ยาแก้ปวดไดโคลฟีเเนค, แพทย์, ไดโคลฟีเเนค, ฉีดยาแก้ปวด, ยาแก้ปวด, การใช้ยา ไดโคลฟีเเนค, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

แพทย์เตือนฉีดยาแก้ปวด “ไดโคลฟีเเนค” ทำเส้นประสาทบาดเจ็บ

อันตรายจากการฉีดยา ไดโคลฟีเเนค เข้ากล้ามเนื้อ

ไดโคลฟีเเนค ยาฉีดแก้อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ จำเป็นหรือไม่ที่ต้องฉีดทุกครั้งเมื่อมีอาการปวด ?

หลายคนอาจไม่ทราบ ว่าอันตรายจากการฉีดยา ไดโคลฟีแนค เข้ากล้ามเนื้อนั้นเกิดขึ้นได้ทุกครั้ง ดังนั้น เจ็บป่วย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อย่าพึ่งเรียกร้อง อย่าพึ่งต้องการฉีดไดโคลฟีเเนค ขอให้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของหมอ ในทางตรงกันข้ามมีวิธีอื่นๆ ที่สามารถรักษาอาการปวดได้ โดยไม่ต้องใช้ยาฉีด

ไดโคลฟีเเนค คือยาอะไร

ข้อมูลจากเอกสารออนไลน์ของ สำนักคณะกรรมการอาหารเเละยา (อย.) ได้อธิบายและระบุข้อมูลวิธีการใช้ ไดโคลฟีแนค  ชนิดเม็ด ไว้ดังต่อไปนี้

  • ยานี้มีชื่อสามัญว่าอะไร
    • ไดโคลฟีแนค (diclofenac) อยู่ในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
  • ยานี้ใช้เพื่ออะไร
    • เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ (ปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง) เพื่อบรรเทาอาการปวดจากโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยืด โรคข้อกระดูกอักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าต์แบบเฉียบพลัน และรักษาอาการอักเสบ ปวด บวม ภายหลังการบาดเจ็บ หรือหลังการผ่าตัด
  • ห้ามใช้ยานี้เมื่อไร
    • เคยแพ้ยานี้หรือเคยแพ้ส่วนประกอบของยานี้
    • มีอาการหอบหืดลมพิษ หรือโพรงจมูกอักเสบแบบเฉียบพลันจากการแพ้ยากลุ่มแอสไพรินหรือกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
    • มีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือสำไส้หรือมีแผลทะลุ หรือมีประวัติกระเพาะทะลุจากยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์
    • เป็นโรคตับ โรคไตอย่างรุนแรง
    • เป็นโรคหัวใจล้มเหลว โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย โรคหลอดเลือดสมอง
    • มีอาการปวดจากกรณีที่เข้ารับการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
    • เป็นผู้ป่วยเด็ก
  • ข้อควรระวังเมื่อใช้ยานี้
    • ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกหรือแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
    • หญิงมีครรภ์เดือนที่ 7-9 หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้นอกจากแพทย์สั่ง
    • ยานี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดการตีบตันของหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะเมื่อใช้ยาในขนาดสูงเป็นเวลานาน
    • ยานี้อาจทำให้เกิดภาวะบวมนํ้า ควรระวังในผู้ที่เป็นโรคหัวใจ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไตทำงานผิดปกติ
    • ยานี้อาจมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบที่ไม่พบเชื้อในผู้เป็นโรคลูปัส อีริทีมาโตซัสทั่วร่างและโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผสม
    • ยานี้มีผลต่อการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด จึงควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นไข้เลือดออก หรือเกล็ดเลือดผิดปกติจากสาเหตุอื่นๆ เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น
    • ระมัดระวังการใช้ยานี้ในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีการทำงานของหัวใจ ตับ และไตบกพร่อง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ที่เป็นโรคหืด
ยาแก้ปวดไดโคลฟีเเนค, ไดโคลฟีเเนค, ฉีดยาแก้ปวด, ยาแก้ปวด, การใช้ยา ไดโคลฟีเเนค, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ฉีดยาแก้ปวดไดโคลฟีเเนค เสี่ยงเส้นประสาทบาดเจ็บ
  • ขนาดและวิธีใช้
    • ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น เพราะขนาดและระยะเวลาในการใช้ยานี้ขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรค
      • ขนาดยาทั่วไป
        • สำหรับบรรเทาอาการปวด (ปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง) กินครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง อาจให้ 2 เม็ดในครั้งแรก แล้วตามด้วย 1 เม็ด ทุก 8 ชั่วโมง
        • สำหรับบรรเทาอาการปวดจากโรคข้อกระดูกสันหลังอักเสบชนิดติดยึด ทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง กินครั้งละ ครึ่ง เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง
        • สำหรับบรรเทาอาการปวดจากโรคข้อกระดูกอักเสบ หรือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ทั้งชนิดเฉียบพันและเรื้อรัง กินครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง
        • ห้ามหักและเคี้ยวเม็ดยา ควรกลืนยาทั้งเม็ด อาจกินยาพร้อมอาหารหรือนมได้ เพื่อลดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร
  • ถ้ากินยานี้เกินขนาดที่แนะนำ ควรทำอย่างไร
    • ให้สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการผิดปกติที่รุนแรงเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดใต้ลิ้นปี่ เลือดออกในทางเดินอาหาร ท้องเสีย มึนงง ง่วงนอน มีเสียงอื้อในหู ชัก หมดสติ ความดันโลหิตตํ่า ไตวายเฉียบพลัน ตับถูกทำลาย การหายใจถูกกดให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
  • ข้อปฏิบัติระหว่างใช้ยา
    • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    • ไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • อันตรายที่เกิดจากใช้ยา
    • อาการที่ต้องหยุดยาแล้วรีบไปพบแพทย์ทันที
      • บวมที่ใบหน้า เปลือกตา ริมฝีปาก ลมพิษ
      • หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
      • ผื่นแดง ตุ่มพอง ผิวหนังหลุดลอก มีจ้ำตามผิวหนังหรือเลือดออกผิดปกติ
      • ถ่ายเป็นเลือดหรือสีดำ อาเจียนเป็นเลือด
      • ตัวเหลือง ตาเหลือง
      • เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน
      • ชัก อ่อนแรงหรือเหนื่อยผิดปกติ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องมาก
      • บวมที่แขน ขา มือ ข้อเท้า เท้า
    • อาการที่ไม่จำเป็นต้องหยุดยา แต่ถ้ามีอาการรุนแรงให้ไปพบแพทย์ทันที
      • ปวดหัว ท้องผูก ง่วงซึม นอนไม่หลับ ฝันร้าย
      • เก็บยาที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส และเก็บยาให้พ้นจากความชื้น
      • ไม่ใช้ยานี้หลังวันหมดอายุ ที่ระบุบนกล่อง หรือ 2 ปีหลังวันผลิต
      • เก็บยาในภาชนะที่ปิดสนิท
      • เก็บยาให้พ้นมือเด็ก

อ่านต่อ >> อันตรายฉีดไดโคลฟีเเนค

อ่านเพิ่มเติม

10 วิธีแก้ปวด ทำง่ายๆ ด้วยวิธีธรรมชาติ

ปวดคอ เมื่อยคอ แก้ได้ด้วยวิธีง่ายๆ จากสมุนไพรใกล้ตัว

แก้ปวดเมื่อย ด้วยท่าบิดตัวง่ายๆ ก่อนเข้านอน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.