว่านั้น ร่างกายจะนำไปเก็บไว้ในเซลล์ไขมัน เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงตามมา

ความสัมพันธ์ของฮอร์โมนอินซูลินกับน้ำหนักตัวนั้น อธิบายได้ดังนี้ เวลาเรากินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเข้าไป อินซูลินก็จะสั่งให้แป้งและน้ำตาลนั้นเข้าไปอยู่ในเซลล์ตับและกล้ามเนื้อ แต่ถ้าเกินความจุแล้ว กล้ามเนื้อและตับก็จะสร้างภาวะที่เราเรียกว่า “การดื้อต่ออินซูลิน” เมื่อถึงตอนนั้นอินซูลินก็จะพาแป้งและน้ำตาลที่เหลือไปอยู่ในเซลล์ไขมัน ก่อให้เกิดโรคร้ายตามมาคือ โรคอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โรคไขมันพอกตับนั่นเอง

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.