ฮอร์โมนเพศหญิง, วัยทอง, สุขภาพผู้หญิง ลดอาการวัยทอง โรคผู้หญิง วัยหมดประจำเดือน

วิธีสร้างสมดุล ฮอร์โมนเพศหญิง ปรับประจำเดือน ต้านวัยทอง

ส่วน “ฮอร์โมน” คือ การทำงานของต่อมไร้ท่อที่เต็มไปด้วยกลุ่มเซลล์ต่างๆ ซึ่งผลิตจากสารอาหารที่ร่างกายกินเข้าไป หน้าที่หลักของฮอร์โมนคือ ควบคุมเซลล์ให้ทำงาน เช่น ควบคุมตับ ไต หัวใจ ปอดให้ทำงานประสานกันเป็นทีม เปรียบเหมือนผู้จัดการบริษัทที่ต้องการทำให้บริษัทประสบความสำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายโดยการควบคุมทีมให้ทำงาน

คุณหมอ (อาจารย์นายแพทย์สมบูรณ์ รุ่งพรชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนบำบัดและโภชนาการสำหรับนักกีฬา) จะพูดถึง ฮอร์โมนเพศหญิง เป็นหลัก ซึ่ง ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือนโดยตรงมี 2 ตัว ที่สัมพันธ์กันในลักษณะกระบวนการ คือ

ฮอร์โมน “เอสโทรเจน” เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตจากไขมันที่กินเข้าไปแล้ว เปลี่ยนเป็นคอเลสเตอรอลที่ดีและแปลงเป็นฮอร์โมนจากธรรมชาติ

เอสโทรเจนเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงโดยตรง ในช่วงเวลาที่ฮอร์โมนเอสโทรเจนทำงานเต็มที่คือช่วงที่ไข่เติบโตเต็มที่ มดลูกมีความชุ่มชื้น เต้านมตึง ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีเลือดฝาด แต่ถ้าฮอร์โมนเอสโทรเจนผลิตออกมามากเกินไปหรือมีมากเกิน อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งหรือเนื้องอกบางชนิดในมดลูกได้

ในสภาวะปกติ เมื่อเอสโทรเจนทำงานเต็มที่แล้ว ผู้หญิงก็จะมีไข่ตกตามรอบเดือน เมื่อไข่ตกร่างกายจะมีระบบการแปลง (โดยใช้ไขมันคอเลสเตอรอลเป็นสารตั้งต้น) จาก “ฮอร์โมนเอสโทรเจน” ที่เป็นตัวเบ่งบานของผู้หญิงให้กลายเป็น “ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน” เป็นการสร้างสมดุลความเบ่งบาน ทำให้เยื่อบุมดลูกหยุดการขยายตัว สภาวะนี้จะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเกาะของตัวอ่อน แต่ถ้าเวลาผ่านไปสองสัปดาห์ไม่มีการปฏิสนธิขึ้น เยื่อบุมดลูกก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนตามปกติ

ระบบไข่ที่ตกแต่ละรอบเดือนเมื่อผู้หญิงเริ่มเข้าสู่การมีประจำเดือนในช่วงวัยรุ่น รังไข่ก็จะได้รับสัญญาณจากสมองให้เริ่มผลิตฮอร์โมนเอสโทรเจนไปกระต้นุ ไข่ประมาณ 10 – 15 ฟองให้ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อครบวันที่ 12 – 14 ของรอบเดือน ร่างกายจะเลือกไข่ที่ดีที่สุด 1 ฟอง ให้ตกลงมา

ช่วงอายุ 30 – 40 ปี ผู้หญิงจะเหลือไข่น้อยลงประมาณ 2 แสนฟองต่อรอบ และเมื่ออายุประมาณ 45 – 55 ปี ปริมาณไข่จะน้อยลงไปอีก และเข้าสู่ช่วงฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงใกล้วัยหมดประจำเดือน

ภาวะไข่ตกไม่ปกติของผู้หญิงคือการที่ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนควบคุมการทำงานไม่ได้ ทำให้ประจำเดือนคลาดเคลื่อนออกไป หรือมีสาเหตุจากเนื้องอกเจริญผิดที่ แทนที่เยื่อบุมดลูกจะลอกตัวออกมาเป็นประจำเดือนก็ไหลกลับไปในช่องท้องกลายเป็นช็อกโกแลตซีสต์ แนะนำให้พบสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจรักษาปริมาณประจำเดือนเฉลี่ยของผู้หญิงต่อรอบอยู่ที่ประมาณ 1-4 ถ้วยตวง และไม่ควรเป็นลิ่มเลือดเยอะเกินไปถ้ามีมากอาจเกิดจากภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล

ฮอร์โมนเพศหญิง, วัยทอง, สุขภาพผู้หญิง, ประจำเดือน, ฮอร์โมน

ฮอร์โมน “โพรเจสเทอโรน” คือฮอร์โมนที่สร้างโดยรังไข่หลังจากไข่ตกแล้ว อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้น เป็นภาวะปกติที่เหมาะสมต่อการตั้งครรภ์ มดลูกมีความพร้อมที่จะรับการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว

เมื่อผู้หญิงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยสร้างสภาพ-แวดล้อมที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน ระดับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจะเพิ่มขึ้น ช่วงระหว่างสัปดาห์ที่ 9 – 32 ของการตั้งครรภ์ และเกิดการสร้างรกซึ่งทำหน้าที่ให้ออกซิเจนและสารอาหารแก่ทารก ฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนจะทำงานเต็มที่ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์ เพื่อคงสภาพแวดล้อมที่ดีนี้ให้แก่ตัวอ่อนจนกระทั่งคลอด

ฮอร์โมนทั้งสองตัวนี้มีความสมดุลถ้าตัวใดตัวหนึ่งมีมากไปจะส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้อารมณ์รุนแรง ท้องไส้แปรปรวน ปวดท้องประจำเดือนมาก

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.