สมอง, บำรุงสมอง, ไขมันดี, อาหารที่มีไขมันดี, อาหารบำรุงสมอง

ไขมันดีเพื่อ สมอง

กรดไขมันดีมีอะไรบ้าง

โอเมก้า – 6

กรดไขมันโอเมก้า – 6 เป็นกรดที่มีผลต่อการทำงานของสมอง และสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคทางสมองได้ ผลการวิจัยจากประเทศสวีเดนพบว่า เด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้นที่รับปริมาณโอเมก้า – 6 และโอเมก้า – 3 ในปริมาณเท่ากันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือนมีอาการสมาธิสั้นน้อยลง

อย่างไรก็ตามการที่โอเมก้า – 6 และโอเมก้า – 3 จะมีประโยชน์ต่อสมองได้ก็ต่อเมื่อได้รับทั้ง 2 ชนิดนี้ในปริมาณที่เท่ากัน ในปัจจุบันมีอาหารมากมายที่มีโอเมก้า – 6 แต่กลับหาโอเมก้า – 3 ได้น้อยเพราะฉะนั้นถ้าเราได้รับกรดไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่เท่ากัน อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้

กรดไขมันโอเมก้า – 6 พบมากในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง รวมไปถึงในถั่ว เมล็ดพืช และธัญพืชต่างๆ

 

โอเมก้า – 3

เป็นกรดไขมันที่คุ้นหูหลาย ๆ คน หลายงานวิจัยทั่วโลกได้ผลสรุปตรงกันว่า กรดไขมันโอเมก้า – 3 สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคทางสมองได้ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า โรคสมาธิสั้น โรคอัลไซเมอร์ หรือภาวะสมองเสื่อม

ทั้งนี้เนื่องจากโอเมก้า – 3 เป็นส่วนประกอบของเซลล์สมอง ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า – 3 และโอเมก้า – 6 จะทำงานร่วมกันในการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งข้อมูลระหว่างเซลล์สมองแต่ละเซลล์

นอกจากนี้กรดไขมันทั้งสองชนิดที่อยู่ในเยื่อหุ้มเซลล์จะช่วยเสริมการทำงานของตัวรับสารสื่อประสาท ทำให้การสื่อสารข้อมูลระหว่างสมองกับร่างกายดีขึ้น ทำให้การสั่งการของสมองในชีวิตประจำวันมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อาหารที่มีโอเมก้า 3, โอเมก้า 3, DHA, สมอง, บำรุงสมอง, ไขมันดี
อาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า – 3 สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคทางสมองได้

DHA

DHA มีชื่อเต็มว่า Docosahexaenoic Acid เป็นสารอาหารที่พบได้ในกรดไขมันโอเมก้า – 3 นักโภชนาการทั่วโลกรู้กันดีว่า DHA คืออาหารสมองชั้นดีที่มีผลต่อระบบการทำงานของสมองโดยตรง ผลการวิจัยพบว่า การที่สมองขาด DHA จะทำให้สมองมีความบกพร่องทางการรับรู้และความเข้าใจ และอาจเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางสมอง เช่น โรคอัลไซเมอร์ ได้มากกว่าผู้ที่ได้รับ DHA ในปริมาณที่เพียงพอ นอกจากจะเพิ่มความสามารถให้กับระบบสมองแล้ว ยังลดอาการบาดเจ็บของสมองที่อาจส่งผลต่อการรับรู้ช้าได้

 

EPA

EPA มีชื่อเต็มว่า Eicosapentaenoic Acidเป็นสารอาหารอีกประเภทหนึ่งที่พบได้ในกรดไขมัน โอเมก้า – 3 โดย EPA จะทำหน้าที่เพิ่ม รวมไปถึงเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์สมอง EPAจะร่วมมือกับ DHA ในการซ่อมแซมเซลล์สมองและสร้างเซลล์ระบบประสาทขึ้นมาใหม่ ร่างกายควรได้รับ DHA และ EPA วันละ 650 มิลลิกรัมเพื่อให้สมองและอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ถ้าหากร่างกายมีสารอาหารทั้งสองชนิดนี้เพียงพอจะเกิดประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง ดังนี้

1. ช่วยปกป้องเนื้อเยื่อสมองจากการถูกทำลาย: สารอาหารทั้งสองชนิดจะกระตุ้นการทำงานของโมเลกุลต้านการอักเสบในเยื่อหุ้มสมอง ขณะเดียวกันก็จะป้องกันสารอนุมูลอิสระและสารก่อความเครียดอื่นๆ ไม่ให้เข้ามาทำร้ายเนื้อเยื่อสมองได้อีกด้วย

2. ช่วยกระตุ้นและสนับสนุนการเรียนรู้และความจำ: DHA และ EPA ช่วยให้ส่วนของเซลล์ประสาทที่ยื่นออกมาเชื่อมต่อกันระหว่างเซลล์ใกล้ชิดกันมากขึ้น ทำให้การส่งสัญญาณไปยังเซลล์ประสาททำได้เร็วขึ้น ทำให้สมองรับรู้ เรียนรู้อะไรได้เร็วขึ้น และยังส่งผลต่อระบบความจำของเราให้ทำงานได้ดีขึ้นด้วย

3. ช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อสมอง: ถ้าสมองได้รับบาดเจ็บ เยื่อหุ้มเซลล์จะปล่อย DHA ซึ่งเป็นสารที่เรียกว่า Prolectins ออกมาในปริมาณมากโดยเป็นวิธีที่ร่างกายคิดค้นเพื่อรักษาอวัยวะต่างๆ เพราะฉะนั้นถ้าร่างกายได้รับ DHA ในปริมาณที่ไม่มากพอ การรักษาตัวของร่างกายจะเป็นไปได้ช้านั่นเอง

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.